Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/319
Title: กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเพชรบูรณ์ตามหลักพุทธธรรม
Other Titles: The Buddhist Teaching of Human Resource Development at Local Administration Organization in Phetchabun Province
Authors: ฐิตธมฺโม, พระพีระพงศ์
ฉัตรวิโรจน์, วิรัตน์
Keywords: กระบวนการพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเพชรบูรณ์
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอหล่มสักจังหวัดเพชรบูรณ์ ตามหลักพุทธธรรม และเพื่อวิเคราะห์และเสนอรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามหลักพุทธธรรม ดำเนินการวิจัยโดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) กับกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีจำนวน ๓๙๐ คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๗๕ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๓๐ ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามหลักพุทธธรรม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๐๒ ) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือด้านความรู้ ( = ๔.๑๑) ด้านความประพฤติ ( = ๔.๐๓) ด้านการไม่เบียดเบียน ( = ๔๐๐ ด้านคุณธรรม ( = ๓.๙๔) ปัญหา อุปสรรคในด้านความประพฤติ ผู้บริหารและผู้นำท้องถิ่นท้องที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญในด้านนี้ขาดความรู้ความเข้าใจไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นของประชาชนแล้วนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขพัฒนาไม่มีการปรับปรุงนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ทันกับสถานการณ์ของบ้านเมืองความเต็มใจในการช่วยเหลือของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้นำหมู่บ้านงานส่วนรวมยังมีน้อยผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้นำหมู่บ้านไม่มีการวิเคราะห์ถึงความจำเป็นที่แท้จริงในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางจิตใจผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้นำหมู่บ้านไม่ได้ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้ศึกษาเล่าเรียนศีลธรรมอย่างจริงจังควรพัฒนากาย, การฝึกอบรมกาย ให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายภายนอกทางอินทรีย์ทั้งห้าด้วยดี และปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้เกิดโทษ ให้กุศลธรรมงอกงามแก่ตนเองและผู้อื่น ในการพัฒนาความรู้ให้กับประชาชนควรเริ่มที่การพัฒนาด้านความประพฤติอันนำซึ่งศรัทธาของประชาชนในปัจจุบันประชาชนไม่ค่อยสำรวมระวังในศีลเท่าใดนักในหลักภาวนา ๔ ในกายภาวนานั้น ก็ควรที่จะทำตนให้ดีงามเหมาะสมกับที่เป็นพุทธศาสนิกชนและมีสติคอยกำกับตลอดเวลายิ่งเป็นชาวพุทธก็ยิ่งควรสำรวมระวังกายให้ดี ในหลักภาวนา ๔ กายภาวนานั้นเป็นข้อแรกที่เราควรยึดถือปฏิบัติ ดังที่ว่าจิตเป็นนายกายเป็นบ่าวจะทำดีทำชั่วก็ต้องอาศัยกายเราดำเนินไปพุทธศาสนิกชนเรายิ่งต้องรักษากายให้มั่นหมั่นประกอบคุณงามและความดีไว้ในด้านความประพฤติของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้นำหมู่บ้านนั้น ต้องแสดงออกให้เหมาะสม ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ชาวบ้านถ้าผู้นำทำตัวไม่ดีก็จะทำให้ท้องถิ่นเสื่อมเสียไปด้วยผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้นำหมู่บ้านนั้นต้องเป็นผู้ที่น่าเคารพศรัทธาน่าเชื่อถือหากตำตัวไม่ดีก็ไม่ควรอยู่ในตำแหน่ง หากผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้นำหมู่บ้านทำผิดศีลธรรมผิดกฎหมายควรมีการลงโทษอย่างจริงจังด้วย จึงจะทำให้ประชาชนคนนั้นไม่กล้าทำผิดอีก ข้อเสนอแนะ ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามหลักพุทธธรรม ควรจัดให้มีการประชุมอบรมสัมมนาให้ความรู้แก่ประชาชนควรขอความร่วมมือกับหน่วยราชอื่นๆเพื่อของบประมาณสนับสนุนการฝึกอบรมศีลให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัยไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูลแก่กัน ให้พอใจในความต้องการ ก็มีความโลภน้อยเมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย เคารพในสิทธิของแต่ละบุคคล การอยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข รู้จักความเอื้อเฟื้อแบ่งปัน ช่วยเหลือซึ่งกันแลกันได้จะทำให้มีความสุข ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้นำหมู่บ้านควรมีการมอบทุนการศึกษาแก่ประชาชนที่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างเพียงพอด้วยและมุ่งเน้นการพัฒนาทางจิตใจควบคู่กันไปด้วย
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/319
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-211 พระพีระพงศ์ ฐิตธมฺโม,ดร..pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.