Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/316
Title: | การส่งเสริมและการพัฒนาศักยภาพของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ ในจังหวัดแพร่ |
Other Titles: | Promotion and Development of Families’ Ability to Aging Care in Phrae Province |
Authors: | สุขจีน, อภิชา วูวงศ์, อรอนงค์ กิตฺติวณฺโณ, พระอนุสรณ์ ชยสิทฺธิ, พระมหาสิทธิชัย |
Keywords: | การส่งเสริมและการพัฒนาศักยภาพ ครอบครัว การดูแลผู้สูงอายุ ในจังหวัดแพร่ |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาศักยภาพของครอบครัวในการจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านเพื่อดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดแพร่ ๒) เพื่อศึกษาศักยภาพของครอบครัวในการดูแลสภาพจิตใจของผู้สูงอายุในจังหวัดแพร่ และ ๓) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาศักยภาพของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดแพร่ ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ คือ การวิจัยแบบผสานวิธี (Mix methods research) โดยมีการแจกแบบสอบถามแบบ Checklist สัมภาษณ์เชิงลึก ครอบครัวจำนวน ๒๐ ครอบครัว และสนทนากลุ่มย่อยระหว่างคณะผู้วิจัยและประธานมูลนิธิผู้สูงอายุจังหวัดแพร่ ประธานชมรมผู้สูงอายุอำเภอเมืองแพร่และอำเภอหนองม่วงไข่ ตัวแทนผู้สูงอายุ ตัวแทนครอบครัว ประธานกำนันผู้ใหญ่บ้าน และพระสงฆ์ รวมทั้งหมด ๑๕ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า ๑. ศักยภาพของครอบครัวในการจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านเพื่อดูแลผู้สูงอายุทั้ง ๗ ด้าน พบว่า ๑) ด้านห้องนอน มีการจัดสภาพแวดล้อมภาพรวมคิดเป็นร้อยละ ๗๓.๕๗ ๒) ด้านห้องน้ำ โดยภาพรวมคิดเป็นร้อยละ ๕๐ ๓) ด้านบันไดโดยภาพรวมคิดเป็นร้อยละ ๖๕.๕๕ ๔) ด้านราวจับ โดยภาพรวมคิดเป็นร้อยละ ๙๕ ๕) ด้านประตูโดยภาพรวมคิดเป็นร้อยละ ๖๒ ๖) ด้านพื้นห้องน้ำและฝาผนัง โดยภาพรวมคิดเป็นร้อยละ ๕๐ และ ๗) ด้านสภาพแวดล้อมบริเวณบ้านโดยภาพรวมคิดเป็นร้อยละ ๖๕ การจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านทั้ง ๗ ด้าน ปัจจัยทางด้านงบประมาณและความมั่นคงทางฐานะถือเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อการจัดสภาพแวดล้อม ๒. ศักยภาพของครอบครัวในการดูแลสภาพจิตใจของผู้สูงอายุในภาพรวมพบว่า ระดับการปฏิบัติการอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๔.๖๗ คิดเป็นร้อยละ ๕๓ ถ้าพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีระดับมากที่สุด คือ สมาชิกในครอบครัวให้เกียรติและยกย่องผู้สูงอายุว่าเป็นผู้มีประสบการณ์การดำเนินชีวิต,ให้ความเอาใจใส่เป็นอย่างดีเมื่อผู้สูงอายุเกิดอาการเจ็บป่วย, มีการพาผู้สูงอายุไปตรวจสุขภาพประจำปี,ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ตระหนักถึงคุณค่าของตัวเอง คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๕.๐๐ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ส่วนข้อที่มีระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับมากที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ มีการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกาย คิดเป็นค่าเฉลี่ย ๓.๗๐ อยู่ในระดับมาก ร้อยละ ๔๐ กิจกรรมที่ทางครอบครัวจัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพของครอบครัวในการดูแลสภาพจิตใจของผู้สูงอายุประกอบไปด้ |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/316 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-156 นายอภิชา สุขจีน.pdf | 4.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.