Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/309
Title: การประยุกต์จริยธรรมเชิงพุทธในการพัฒนาเด็กในชุมชนพหุวัฒนธรรม
Other Titles: The Application of Buddhist Ethics in Child Development in Multicultural-society Community
Authors: สุชน, ประวัติดี
Keywords: การประยุกต์จริยธรรมเชิงพุทธ
การพัฒนาเด็ก
ชุมชนพหุวัฒนธรรม
Issue Date: 2557
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑.เพื่อศึกษาสภาพการปัญหาอุปสรรคและการดำเนินงานด้านจริยธรรมเชิงพุทธในการพัฒนาเด็กในชุมชนพหุวัฒนธรรม ๒.เพื่อประยุกต์จริยธรรมเชิงพุทธในการพัฒนาเด็กในชุมชนพหุวัฒนธรรม ๓. เพื่อเสนอรูปแบบการประยุกต์จริยธรรมเชิงพุทธในการพัฒนาเด็กในชุมชนพหุวัฒนธรรม การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๒๕ รูป/คน เลือกแบบเจาะจง จากผู้เกี่ยวข้องในชุมชน ๕ กลุ่ม คือ จากบุคลากรทางศาสนา ๕ รูป/คน จากสถานศึกษาจำนวน ๕ คน จากมูลนิธิเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนจำนวน ๕ คน จากสถานประกอบการ ๕ คน จากหน่วยงานราชการท้องถิ่น ๕ คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัยและพรรณนาความ และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ณ ชุมชนพหุวัฒนธรรมอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ผลการวิจัยพบว่า ๑. สภาพการปัญหาอุปสรรคและการดำเนินงานด้านจริยธรรมในชุมชนพหุวัฒนธรรม พบว่า เกิดจากตัวของเด็กและเยาวชนในชุมชน เป็นสำคัญ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น ๓ ด้าน คือ ๑) ปัญหาด้านจริยธรรมทางกาย ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับการประพฤติ การปฏิบัติ ขาดการคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนการปฏิบัติ ๒) ปัญหาด้านจริยธรรมทางวาจา เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้คำพูดในการสื่อสาร โดยขาดการคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนที่จะพูด และ ๓) ปัญหาด้านจริยธรรมทางใจ เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ความคิดให้รู้ว่าสิ่งใดถูกต้อง ควรกระทำ หรือสิ่งใดไม่ถูกต้องไม่ควรกระทำ ๒. การประยุกต์จริยธรรมเชิงพุทธที่เหมาะสมสำหรับ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในชุมชนพหุวัฒนธรรม พบว่า ๑) การพัฒนาเด็กและเยาวชนในชุมชนพหุวัฒนธรรมนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนการคิดและการประพฤติปฏิบัติให้มีความเจริญขึ้นทั้งในเรื่องของความรู้ ทักษะ ความสามารถ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาตนเอง ซึ่งกระบวนการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีการพัฒนาตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ให้การศึกษา ให้การฝึกอบรม และให้การพัฒนา อย่างไรก็ตามแรงจูงใจภายในของเด็กและเยาวชนก็สำคัญ ซึ่งแรงจูงใจที่สามารถส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมการปฏิบัติที่ดีงาม มีอยู่ ๕ ประการ คือ ๑ การศึกษา ๒ ครอบครัว ๓ การให้รางวัล ๔ ค่านิยม และ ๕ ความเชื่อทางศาสนา แต่กระนั้นก็ตามสภาพแวดล้อมรอบตัวของเด็กและเยาวชนในชุมชนพหุวัฒนธรรม ได้แก่สภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจ สื่อต่าง ๆ ก็มีผลต่อแรงจูงใจของเด็กและเยาวชนเช่นกัน ๒ ) พื้นฐานการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนในชุมชนที่มีความแตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง ดีงาม ซึ่งมีอยู่ ๔ ประการ คือ ๑ ครอบครัว ๒ สถาบันการศึกษา ๓ กลุ่มเพื่อน และ ๔ สภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กและเยาวชนในชุมชน ๓) หลักธรรมที่มีความสอดคล้องกับจริยธรรมในการพัฒนาเด็กและเยาวชน คือ หลักกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ ๑ กายสุจริต ๓ ได้แก่ไม่ทำให้ชีวิตสัตว์ตกล่วง ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ๒ วจีสุจริต ๔ ได้แก่ เว้นจากการพูดเท็จเว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นจากการพูดคำหยาบ เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ และ ๓ มโนสุจริต ๓ ได้แก่ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น ไม่คิดอาฆาตพยาบาทปองร้าย มีปัญญาอันเห็นชอบ เข้าใจอันถูกต้อง ๓. รูปแบบการประยุกต์จริยธรรมเชิงพุทธในการพัฒนาเด็กในชุมชนพหุวัฒนธรรม โดยนำหลักกุศลกรรมบถ ๑๐ มาปรับประยุกต์ใช้ แบ่งได้เป็น ๓ รูปแบบ คือ ๑) รูปแบบด้านการให้การศึกษา โดยจัดการศึกษา จัดการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานในแนวทางประพฤติปฏิบัติ ๒) รูปแบบด้านการฝึกอบรมสั่งสอน โดยฝึกอบรมให้เด็กและเยาวชนในชุมชนพหุวัฒนธรรมได้เรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ ๓) รูปแบบด้านการพัฒนา โดยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชนในชุมชนพหุวัฒนธรรมเกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้สึก อารมณ์ ความคิด การตัดสินใจ และพฤติกรรมให้มีความเจริญขึ้น ตลอดจนนำหลักธรรมทางพุทธศาสนา มาบูรณาการในการพัฒนา การประพฤติปฏิบัติตัวของเด็กและเยาวชนในชุมชนพหุวัฒนธรรม ไปในสิ่งที่ถูกต้อง
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/309
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.