Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/308
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสีดาคา, อภิรมย์-
dc.date.accessioned2022-03-16T06:12:02Z-
dc.date.available2022-03-16T06:12:02Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/308-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๔ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติในการ ประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงของเครือข่าย พระนักพัฒนา (๒) เพื่อติดตามผลการดาเนินงานด้านภาวะผู้สูงอายุของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงใน พื้นที่ต้นแบบ เชียงดาว ไชยปราการ ฝาง แม่อาย ของเครือข่ายพระนักพัฒนา (๓) เพื่อวิเคราะห์แนว ปฏิบัติของเครือข่ายพระนักพัฒนาและกระบวนการดูแลผู้สูงอายุของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในพื้นที่ ต้นแบบ เชียงดาว ไชยปราการ ฝาง แม่อาย ของเครือข่ายพระนักพัฒนา (๔) เพื่อสังเคราะห์องค์ ความรู้ของพื้นที่ต้นแบบ (Model) ในการดูแลผู้สูงอายุของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในพื้นที่ต้นแบบ เชียงดาว ไชยปราการ ฝาง แม่อาย ของเครือข่ายพระนักพัฒนา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วน ร่วม (Participatory Action Research-PAR) กับการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กับ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จานวน ๓๐ รูป/คน ในหมู่บ้านที่มีอาศรมพระธรรมจาริก อาศรมพระบัณฑิต อาสาและหมู่บ้านบริวาร รวมทั้งสิ้น ๔ แห่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า แนวทางปฏิบัติในการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการดูแลผู้สูงอายุ คือ สังคหวัตถุ ๔ และพรหมวิหาร ๔ ผสมผสานกับการนาหลักสังคมสงเคราะห์มาประยุกต์ใช้ คือ หลักการมีส่วนร่วม ของประชาชน (People participation) และหลักการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การดาเนินงานด้านภาวะผู้สูงอายุของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง พบว่า กลุ่มหรือชมรม ผู้สูงอายุในหมู่บ้านยังขาดบุคลากรในการขับเคลื่อนการจัดกิจกรรมในกลุ่ม และขาดการจัดกิจกรรม หรือกลุ่มสร้างรายได้หรืออาชีพเสริมให้กับสมาชิก และมีข้อเสนอแนะให้มีการขับเคลื่อนกิจกรรมของ กลุ่มอย่างต่อเนื่อง และการจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุ เช่น การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ เป็น ต้น แนวปฏิบัติของเครือข่ายพระนักพัฒนาและกระบวนการดูแลผู้สูงอายุของกลุ่มชาติพันธุ์ บนพื้นที่สูง คือ แนวปฏิบัติหลักของเครือข่ายพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูง ได้แก่ บทบาทหน้าที่ของพระ ธรรมจาริกและพระบัณฑิตอาสาด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา กิจวัตรประจาวัน การจัดทา ยุทธศาสตร์ การมีส่วนร่วมของชาวบ้าน ส่วนการวิเคราะห์แนวปฏิบัติและกระบวนการดูแลผู้สูงอายุ ของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงของเครือข่ายพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูง ได้แก่ การจัดทาโครงการอบรม ให้ความรู้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ชื่อรายงานการวิจัย : รายงานการวิจัยย่อยที่ ๔ เรื่อง แนวปฏิบัติและกระบวนการดูแล ผู้สูงอายุของเครือข่ายพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูง: พื้นที่ต้นแบบ เชียง ดาว ไชยปราการ ฝาง แม่อาย ผู้วิจัย : รองศาสตราจารย์ ดร.อภิรมย์ สีดาคา ส่วนงาน : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ปีงบประมาณ ; ๒๕๖๑ ทุนอุดหนุนการวิจัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แนวปฏิบัติและกระบวนการดูแลผู้สูงอายุของเครือข่ายพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูง ประกอบด้วย ปัจจัยด้านสถานที่ ปัจจัยด้านการเงิน ปัจจัยด้านการบริหาร ปัจจัยด้านกิจกรรม ปัจจัย ด้านสถาปัตยกรรม ปัจจัยด้านแผนพัฒนา และปัจจัยด้านนโยบายen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ,en_US
dc.subjectเครือข่ายพระนักพัฒนาen_US
dc.subjectชุมชนพื้นที่สูงen_US
dc.titleแนวปฏิบัติและกระบวนการดูแลผู้สูงอายุของเครือข่ายพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูง: พื้นที่ต้นแบบ เชียงดาว ไชยปราการ ฝาง แม่อายen_US
dc.title.alternativeThe Practical Guideline and the Elderly Care Process of the Highland Buddhist Monk Developer Network: Target Area in the District of Chiang Dao, Chai Prakan, Fang and Mae Aien_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.