Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/291
Title: วิเคราะห์แนวคิดและวิถีปฏิบัติปรัชญาไทยตามหลักพระพุทธศาสนา
Other Titles: An Analytical Concept and the way of Thai Philosophy in Buddhism
Authors: นามสง่า, ปัญญา
พระครูปลัดสุวัฒนพุทธคุณ
สุขทรัพย์ทวีผล, สุนทร
สินทับศาล, ภูวเดช
Keywords: วิเคราะห์
แนวคิดและวิถีปฏิบัติ
ปรัชญา
พระพุทธศาสนา
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง วิเคราะห์แนวคิดและวิถีปฏิบัติปรัชญาไทยตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร และการวิจัยภาคสนาม จากการวิจัยพบว่า ปรัชญาไทยเป็นปรัชญาเชิงพุทธ เพราะสังคมไทยใช้หลักพุทธธรรมในการดารงชีวิต ประจาวันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สรุปได้ ๖ ด้าน คือ ด้านอภิปรัชญา ด้านจริยศาสตร์ ด้าน สุนทรียศาสตร์ ด้านสังคม และ ด้านการเมือง แต่เนื่องจากอิทธิพลคาสอนในทางพระ พุทธศาสนามี ลักษณะสอดคล้องกับแนวคิดปรัชญาแบบไทยมากที่สุด บรรพบุรุษจึงได้ยึดแนวพุทธปรัชญาเป็นแนว พัฒนาปรัชญาของตน ระบบปรัชญาไทยสาขาแบ่งออกเป็น ๓ สาขาหลัก คือ อภิปรัชญา ญาณวิทยา และจริยศาสตร์ ประเด็นวัฒนธรรมกับปรัชญาไทย พบว่าวัฒนธรรมเป็นมรดกทางสังคมที่ครอบคลุมทุก อย่างที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นเครื่องกาหนดพฤติกรรมหรือความประพฤติของมนุษย์ใน แต่ละสังคม มีที่มาจากปัจจัยต่างๆ เช่น สิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ระบบการเกษตรกรรม ค่านิยม การเผยแพร่ทางวัฒนธรรม และการนาเข้าวัฒนธรรมอื่นมามาเผยแพร่วัฒนธรรม สังคมไทยเป็นสังคม ที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ซึ่งสั่งสมมาเป็นเวลานานนับพันปี สะท้อนให้เห็นวิถีความเป็นไทย เป็น มรดกของบรรพบุรุษจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของไทย ที่มีคุณค่าควรยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติสืบทอด กันมาช้านาน และเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นชาติไทย วัฒนธรรมจึงครอบงาหมดทุกอย่างที่เกี่ยวกับ ความเจริญ ความดีงาม และจะต้องมีการบารุงส่งเสริมในเรื่องทางจิตใจควบคู่กันไปด้วย แนวคิด ความเชื่อ หลักจริยศาสตร์และประเพณีในปรัชญาไทยตามหลักพระพุทธศาสนา พบว่า ความเชื่อของมนุษย์ได้มีวิวัฒนาการมาจากความเชื่อในธรรมชาติ ความเชื่อในคติถือผีสาง เทวดา ความเชื่อในวิญญาณบรรพบุรุษ และความเชื่อในเทพเจ้าหลายองค์ ส่วนความเชื่อที่พบอยู่ใน สังคมไทยนับแต่โบราณมาจนถึงปัจจุบันนี้ ได้แก่ เรื่อง ไสยศาสตร์และโหราศาสตร์ นอกจากนั้นยังมี ความเชื่อตามหลักพุทธศาสนา คือ เชื่อกฎของกรรม เชื่อผลของกรรม เชื่อในความที่สัตว์มีกรรมเป็น ของของตน และเชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในส่วนประเด็นทางจริยศาสตร์พบว่า พุทธจริยศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยหลักการ ประพฤติความดีในทางพุทธศาสนาที่ประมวลไว้ด้วยเรื่องคาสอนของพระพุทธเจ้า ที่เกี่ยวข้องกับการ กระทา ที่จาเป็นต้องตั้งอยู่บนมูลฐาน กฎเกณฑ์ ที่สอดคล้องและสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับสังคมและ แนวทางการปฏิบัติที่ดีงามรวมถึงอุดมคติสูงสุดของมนุษย์ มนุษยชาติที่เกิดมาย่อมมีหน้าที่และสิทธิ โดยธรรมชาติด้วยกันทุกคน โดยสรุปแล้วมี ๓ ประเภท หน้าที่ต่อตนเอง หน้าที่ต่อผู้อื่นหรือต่อสังคม และหน้าที่ต่อศาสนา ดังปรากฏในหลักคาสอนเรื่องทิศ ๖ หลักปรัชญาประเพณีวัฒนธรรมในสังคมไทย ได้แก่การผสมผสานทั้งลัทธิ ผีสางเทวดา ศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธเข้าด้วยกัน แบ่งออกเป็น ๓ ด้าน คือ ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต ประเพณีเกี่ยวกับสังคม และประเพณีเกี่ยวกับศาสนา คุณค่า ประโยชน์ และสาระสาคัญที่ปรากฏในปรัชญาไทยตามหลักพระพุทธศาสนา พบว่า คุณค่าและประโยชน์ของปรัชญาไทยสรุปเป็น ๔ ด้าน ได้แก่ ปรัชญากาหนดแนวทางในการ ดาเนินชีวิต ปรัชญาสามารถตรวจสอบความเชื่อพื้นฐานของมนุษย์ ปรัชญาช่วยให้เป็นคนมีเหตุมีผล และ ปรัชญาทาให้เข้าใจชีวิตมากขึ้น ปรัชญาไทยที่มีผลต่อประเพณีไทย เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ โดยมีที่มาจากหลายแหล่งกาเนิด เช่น สิ่งแวดล้อมทาง ภูมิศาสตร์และสังคมเกษตรกรรม พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ค่านิยม และการเผยแพร่และการ ยอมรับวัฒนธรรมจากต่างชาติ สาระสาคัญของปรัชญาและอุดมการณ์ มุ่งไปที่การพัฒนาตนเองไปสู่ ความสาเร็จในการดาเนินชีวิต โดยเฉพาะพุทธศาสนามีหลักในการพัฒนาตนเองเป็น ๓ ช่วง ได้แก่ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ และ ปรมัตถะ สาระสาคัญว่าด้วยความจริงของชีวิตตามพุทธปรัชญา พบว่า ชีวิตในพระพุทธศาสนานั้น มีทั้งสมมติสัจจะและปรมัตถสัจจะ การเริ่มต้นชีวิตอาศัยกระบวนการทางปฏิจจสมุปบาท ประกอบด้วยรูปและนาม ที่ทาการขับเคลื่อนไหลเวียนไปตามอานาจหน้าที่ด้วยแรงหมุนของไตรวัฏฏ์ คือ กิเลส กรรม และวิบาก โดยมองเป็นคือชีวิตในมิติแห่งปัจจุบันชาติ และชีวิตในมิติแห่งอนาคตชาติ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/291
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-174 ปัญญา นามสง่า.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.