Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/320
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | บุญญดิษฐ์, วีระศักดิ์ | - |
dc.contributor.author | ชุมภูประวิโร, ภมรรัตน์ | - |
dc.contributor.author | วัฒนาชัยวณิช, รังสรรค์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-16T06:39:55Z | - |
dc.date.available | 2022-03-16T06:39:55Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/320 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงผสานวิธี (Mixed Methods Research) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๑) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการสร้างทักษะการเรียนรู้ของบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาในด้านการบริหารงานบุคคลตามทัศนะของครู ๒) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมในการสร้างทักษะการเรียนรู้ของบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาในด้านการบริหารงานบุคคลตามทัศนะของครู ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมในการทักษะการเรียนรู้ของบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาในด้านการบริหารงานบุคคลตามทัศนะของครู ผู้ให้ข้อมูลสาคัญหลัก (Key Informant) ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๕ อันได้แก่ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี โรงเรียนนราสิกขาลัย จังหวัดนราธิวาส และโรงเรียนสตรียะลา จังหวัดยะลาซึ่งคณะผู้วิจัยจะทาการสุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง (Purpose Sampling) ได้ตัวแทนทั้งสิ้นจานวน ๒๔ คน โดยทาการสนทนากลุ่ม (Focus Groups Discussion) จานวน ๓ ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลภาคสนาม การสังเกตและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการวิเคราะห์โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า ๑. การมีส่วนร่วมในการสร้างทักษะการเรียนรู้ของบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาในด้านการบริหารงานบุคคลตามทัศนะของครูสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๕ โดยรวมและจาแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทางาน และระยะเวลาการอยู่ในพื้นที่ได้มีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลโดยรวมและรายด้านทั้ง ๕ ด้านคือด้านการวางแผนกาลังคนด้านการธารงรักษาบุคลากรด้านการสรรหาบุคลากรเข้าทางานด้านการพัฒนาบุคลากรและด้านการ ข ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยที่ด้านการวางแผนกาลังคนมีค่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยด้านอื่นๆ และด้านการสรรหาบุคลากรมีค่าต่ากว่าค่าเฉลี่ยด้านอื่นๆ ๒. ผลการประมวลปัญหาอุปสรรคและแนวทางการมีส่วนร่วมในการสร้างทักษะการเรียนรู้ของบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาในด้านการบริหารงานบุคคลตามทัศนะของครู มีดังนี้ ๒.๑ พบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการการวางแผนกาลังคนพบว่าผู้บริหารขาดการจัดทาแผนอัตรากาลัง การจัดสรรอัตราตาแหน่ง และการจัดสรรอัตรากาลังครูส่วนใหญ่ไม่ตรงกับวิชาเอกที่ต้องการ ขาดอัตรากาลังโดยมีครูไม่เพียงพอ การย้ายหรือการสับเปลี่ยนตาแหน่งไม่ตรงกับสาขาวิชาที่ต้องการ ไม่ได้บุคลากรตรงตามสายงานและคุณวุฒิการศึกษา การพัฒนาบุคลากรพบว่า โดยส่วนร่วมในการกาหนดวัตถุประสงค์เพื่อจัดทาแผนพัฒนาบุคลากรมาจากส่วนกลางมากกว่าตามนโยบายของกระทรวงหรือกรมฯ ทางโรงเรียนมีงบประมาณจากัดในการส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์เข้าศึกษา อบรม สัมมนา ตามโครงการที่โรงเรียนจัดขึ้นเอง การธารงรักษาบุคลากรพบว่าผู้บริหารขาดการสร้างขวัญและให้กาลังใจในการปฏิบัติงาน บุคลากรไม่พอใจในต่อสวัสดิการ การฝึกอบรมและการพัฒนาไม่สม่าเสมอและไม่ครบทุกฝ่าย ขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน สื่อและเครื่องมือการเรียนการสอนไม่เพียงพอและเหมาะสม และด้านประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนบุคลากรอย่างยุติธรรมและโปร่งใสไม่มีส่วนร่วมกาหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานที่เหมาะสมและชัดเจนและขาดการจัดสวัสดิการให้บุคลากรอย่างเหมาะสม ๒.๒ ส่วนแนวทางการมีส่วนร่วมในการสร้างทักษะการเรียนรู้ของบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาในด้านการบริหารงานบุคคลตามทัศนะของครู ได้แก่ ด้านการวางแผนกาลังคนคณะกรรมการสถานศึกษาควรมีส่วนร่วมในการจัดทาด้านการวางแผนกาลังคน กากับและติดตามการดาเนินงานตามแผนกาลังคนของสถานศึกษาที่วางไว้ มีส่วนร่วมในการระดมทุน/จัดหาแหล่งทุนให้กับสถานศึกษา ในการจัดสรรงบประมาณและอัตราตาแหน่งให้เหมาะสม ควรให้โรงเรียนมีอานาจในการพิจารณาครูบรรจุใหม่ให้ตรงกับสาขาที่โรงเรียนต้องการ และมีการกระจายอัตรากาลังครูตามความเหมาะสมควรต้องได้รับบุคลากรให้ตรงกับสายงานและคุณวุฒิการศึกษา ในด้านการพัฒนาบุคลากรคณะกรรมการสถานศึกษาต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาภายในสถานศึกษาเห็นควรได้รับจัดสรรงบประมาณมากขึ้นและให้อิสระแก่ผู้บริหารสถานศึกษาในการกาหนดนโยบายพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาภายในสถานศึกษา ด้านการธารงรักษาบุคลากร มีการแก้ปัญหาร่วมกันกาหนดแผนงานใหม่ๆ เพื่อสร้างความยั่งยืนในความสัมพันธ์การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายออกระเบียบข้อบังคับ กฎหมาย สนับสนุนในการจัดสรรสวัสดิการด้านต่างๆคณะกรรมการ ค สถานศึกษาต้องมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการเพื่อสร้างขวัญเละกาลังใจแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาในเรื่องการประเมินผล คณะกรรมการสถานศึกษาต้องมีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา ควรมีการกาหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์การประเมินไปในทิศทางเดียวกันเพื่อความโปร่งใส ควรมีการประชุมปรึกษาหารือเรื่องขั้นเงินเดือนให้ชัดเจน ควรสรุปผลการปฏิบัติงานควบคู่กับคุณธรรมไม่ใช่เน้นแต่ผลงานอย่างเดียวจะทาให้ครูมีความเห็นแก่ตัวและไม่มีมาตรฐานการเลื่อนขั้นเงินเดือนที่ชัดเจน | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การมีส่วนร่วม | en_US |
dc.subject | การบริหารบุคคล | en_US |
dc.title | การมีส่วนร่วมในการสร้างทักษะการเรียนรู้ของบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาในด้านการบริหารงานบุคคลตามทัศนะของครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๕ | en_US |
dc.title.alternative | Participation in building cognitive skills of people involved in education in the field of personnel management as perceived by the teacher Secondary Educational Service Area office Area 15 | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-124 วีระศักดิ์ ปัตตานี.pdf | 2.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.