Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/330
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorทองดี, วิทยา-
dc.contributor.authorพรมกุล, สุรพล-
dc.date.accessioned2022-03-16T08:15:00Z-
dc.date.available2022-03-16T08:15:00Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/330-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการเรียนรู้เชิงพุทธกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ๒) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงพุทธ ๓) เพื่อ ประเมินผลรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงพุทธ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหารและครูโดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง รวม ๒๕ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่มเฉพาะ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิง พรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑. สภาพกระบวนการเรียนเชิงพุทธกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มี ๒ ส่วนคือ ๑) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตร โดยแบ่งเป็น ๔ ขั้นตอน ดังนี้ ๑. ขั้นนา ๒. ขั้นสอน ๓. ขั้นสรุป และ ๔. ขั้นประเมินผล ๒) การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ๒. การสร้างรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงพุทธกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมแบ่งเป็น ๓ ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ ๑ การปลูกฝังสัมมาทิฏฐิ คือ การที่ครูให้นักเรียนฝึกคิดอย่างถูกวิธี ได้แก่ ๑.๑) การคิดแบบสืบสาวหาเหตุปัจจัย ๑.๒) การคิดแบบ แยกแยะส่วนประกอบ ๑.๓) การคิดแบบสามัญลักษณ์ ๑.๔) การคิดแบบอริยสัจ ๑.๕) การคิดแบบ อรรถธรรมสัมพันธ์ ๑.๖) การคิดแบบเห็นคุณเห็นโทษ ๑.๗) การคิดแบบคุณค่าแท้ คุณค่าเทียม ๑.๘) การคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม ๑.๙) การคิดแบบมีสติเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน ๑.๑๐) การคิดแบบ วิภัชชวาท ขั้นตอนที่ ๒ การฝึกตนตามหลักของไตรสิกขา ได้แก่ ๒.๑) อธิสีลสิกขาคือการพัฒนา ด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ทั้งสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมทางสังคม ๒.๒) อธิจิต ตสิกขา คือการพัฒนาภาวะจิต ฝึกจิตให้เข้มแข็งมีความพร้อมต่อการใช้งานทางปัญญา ๒.๓) ด้านอธิ ปัญญาสิกขา คือ รู้และเข้าใจปัญหาตามความเป็นจริง แก้ไขปรับปรุงปัญหาได้อย่างถูกต้อง ขั้นตอนที่ ๓ การพัฒนาตนตามหลักภาวนา ๔ คือ ๓.๑) กายภาวนา คือการพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ทางกายภาพ ๓.๒) ศีลภาวนา การพัฒนาด้านความประพฤติให้ดีขึ้น มีระเบียบวินัย ๓.๓) จิตภาวนา ข คือ การสร้างให้มีสุขภาพจิตที่ดี ๓.๔) ปัญญาภาวนา คือ การมองเห็นหลักของเหตุและผล สามารถ แก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ ๓. ผลการประเมินผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่า ในภาพรวมของรูปแบบการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้เชิงพุทธ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีความเหมาะสมและความ เป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๙๘ และ ๕.๐๐ และผู้ปกครอง/พ่อแม่ และชุมชนมีความพึงพอใจต่อพฤติกรรมของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๘en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนารูปแบบen_US
dc.subjectการเรียนรู้เชิงพุทธen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงพุทธ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมen_US
dc.title.alternativeThe Development of A Model for Buddhist Learning Activities Social Studies, Religion and Cultureen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-068ผศ.ดร.วิทยา ทองดี.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.