Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/288
Title: การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเกี่ยวกับข้าวของชาวเกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Other Titles: Rice Culture Changing of Farmers in Northeast of Thailand
Authors: มีโคตรกอง, ประกอบ
Keywords: การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเกี่ยวกับข้าว
ชาวเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Issue Date: 2558
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมข้าวของเกษตรกรใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒) สาเหตุและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมข้าวของเกษตรกรในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ และ ๓) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ขององค์การส่วนท้องถิ่นและภาครัฐในการ ส่งเสริมวัฒนธรรมข้าวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ระหว่างเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จานวน ๓๐ รูป/คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จานวน ๔๐๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ๑. การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมข้าวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาพรวมและ รายด้าน มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงสุดคือ ด้านสาเหตุ ของการเปลี่ยนแปลง ด้านกระบวนการผลิต ด้านคติความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าว ด้านการ แลกเปลี่ยนผลผลิต และด้านที่มีการเปลี่ยนแปลงต่าสุดคือ ด้านความสัมพันธ์ขององค์การส่วนท้องถิ่น และภาครัฐในการส่งเสริมวัฒนธรรมข้าว ๒. สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมข้าวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย ภาพรวมและรายข้อมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงสุดคือ การ ประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเพาะปลูก การเพาะปลูกทาตามขนบธรรมเนียม ประเพณีตลอดจนถึงความเชื่อและค่านิยมที่ชุมชนยึดถือเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ รองลงมา คือ การเพาะปลูกมีการนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้งานในการเกษตร และข้อที่มีการเปลี่ยนแปลงต่าสุด คือ มีการเพาะปลูกโดยใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น เช่น คันไถ ครกกระเดื่อง ๓. ความสัมพันธ์ขององค์การส่วนท้องถิ่นและภาครัฐในการส่งเสริมวัฒนธรรมข้าวของ เกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาพรวมและรายข้อ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับน้อยโดยข้อที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงสุดคือ รัฐบาลได้มีการส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมข้าวแบบดั้งเดิม รัฐบาล ได้มีการประกันราคาข้าวให้กับเกษตรกร รองลงมา คือ รัฐบาลได้มีการเตือนภัยล่วงหน้าสาหรับ เกษตรกร เช่น ฝนแล้ง น้าท่วม และข้อที่มีการเปลี่ยนแปลงต่าสุดคือ รัฐบาลมีการแนะนาและให้ ความรู้เกี่ยวกับการเลือกเมล็ดพันธ์ข้าวที่มีคุณภาพที่เหมาะสมกับดิน ฟ้า อากาศ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/288
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2558-022 ผศ.ประกอบ มีโคตรกอง.pdf5.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.