Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/304
Title: | ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม : ประวัติศาสตร์ เส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และหลักพุทธธรรมในประเทศไทย |
Other Titles: | Cultural Geography : History, Propagation Routes of Buddhism, and Principle of Buddhadhamma in Thailand |
Authors: | ทองทิพย์, ทวีศักดิ์ |
Keywords: | ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในประเทศไทย |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ เส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและหลักพุทธธรรมในประเทศไทยสมัยทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย ล้านนา และอยุธยา เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสังเกต สัมภาษณ์ และสัมมนากลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา ผลการวิจัยมีข้อค้นพบดังนี้ ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศไทยสมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๓ ดินแดนบริเวณนี้เรียกว่าสุวรรณภูมิ พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาในดินแดนสวรรณภูมิตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๕ พระโสณะและพระอุตระเป็นหัวหน้าคณะนาเข้ามาโดยเส้นทางเดินเรือทะเล สันนิษฐานว่าขึ้นฝั่งที่บริเวณเมืองสะเทิมในประเทศเมียนมาร์หรือเมืองนครปฐมในประเทศไทยปัจจุบัน กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ได้นับถือพุทธศาสนาเรื่อยมา ผ่านสมัยฟูนัน และทวารวดี พระพุทธศาสนาที่เข้ามาสู่อาณาจักรทวารวดีระยะแรกเป็นนิกายเถรวาทแบบอโศก ส่วนอาณาจักรศรีวิชัยทางภาคใต้ของประเทศไทย นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ต่อมาได้เผยแผ่ไปยังอาณาจักรขอม เมื่อขอมเรืองอานาจได้ขยายอิทธิพลปกครองดินแดนทางภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย และนาพระพุทธศาสนานิกายมหายานมาเผยแผ่ในดินแดนนี้ด้วย โดยมีศูนย์กลางการปกครองในประเทศไทยอยู่ที่ละโว้ ในสมัยลพบุรีจึงมีพระพุทธศาสนาอยู่สองนิกาย คือ นิกายเถรวาทที่มีมาตั้งแต่สมัยทวารวดี และมหายานที่ขอมนาเข้ามาสมัยลพบุรี และได้เผยขึ้นไปถึงอาณาจักรหริภุญชัยทางภาคเหนือของไทยด้วย แต่มิได้มีอิทธิพลมากเพราะพระพุทธศาสนาเถรวาทแบบพุกามและมอญมีอิทธิพลอยู่ในดินแดนนั้น สมัยสุโขทัยและล้านนา พระพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาและแบบมอญได้มีอิทธิพลอยู่ในสุโขทัย ถึงสมัยอยุธยาพระพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาได้มีอิทธิพลอยู่ในอยุธยาประชาชนนับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาซึ่งมีอิทธิพลมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงสมัยปัจจุบัน เส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยสมัยทวารวดี ในพุทธศตวรรษที่ ๓ พระพุทธศาสนาเถรวาทแบบอโศก ได้เผยแผ่จากประเทศอินเดียมาสู่สุวรรณภูมิโดยเส้นทางเดินเรือ ทะเล สันนิษฐานว่ามาขึ้นฝั่งที่บริเวณเมืองสะเทิมในประเทศเมียนมาร์หรือเมืองนครปฐมในประเทศไทยปัจจุบัน จากนั้นได้เผยแผ่เรื่อยมาผ่านสมัยฟูนัน ทวารวดี และลพบุรี พระพุทธศาสนามหายาน เผยแผ่จากประเทศอินเดียมาสู่สุวรรณภูมิโดยเส้นทางเดินเรือทะเล มาขึ้นฝั่งบริเวณแหลมมาลายู ในอาณาจักรลังกาสุกะ ตามพรลิงค์ ได้เผยแผ่เรื่อยมาถึงสมัยอาณาจักรศรีวิชัย เจนละหรือขอม และได้เข้ามามีอิทธิพลในภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลางของไทยสมัยลพบุรี มีศูนย์กลางการปกครองในประเทศไทยอยู่ที่เมืองละโว้ และทางภาคเหนือของไทยในสมัยลพบุรีก็ได้มีพระพุทธศาสนาเถรวาทแบบมอญและพุกาม เผยแผ่จากเมืองพุกามและเมืองพันในเมียนมาร์เข้ามาในเมืองหริภุญชัยทางภาคเหนือของไทยด้วย ในสมัยสุโขทัย เมื่อพ่อขุนรามคาแหงขึ้นครองราชย์ พระพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาจากประเทศศรีลังกาได้ เผยแผ่มาในเมืองนครศรีธรรมราช และเข้ามาในสุโขทัยด้วย ทาให้มีพระสงฆ์ในสุโขทัยแบ่งเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายคามวาสีเป็นเถรวาทแบบมอญที่มีวัดอยู่ในหมู่บ้าน และฝ่ายอรัญวาสีเป็นเถรวาทแบบลังกาที่มาจากเมืองนครศรีธรรมราชมีวัดอยู่ในป่า ในสมัยล้านนา มีพระสงฆ์สองกลุ่ม กลุ่มแรก คือ ลังกาวงศ์สานักรามัญ มีเส้นทางการเผยแผ่จากประเทศศรีลังกา มาเมืองยังพันในเมียนมาร์ เมืองสุโขทัย เมืองลาพูน และมาอยู่วัดสวนดอกในเชียงใหม่ กลุ่มที่สอง คือ ลังกาวงศ์สานักสีหล มีเส้นทางการเผยแผ่จากเชียงใหม่ ไปยังประเทศศรีลังกาลังกา กลับมาที่อยุธยา ศรีสัชนาลัย สุโขทัย ลาพูน มาอยู่วัดป่าแดงในเชียงใหม่ สมัยอยุธยาพระพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาได้มีอิทธิพลอยู่ในดินแดนนี้ และเผยแผ่ไปยังดินแดนต่าง ๆ ในประเทศไทย พ.ศ. ๒๒๙๕ สมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศยังได้ส่งพระสงฆ์เถรวาทแบบลังกาจากอยุธยาไปเผยแผ่และฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกาด้วย หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในหลักฐานทางโบราณคดีตามเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทย สมัยทวารวดีและศรีวิชัย คือ อริยสัจสี่ บุญกิริยาวัตถุ พระรัตนตรัย เป็นต้น หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในหลักฐานทางโบราณคดีสมัยลพบุรี คือ บุญกริยาวัตถุ พระรัตนตรัย สัจจะ จาคะ เป็นต้น หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในหลักฐานทางโบราณคดีสมัยสุโขทัย คือ สัทธรรมอันตรธานห้า ทศพิธราชธรรม ไตรลักษณ์ นรก สวรรค์ เป็นต้น หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในหลักฐานทางโบราณคดีสมัยล้านนา คือ บุญกิริยาวัตถุ มงคล ๓๘ นรก สวรรค์ นิพพาน เป็นต้น และ หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในหลักฐานทางโบราณคดีสมัยอยุธยา คือ บุญกิยาวัตถุ บุคคลหาได้ยากสองอย่าง ทิศหก ทศพิธราชธรรม อิทธิบาทสี่ ศรัทธาสี่ พระรัตนตรัย คารวะหก ทศบารมี กุศลมูล อกุศลมูล เป็นต้น |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/304 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2559-126 ทวีศักดิ์ ทองทิพย์.pdf | 13.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.