Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/329
Title: ภาวะผู้นำการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Other Titles: GOOD GOVERNANCE LEADERSHIP OF LOCAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATION
Authors: หมั่นมี, ธิติวุฒิ
Keywords: ภาวะผู้นำ
บ้านเมืองที่ดี
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง “ภาวะผู้นาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีที่นาไปใช้ในการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ ๒) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนา ภาวะผู้นาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีสาหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทาการวิจัยเชิงเอกสารประกอบกับการ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ จานวน ๒๐ คน เพื่อให้ทราบถึงประเด็นของการศึกษาในรายละเอียดที่ สาคัญ และมีความครอบคลุมในเนื้อหาสาระสาคัญที่ทาการศึกษาอย่างครบถ้วน พร้อมกันนั้น ในการ วิจัยเชิงคุณภาพจะทาให้ได้ทราบถึงข้อมูลเชิงลึก ที่มีรายละเอียดชัดเจนสามารถนามาวิเคราะห์ในเชิง อุปนัย ผลการศึกษาวิจัย พบว่า องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีที่นาไปใช้ในการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น พบว่า ผู้นาจะต้ององค์ความรู้ที่อยู่ในขึ้นเชี่ยวชาญ หรือชานาญในเรื่องต่อไปนี้ คือ องค์ความรู้ทางด้านความเป็นผู้นา องค์ความรู้ทางด้านการบริหาร และองค์ความรู้ในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งต้องอาศัยหลักการดังต่อไปนี้ หลักการด้าน หลักนิติธรรม ผู้นาจะต้องเป็นผู้ที่มีความเที่ยงตรงและเที่ยงธรรมในการบริหารและที่สาคัญจะต้องเป็น คนที่ไม่ยึดติดกับตาแหน่งแต่ต้องยึดติดกับหลักการ หลักการด้านหลักคุณธรรม ผู้นาจะต้องเป็นผู้ที่ไว้ ซึ่งความประพฤติทั้งภายในและภายนอกให้อยู่ในหลักเกณฑ์ของการบริหารและควรประพฤติตนเป็น แบบอย่างที่ดีของผู้ใต้บังคับบัญชา หลักการด้านหลักความโปร่งใส ผู้นาจะต้องบริหารงานโดยไม่มี ความลับต่อผู้บังคับบัญชาและเสมอต้นเสมอปลาย หลักการด้านหลักการมีส่วนร่วม ผู้นาต้องมีใจกว้าง และต้องเชื่อมั่นในความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชาอีกทั้งต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับ ผู้ใต้บังคับบัญชา หลักการด้านหลักความรับผิดชอบ ผู้นาต้องคานึงถึงเป้าหมายหรือความสาเร็จของ องค์กรโดยภาพรวม และหลักการด้านหลักความคุ้มค่า ผู้นาต้องเป็นผู้นาที่ศึกษาหาความรู้อยู่ ตลอดเวลาโดยเฉพาะความรู้ด้านการบริหารสมัยใหม่ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีการบริหาร แนวทางในการพัฒนาผู้นาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีสาหรับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น คือการพัฒนาภาวะผู้นาโดยใช้ “SHADED Model ” ที่มีความสอดคล้องกับหลักธรรมาภิ บาล ได้แก่ S-Sociability มีสังคมที่ดี H-Human relation ผู้นาจะต้องตระหนักในคุณค่าและ ศักดิ์ศรีของตัวเอง ของลูกน้อง A-Ability มีความรู้ ความสามารถ การใช้สติปัญญานั้นๆ เพื่อแก้ไข ปัญหาต่างๆให้สาเร็จลุล่วงไปได้ D-Director มีศิลปะในการปกครองคือมีจิตสานึกเกิดขึ้นในตัวของ ผู้นา E-Executive เป็นนักบริหารมืออาชีพ และ D-Developer เป็นนักพัฒนามืออาชีพ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/329
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-396 ธิติวุฒิ หมั่นมี.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.