Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/294
Title: รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมในวัด
Other Titles: Tourist Management Model of Religion and Cultural in Buddhist Temple
Authors: ฤทธิ์เต็ม, ชรบถ
Keywords: วัด
การท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรม
การจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรม
รูปแบบ ( Model) บทบาท
Issue Date: 2550
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและความพึงพอใจของการท่องเที่ยววัดใน จังหวัดเชียงใหม่ และรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวในวัดในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) การวิจัยภาคสนาม ( Survey Research) โดยใช้วิธีการแบบสอบถาม (Questionnaire) กับกลุ่มตัวอย่างจานวน ๔๐๐ คน การสัมภาษณ์ ( Interview) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และการสังเกตการณ์ (Observation) พื้นที่วัดท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า จังหวัดเชียงใหม่ มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ โบราณสถาน โบราณวัตถุ โดยเฉพาะกลุ่ม แหล่งท่องเที่ยววัดในตัวเมืองเชียงใหม่ ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยวที่สาคัญทางประวัติศาสตร์ คือ วัดต่างๆ รวม ๘๖ วัด มีวัดที่สาคัญและมีชื่อเสียง เช่น วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรมหาวิหาร วัดพระ สิงห์วรมหาวิหาร วัดเจดีย์หลวง วัดสวนดอก วัดเจ็ดยอด วัดเชียงยืน เป็นต้น ดังนั้น การที่ นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนเชียงใหม่เป็นจานวนมาก ทาให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของแหล่ง ท่องเที่ยว ซึ่งมีถึง ๑๓ แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ เช่น วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรมหาวิหาร วัดเจดีย์ หลวง วัดถ้าเชียงดาว เป็นต้น ทาให้เกิด ปัญหาด้านการท่องเที่ยว ๕ ประเด็นหลัก คือ ปัญหาด้าน อุปทานทางการท่องเที่ยว ปัญหาการพัฒนาสถานที่และสินค้าของการท่องเที่ยว ปัญหาด้านบุคลากร การท่องเที่ยว ปัญหาสภาพแวดล้อม และปัญหาด้านนโยบายการท่องเที่ยว จากผลการสารวจความพึงพอใจการท่องเที่ยววัดในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า นักท่องเที่ยวมี ความพึงพอใจต่อสถานที่ท่องเที่ยวและการจัดการท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย ๓.๔๒ เรียง ตามลาดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย ๓.๖๖ และ ด้านสิ่งอานวยความสะดวก ค่าเฉลี่ย ๓.๔๗ ส่วนความพึงพอใจ ในระดับปานกลาง เรียงตามลาดับจาก มากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านกลยุทธ์การท่องเที่ยว ค่าเฉลี่ย ๓.๓๔ ด้านบุคลากร ค่าเฉลี่ย ๓ .๒๗ และ ด้านประชาสัมพันธ์ ค่าเฉลี่ย ๒.๘๗ นักท่องเที่ยวมีความเห็นว่าสิ่งที่วัดควรปรับปรุง เรียงตามลาดับ ๓ ลาดับจากมากไปหา น้อย ดังนี้ การจัดหาถังขยะและจัดระเบียบสถานที่ทิ้งขยะให้เพียงพอ ร้อยละ ๗๙ .๘ การดูแลรักษา ความสะอาดของห้องน้า ร้อยละ ๗๔.๐ และ ควรมีแผนผังแสดงแหล่งท่องเที่ยวในวัด ร้อยละ ๖๐.๓ จากผลการศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวในวัด สรุปได้ดังนี้ ๑. การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยว ได้แก่ การจัดทาผังการใช้สอยพื้นที่ของวัด การ จัดทาแผนพัฒนาวัดทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และการจัดทาแผนพัฒนาฟื้นฟูโบราณสถานหรือวัด ร้าง ๒. การจัดการระบบสื่อความหมาย ได้แก่ การจัดทาข้อมูลและฐานข้อมูลของวัดในระบบสารสนเทศ และการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของวัดในวันสาคัญหรือเทศกาลสาคัญ ๓. การจัดการบุคลากรการท่องเที่ยว ได้แก่ การพัฒนาบุคลากรของวัดในด้านการท่องเที่ยว และการพัฒนาจริยธรรมการท่องเที่ยวในวัด
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/294
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2550-038 นายภัชรบถ ฤทธิ์เต็ม.pdf3.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.