Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/305
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเย็นใจมา, รัฐพล-
dc.date.accessioned2022-03-16T06:07:20Z-
dc.date.available2022-03-16T06:07:20Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/305-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง “การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลของสถานบันการศึกษา” มีวัตถุประสงค์ ๑)เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมสำหรับของสถานบันการศึกษา ๒)เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพทั่วไปของรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงของสถานบันการศึกษา ๓) เพื่อนำเสนอการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลของสถานบันการศึกษา การวิจัย ครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดวิธีดำเนินการวิจัยไว้ตามลำดับดังนี้ ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ได้กำหนดขอบเขตของผู้ให้ข้อมูลหลักโดยการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง (Criterion based selection) ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารระดับสูง ทั้งส่วนกลางวิทยาเขต และผู้ทรงคุณวุฒิ มีส่วนสำคัญในการกำหนดนโยบายและทิศทางการบริหารของมหาวิทยาลัยสงฆ์ไทย จำนวน ๓๐ รูปและคน การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยเรื่องนี้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากเอกสารการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยใช้วิธีการคิดวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) อย่างพิถีพิถัน เพื่อจัดหมวดหมู่ของเนื้อหา (Category) แล้วนำมาสังเคราะห์เชิงระบบ (Systematicsynthesis) คิดอย่างละเอียดลุ่มลึกเพื่อหาประเด็นร่วมหรือประเด็นหลักและอธิบายเนื้อหาทีละประเด็นๆ ผลการวิจัยพบว่า ๑. แนวคิดและทฤษฎีการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมสำหรับของสถานบันการศึกษา คือ ทฤษฎีภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงเหมาะสมสำหรับการบริหารของสถานบันการศึกษา มี ๕ ประการ ได้แก่ ๑) การทําความเขาใจในการเปลี่ยนแปลง (๒) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ๓) การสร้างแรงบันดาลใจ ๔) การกระตุ้นทางปัญญา ๕) การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล เพราะว่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บริหารงานต้องบุคลากรซึ่งมีทั้งฝ่ายบรรพชิต ฝ่ายคฤหัสถ์ คำนึงการบริหารงานของคณะสงฆ์ไทย และนโยบายภาครัฐ ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงเป็นแนวคิดภาวะผู้นําที่ค่อนกว้างขวาง เป็นกระบวนการที่ผู้นําการเปลี่ยนแปลงจะต้องพยายามกระตุ้นและโน้มน้าวให้ผู้ร่วมงานมีความพยายามในการทํางานและคาดหวังผลลัพธ์ของการทํางาน ส่งเสริมให้ผู้ตามเกิดการตระหนักรู้ ในภารกิจและวิสัยทัศน์ของกลุ่ม และองค์กรการพยายามจูงใจ ผู้ร่วมงานหรือผู้ตามให้ทํางานเพื่อมุ่งผลประโยชน์ของกลุ่มหรือองค์กรมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน ๒. สภาพโดยทั่วไปของสถาบันการศึกษาที่ใช้เป็นพื้นที่วิจัยคือมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีลักษณะที่เด่น คือ ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ มีเครือข่ายเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ มีการบริหารเชิงรุกมุ่งที่จะพัฒนามหาวิทยาลัยให้เจริญ ได้รับการสนับสนุนจากสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนาพันธกิจทุกด้านของมหาวิทยาลัย มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ มีบทบาทสำคัญในการการบริการวิชาการแก่สังคมเพื่อยกระดับจิตใจและพัฒนาสังคม พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาระดับชาติและนานาชาติ มีจุดที่ควรพัฒนาได้แก่ ควรพัฒนาด้านการจูงใจให้บุคลากรนำนโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผล ๓. การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลของสถานบันการศึกษา พบว่า มี ๕ รูปแบบ ได้แก่ ๑) รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลด้านการบริหารทั่วไป ๒) รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลด้านการบริหารวิชาการ ๓) รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลด้านการบริหารงานวิจัย ๔) รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลด้านการบริหารการเงินและงบประมาณ ๕) รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลด้านการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ ใน ๕ รูปแบบนี้มีองค์ประกอบหลัก ๒ องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ ๑ ทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมี ๕ ประการ ได้แก่ (๑) การทำความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลง (Understanding Change) (๒) การมีอิทธิพลอย่างมีอย่างมีอุดมการณ์ (Idealized Influence) (๓) การสร้างแรงบันดาลใจ (Inspirational Motivation) (๔) การกระตุ้นการใช้ปัญญา (Intellectual Stimulation) และ(๕) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Relationship) และองค์ประกอบที่ ๒ พุทธธรรมกับประสิทธิผลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มี ๓ ประการ ได้แก่ ๑. (จักขุมา) มีปัญญามีวิสัยทัศน์กว้างไกล ๒. (วิธูโร) มีความรู้เฉลียวฉลาดมีความชำนาญ ๓. (นิสสยสัมปันโน) มีความโอบอ้อมอารีมีจิตเมตตา สร้างเป็นรูปแบบได้ B-TL : MODEL ดังนั้น การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลของสถานบันการศึกษา ต้องคำนึงถึงบุคลากรเป็นหลัก เนื่องจากบุคลากรจะเป็นตัวขับเคลื่อนนโยบาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของมหาวิทยาลัยให้บรรลุเป้าหมายของมหาวิทยาลัย ให้มีประสิทธิผลเกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปทิศทางที่ดีen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการบริหารen_US
dc.subjectการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลen_US
dc.subjectสถานบันการศึกษาen_US
dc.titleการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลของสถานบันการศึกษาen_US
dc.title.alternativeTHE EFFECTIVENESS CHANGE MANGEMENT OF EDUCATIONALen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2558-162 ดร.รัฐพล เย็นใจมา.pdf5.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.