Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/324
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพระครู, สุนทรธรรมนิทัศน์-
dc.contributor.authorพระครู, สิทธิชยาภิรัต-
dc.contributor.authorอินเต็ม, กริช-
dc.date.accessioned2022-03-16T08:06:29Z-
dc.date.available2022-03-16T08:06:29Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/324-
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง บทบาทการเชื่อมโยงภูมิภาคของพระพรหมมงคล (ทอง สิริมงฺคโล) 1) เพื่อศึกษาวิถีอัตลักษณ์ของพระพรหมมงคล 2) เพื่อศึกษาการเผยแผ่และความเชื่อมโยงภูมิภาคของพระพรหมมงคล และ 3) เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบความสัมพันธ์ที่มีต่อการศึกษาและการสร้างเครือข่ายวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาของพระพรหมมงคล วิธีการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพที่ผสมผสานระหว่างการศึกษาวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ในลักษณะเชิงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ผลงาน สังคม เพื่อค้นหาแนวคิดวิถีอัตลักษณ์ บทบาทการเชื่อมโยงเส้นทาง การสร้างเครือข่ายวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาของพระพรหมมงคล ใช้แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูล นำมาวิเคราะห์เชิงพรรณา ผลจากการศึกษาวิจัย เรื่อง บทบาทการเชื่อมโยงภูมิภาคของพระพรหมมงคล (ทอง สิริมงฺคโล) พบว่า พระพรหมมงคล มีบทบาทที่สำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยมุ่งเน้นการนำเอาหลักการปฏิบัติ ตามแนวสติปัฏฐาน 4 เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ยึดถือปฏิบัติ วิถีอัตลักษณ์ของพระพรหมมงคล เป็นพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในแนวสติปัฏฐาน 4 เป็นที่ประจักษ์แก่สังคมทั่วไปตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นผู้มีบุคลิกภาพปฏิปทาจริยาวัตรที่เรียบร้อยงดงาม ด้านบทบาทความสัมพันธ์และผลงานที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา ของพระพรหมมงคล นอกจากท่านจะเห็นความสำคัญและคุณค่าของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแล้ว งานการศึกษาด้านปริยัติก็เห็นว่าจะต้องพัฒนาควบคู่ไปพร้อม ๆ กัน เพราปริยัติเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ถ้าขาดปริยัติแล้ว การที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงสัจธรรมนั้น เป็นสิ่งที่ยากยิ่ง อีกประการหนึ่งเพี่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ผู้ที่จะแนะนำการปฏิบัติ จะได้เผยแผ่ความรู้ใน พระพุทธศาสนาควบคู่กับการสอนวิปัสสนากรรมฐานด้วย จะเห็นว่า ท่านเป็นผู้มุ่งมั่นด้วยอุดมการณ์ที่สูงยิ่ง เรียกว่า ไม่ทิ้งทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยให้ความสำคัญเท่า ๆ กัน การสร้างเครือข่ายวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาของพระพรหมมงคล หลักการและวิธีการการสร้างเครือข่ายวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาของพระพรหมมงคล เป็นการสร้างเครือข่ายที่เกิดขึ้นจากการศึกษาและการเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาโดยมุ่งเน้นทั้งทางภาคทฤษฎีและการปฏิบัติ ปัจจุบันมีสำนักปฏิบัติ/สาขาที่ท่านได้ก่อตั้งไว้กว่า 50 สำนัก/สาขา เป็นต้นว่า สำนักวิปัสสนาถ้ำตอง สำนักวิปัสสนาสิริมังคลาจารย์ สำนักวิปัสสนาวัดม่อนฤๅษี สำนักวิปัสสนาดอยพระเกิด เขตอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ สำนักวิปัสสนาปัญญาวุธาราม สำนักวิปัสสนาแม่โถ สำนักวิปัสสนาดอยเลี่ยม เขตอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ สำนักวิปัสสนาทุ่งเสี้ยว สำนักวิปัสสนาวัดน้ำบ่อหลวง เขตอำเภอป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ สำนักวิปัสสนาสุวรรณคูหา สำนักวิปัสสนาดอยเกิ้ง อำเภอดอยเต่า สำนักวิปัสสนาถ้ำบวกตอง อำเภอแม่แตง สำนักวิปัสสนาวัดพระบาทอุดม อำเภอฝาง สำนักวิปัสสนาสามสวรรค์ อำเภอสะเมิง สำนักวิปัสสนาวัดสมเด็จดอยน้อย อำเภอแม่ริม เป็นต้นen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectบทบาทen_US
dc.subjectการเชื่อมโยงen_US
dc.subjectพระพรหมมงคล (ทอง สิริมงฺคโล)en_US
dc.titleบทบาทการเชื่อมโยงภูมิภาคของพระพรหมมงคล (ทอง สิริมงฺคโล)en_US
dc.title.alternativeThe Role and Connection Region of Phapormmongkon (Tong Sirimangkalo)en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-028 พระครูสุนทรธรรมนิทัศน์.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.