Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/293
Title: | ศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลและคุณค่างานพุทธศิลปกรรมรัชสมัยของ พระเมืองแก้วในล้านนา |
Other Titles: | An Analytical Study of Influences and Values of Buddhist Art in the King Muang Kaew’s Reign of Lan Na |
Authors: | จันทร์แรง, เทพประวิณ พระครูปลัดอุทัย ชยาภินนฺโท, พระชัยวิชิต พระปลัด, ณัฐพล รัตนชูเดช, พรศิลป์ |
Keywords: | อิทธิพล คุณค่า พุทธศิลปกรรม รัชสมัยของ พระเมืองแก้ว ล้านนา |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยอยู่ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาประวัติและความ เป็นมาและการทะนุบารุงพระพุทธศาสนาของพระเมืองแก้ว ๒) เพื่อศึกษาการสืบค้นแหล่งโบราณคดี ทางพระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระเมืองแก้ว ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลและคุณค่างานพุทธ ศิลปกรรมรัชสมัยของพระเมืองแก้วในล้านนา ผลการวิจัย พบว่า พระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิ หรือ พระเมืองแก้ว (พญาแก้ว) เป็น พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๑๑ ในราชวงศ์เม็งราย แห่งอาณาจักรล้านนา เป็นเหลนของพระเจ้าติโลก ราช ได้รับราชาภิเษกเมื่อชนมายุ ๑๓ ปี (พ.ศ.๒๐๓๘ - พ.ศ.๒๐๖๘) พระเมืองแก้วสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๐๖๘ ขณะสวรรคตพระชน มายุได้ ๔๔ พรรษา อยู่ในราชสมบัติ ๓๐ ปี พระองค์ไม่มีราชโอรสและ ธิดา ด้านการทานุบารุงศาสนา กษัตริย์องค์นี้ทรงดาเนินรอยตามพระเจ้าติโลกราช พระองค์ทรง ทะนุบารุงพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง แหล่งโบราณคดีทางพระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระเมือง แก้ว ได้แก่จารึกและโบราณคดีแสดงจารึกจากชุดคาค้น "ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา-พระเมือง แก้ว" จานวน ๖๓ รายการ และยังมีวัด เจดีย์ วิหาร และอื่นๆ ที่เป็นศาสนสถานสาคัญทางพระพุทธศาสนา พระองค์ทางสร้างขึ้น โดยในปัจจุบันชาวล้านนามีความเชื่อ ความเลื่อมใส ความศรัทธาในคาสอนของ พุทธศาสนาเป็นหลักสาคัญและใช้เป็นแนวทางการดาเนินชีวิต อิทธิพลและคุณค่างานพุทธศิลปกรรม รัชสมัยของพระเมืองแก้วในล้านนา ประกอบด้วย อิทธิพลด้านคาสอน ด้านการปกครอง ด้าน วัฒนธรรม ด้านการทานุบารุงพระพุทธศาสนา และคุณค่างานพุทธศิลปกรรมรัชสมัยของพระเมือง แก้วในล้านนา ด้านประวัติศาสตร์ ด้านวรรณกรรม ด้านพุทธศิลปกรรม และคุณค่าด้านการอนุรักษ์ โบราณคดี มีความสาคัญต่อการปกครองบ้านเมือง ช่วยให้สถาบันการปกครองดาเนินไป เป็นยุคทอง ของวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา มีความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางด้านการก่อสร้างและถาวรวัตถุและ ภูมิปัญญา ก่อให้เกิดคุณค่างานพุทธศิลปกรรม เป็นแหล่งศึกษาที่ดี ช่วยสร้างองค์ความรู้ สร้างมรดก ทางวัฒนธรรม สร้างรายได้ และสร้างความภาคภูมิใจ |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/293 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560- เทพประวิณ จันทร์แรง.pdf | 3.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.