Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/311
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพระครูวุฒิธรรมบัณฑิต-
dc.contributor.authorพระครูวิสิฐพัฒนาภรณ์-
dc.contributor.authorพระครูจินดาสารานุกูล-
dc.contributor.authorญาณวโร, พระศิวเดชน์-
dc.contributor.authorอุดมโชคนามอ่อน, ไชยสิทธิ์-
dc.date.accessioned2022-03-16T06:17:53Z-
dc.date.available2022-03-16T06:17:53Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/311-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา จริยศาสตร์การพัฒนา :ตัวชี้วัดและกระบวนการสร้างความโปร่งใสในองค์กรปกครองท้องถิ่นของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method Research) โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล ๒ รูปแบบคือ รูปแบบวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๖๒๐ คน โดยหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือตามวิธีการของครอนบาค ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นแบบแนวสัมภาษณ์ คำถามปลายเปิด (Open-ended questions) สัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้บริหารองค์การ ข้าราชการและพนักงานราชการลูกจ้างและประชาชนผู้ใช้บริการ โดยพิจารณาจากความสมัครใจในการให้ข้อมูล จำนวน ๑๗ คน ผลการวิจัยพบว่า จริยศาสตร์การพัฒนา:ตัวชี้วัดและกระบวนการสร้างความโปร่งใสในองค์กรปกครองท้องถิ่นของจังหวัดอุบลราชธานี รวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( =๓.๗๕) ด้านความโปร่งใสอยู่ในระดับมาก ( =๓.๙๙) ด้านความรับผิดชอบอยู่ในระดับมาก ( =๓.๗๒) ด้านต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอยู่ในระดับมาก ( =๓.๗๐) ด้านวัฒนธรรมคุณธรรมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๕๓) และด้านคุณธรรมในการทำงานอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๘๕) จากการสัมภาษณ์พบว่า จริยศาสตร์การพัฒนา:ตัวชี้วัดและกระบวนการสร้างความโปร่งใสในองค์กรปกครองท้องถิ่นของจังหวัดอุบลราชธานี คือ ๑. สภาพความโปร่งใสในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ผู้ที่ทำการทุจริตคอรัปชั่น เพราะขาดคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นฐานของการป้องกันการทุจริตคอรัปชั่นที่ดีที่สุด ผู้ที่ทุจริตคอรัปชั่นมีสาเหตุจากทั้งเหตุภายใน คือ ตัวผู้กระทำเองและเหตุภายนอก คือ สภาพแวดล้อม ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต คอรัปชั่น ได้แก่ ผู้บังคับบัญชาต้องคอยกำกับตรวจสอบและต้องเป็นต้นแบบที่ดี ยกย่องคนที่ทำความดี และลงโทษคนที่กระทำความผิดอย่างจริงจัง ปลูกจิตสำนึก รณรงค์ค่านิยมที่ว่าการคอรัปชั่นเป็นสิ่งที่รับได้ให้หมดไปจากสังคม ใช้กฎระเบียบให้เข้มงวดมากขึ้น ๒. กระบวนการสร้างความโปร่งใสขององค์กรปกครองท้องถิ่นด้วยกลไกทางจริยศาสตร์ ใน ๕ ด้าน คือ ด้านความโปร่งใส ด้านความพร้อมรับผิด ด้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ด้านวัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร และด้านวัฒนธรรมในการทำงาน มีกระบวนการที่ชัดเจนในด้านทฤษฎี ส่วนการการดำเนินการตามกระบวนการยังไม่ต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีกรอบในการปฏิรูประบบราชการให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบที่เข้มแข็งทำงานด้วยความเที่ยงตรง ๓. การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างความโปร่งใสขององค์กรปกครองท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี มีการนำหลักพุทธธรรมสำหรับการครองตน หลักพุทธธรรมสำหรับการครองคน หลักพุทธธรรมสำหรับการครองงาน บุคคลที่จะเข้าไปทำงานในตำแหน่งสูงต้องผ่านการคัดกรองด้านคุณธรรม โดยการอบรมด้านจริยธรรมก่อนเข้ารับตำแหน่ง การบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐที่เน้นเรื่องความโปร่งใสในการทำงานมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ผู้ใหญ่ควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ชี้แนะเด็กและเยาวชนให้เห็นผลเสียของการทุจริตคอรัปชั่น คุณธรรมและจริยธรรมเป็นหลักสำคัญของนักบริหาร ที่จะทำให้การบริหารประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้นำเป็นหลักที่จะสามารถนำเอาหลักธรรมที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการบริหารได้en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectจริยศาสตร์การพัฒนาen_US
dc.subjectตัวชี้วัดและกระบวนการสร้างความโปร่งใสen_US
dc.subjectองค์กรปกครองท้องถิ่นของจังหวัดอุบลราชธานีen_US
dc.titleจริยศาสตร์การพัฒนา : ตัวชี้วัดและกระบวนการสร้างความโปร่งใสในองค์กรปกครองท้องถิ่นของจังหวัดอุบลราชธานีen_US
dc.title.alternativeEthics in Development: Indicators and Processes for Cultivating the Transparency of Local Government Organization in Ubonratchathani Province.en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-145 พระครูวุฒิธรรมบัณฑิต, ผศ.ดร..pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.