Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/299
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorทองวาด, วิวัฒน์-
dc.date.accessioned2022-03-16T05:56:52Z-
dc.date.available2022-03-16T05:56:52Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/299-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาการพัฒนาการด้านภาษาถิ่น ของชุมชนลุ่มแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย 2) เพื่อศึกษาพลวัตภูมิปัญญาภาษาท้องถิ่นกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลทางสังคม วัฒนธรรมและภาษาอังกฤษที่มีต่อภาษาถิ่น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ และแบบการสังเกต การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์และสังเกตแบบมีส่วนร่วม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาษาหรือชาวบ้านที่เข้าใจโครงสร้างของภาษาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ในเขตชุมชนลุ่มแม่น้ำโขงในจังหวัดหนองคาย ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน ๑๕-๒๐ รูป/คน แล้วนำผลการสัมภาษณ์ไปวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความและสร้างข้อสรุปให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ผลจากการวิจัย พบว่า อักษรถิ่นอีสานกำลังเริ่มมีการฟื้นฟูด้วยระบบของรัฐบาล ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า อักษรถิ่นอีสานเป็นภูมิปัญญาดั่งเดิมของคนอีสาน ได้แก่ อักษรไทยน้อย และอักษรธรรม ซึ่งจะเห็นได้จากในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ กรมส่งเสริมวัฒนธรรมกระทรวงวัฒนธรรม ได้มีพิธีประกาศขึ้นทะเบียนมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ จำนวน ๖ รายการด้วยกัน คือ ๑) อักษรธรรมล้านนา ๒) อักษรไทยน้อย ๓) อักษรธรรมอีสาน ๔) ภาษาชอง ๕) ภาษาญัฮกุร และ ๖) ภาษาก๋อง ซึ่งในรายการขึ้นทะเบียนมรดกดังกล่าวได้มี อักษรอีสานได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเรียบร้อยด้วยเช่นกัน คือ อักษรไทยน้อย และอักษรธรรมอีสาน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งวัตถุประสงค์ของการขึ้นทะเบียนในครั้งนี้ ก็เพราะว่า ภาษาและอักษรเป็นมดรกทางภูมิปัญญาของชุมชน เสี่ยงต่อการสูญหาย หรือเผชิญกับภัยคุกคาม ดังนั้น สถาบันครอบครัวเป็นสิ่งแรกที่ควรปลูกฝังให้เด็กเห็นว่าภาษาถิ่นมี ความสำคัญอย่างไร และปลูกฝังให้เด็ก ไม่อายกล้าที่จะพูดภาษาถิ่นในสังคม หรือในครอบครัว ส่วนสถาบันที่สองคือคนในสังคม ที่ไม่ควรทำรังเกียจหรือเห็นว่าคนพูดภาษาถิ่นเป็นสิ่งแปลกประหลาด เราควรยกย่องด้วยซ้ำ เพราะภาษาถิ่นมีคุณค่าควรแก่การรักษาไว้en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectพลวัตภูมิปัญญาภาษาถิ่นen_US
dc.subjectชุมชนลุ่มแม่น้ำโขงen_US
dc.subjectจังหวัดหนองคายen_US
dc.titleภูมิปัญญาภาษาถิ่นของชุมชนลุ่มแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคายen_US
dc.title.alternativeThe Dynamic of Communities Wisdom Dialect at the Mekong River in Nongkhai Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-175 ดร.วิวัฒน์ ทองวาด.pdf8.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.