Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/323
Title: ครอบครัวรักษาศีล ๕ : รูปแบบและการเสริมสร้างวัฒนธรรมการดำรงชีวิตของครอบครัวไทยในจังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: Five Precepts – Observing Family: A Model and Promotion Of Thai Family’s Living In Ubonratchathani Province.
Authors: หอมสมบัติ, พูลศักดิ์
สิริวัฒฺฑโน, พระครูธรรมธรศิริวัฒน์
พระครูศรีปริยัติยาภิวัฒน์
พระครูโกศลวิหารคุณ
ฉัตรสุวรรณ, ธรสิทธิ์
Keywords: ครอบครัวรักษาศีล ๕
รูปแบบและการเสริมสร้างวัฒนธรรมการดำรงชีวิต
ครอบครัวไทยในจังหวัดอุบลราชธานี
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) ศึกษาแนวคิดเรื่องเบญจศีลที่ปรากฏ ในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) ศึกษาครอบครัวรักษาศีล ๕: รูปแบบและการเสริมสร้างวัฒนธรรม การดำเนินชีวิตของครอบครัวไทย และ ๓) ศึกษาครอบครัวรักษาศีล ๕ : รูปแบบและการเสริมสร้างวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตของครอบครัวในจังหวัดอุบลราชธานี ใช้รูปแบบงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่ม การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์ความเห็นเจ้าอาวาส ผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน และครอบครัวพุทธศาสนิกชน จำนวน ๒๕ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า หลักเบญจศีล คือ การรักษากายและวาจาให้มีความเป็นปกติมี ๕ อย่าง คือ ๑) การห้าม ฆ่าสัตว์ ๒) ห้ามลักทรัพย์ ๓) การห้ามประพฤติผิดในกาม ๔) การห้ามพูดปด และ ๕) การห้ามดื่มสุราและเมรัย โดยมีหลักธรรมที่ส่งเสริมการรักษาศีลจำนวน ๕ อย่าง คือ ๑) หลักเบญจธรรม ๒) หลักวิรัติ ๓) หลักขันติโสรัจจะ ๔) หลักสติสัมปชัญญะ และ ๕) หลักปัญญา การรักษาศีลเป็นประโยชน์ ต่อตนเองและสังคม ส่วนการไม่รักษาศีลเป็นโทษต่อตนเองและสังคม โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ : ชาวประชาเป็นสุขมีหน่วยงานขับเคลื่อนของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ มี ๓ หน่วยงาน คือ ๑) วัด/พระสงฆ์ ๒) บ้าน/ชุมชน และ ๓ สถานศึกษา/ หน่วยงานอื่นๆ มีวัตถุประสงค์คือทำให้พุทธศาสนิกชนตระหนักถึงคุณสมบัติ และความสำคัญและหน้าที่ความเป็นพุทธศาสนิกชนตลอดจนประโยชน์ของการรักษาศีล ๕ รูปแบบและกิจกรรมเสริมสร้างการรักษาศีล ๕ ของครอบครัวในจังหวัดอุบลราชธานีมี ๓ อย่างคือ ๑) การให้ทาน ๒) การฟังธรรม และ ๓) การปฏิบัติธรรม ส่วนรูปแบบการดำเนินชีวิตตามหลักของศีล ๕ มี ๓ อย่าง คือ ๑) การมีศรัทธา ๒) ความเป็นกัลยาณมิตร และ ๓) ความมีปัญญา โดยการรักษาศีลมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงการดำเนินชีวิต
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/323
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-159 นายพูลศักดิ์ หอมสมบัติ.pdf5.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.