Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/284
Title: แนวปฏิบัติและกระบวนการสื่อสารวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้ของเครือข่ายพระนักพัฒนา บนพื้นที่สูง: พื้นที่ต้นแบบ สบเมย แม่ลาน้อย ขุนยวม เมืองแม่ฮ่องสอน
Other Titles: The Practical Guidelines and the Learning Process of Cultural Communication of the Highland Buddhist Monk Developer Network: Target Areas in the Districts of Sop Moei, Mae La Noi, Khun Yuam and Muang Maehongson
Authors: ไชยสิทธิ์, วิสุทธิชัย
นิเทศศิลป์, วรวิทย์
Keywords: การสื่อสารวัฒนธรรม
เครือข่าย
พระนักพัฒนา
ชุมชนบนพื้นที่สูง
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๔ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติในการ ประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการสื่อสารวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่ สูงของเครือข่ายพระนักพัฒนา ๒) เพื่อติดตามผลการดาเนินการด้านวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์บน พื้นที่สูงในพื้นที่ต้นแบบ สบเมย แม่ลาน้อย ขุนยวม เมืองแม่ฮ่องสอนของเครือข่ายพระนักพัฒนา ๓) เพื่อวิเคราะห์แนวปฏิบัติของเครือข่ายพระนักพัฒนาและกระบวนการสื่อสารวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้ ของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในพื้นที่ต้นแบบ สบเมย แม่ลาน้อย ขุนยวม เมืองแม่ฮ่องสอนของ เครือข่ายพระนักพัฒนา และ ๔) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ของพื้นที่ต้นแบบ (Model) ในการสื่อสาร วัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้ของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในพื้นที่ต้นแบบ สบเมย แม่ลาน้อย ขุนยวม เมืองแม่ฮ่องสอนของเครือข่ายพระนักพัฒนา เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมี โครงสร้าง(Structured In-Depth Interview) ตัวแทนกลุ่มพระสังฆาธิการหรือพระนักพัฒนาในพื้นที่ ตัวแทนกลุ่มผู้นาชุมชนในพื้นที่ และตัวแทนกลุ่มแกนนาในชุมชนในพื้นที่ จานวน ๒๗ รูป/คน และ การสนทนากลุ่มเพื่อถอดบทเรียน (Lesson Learned Focus Group Discussion) จานวน ๓๐ รูป/ คน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาความ ผลของการศึกษาพบว่า ๑. แนวทางปฏิบัติในการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการสื่อสารวัฒนธรรมเพื่อการ เรียนรู้ที่เหมาะสมกับกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงของเครือข่ายพระนักพัฒนา คือ ทางานเชิงรุกเน้น ธรรมะที่ชาวบ้านสามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวัน เช่น ศีล ๕ การปฏิบัติธรรม ไหว้พระสวดมนต์ เป็น ต้น และการใช้สื่อบุคคลที่เป็นแบบอย่างในชุมชนเป็นตัวอย่าง และเทคโนโลยีช่วยในการเผยแผ่ ๒. ผลการดาเนินการด้านวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในพื้นที่ต้นแบบของ เครือข่ายพระนักพัฒนา คือ ชาวบ้านในชุมชนสามารถอ่าน เขียนภาษาถิ่นได้ดีขึ้น มีความรู้และเข้าใจ หลักธรรมพระพุทธศาสนามากขึ้น ชาวบ้านมีความสามัคคี ประกอบอาชีพสุจริต และสนับสนุน กิจกรรมของอาศรม และชาวบ้านอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมของตนเอง ๓. แนวปฏิบัติและกระบวนการสื่อสารวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้ของเครือข่ายพระ นักพัฒนาบนพื้นที่สูง จะสัมฤทธิ์ผลได้มากน้อยเพียงใดต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบและปัจจัย ดังต่อไปนี้ ๑. ผู้ส่งสาร (Sender): พระนักพัฒนาในพื้นที่ต้องมีความรู้ มีคุณธรรม และมีมนุษยสัมพันธ์ ที่ดีเป็นกัลยาณมิตรต่อผู้รับสาร ๒.สาร (Message): เนื้อหามีสาระที่เป็นประโยชน์และสามารถ นาไปใช้ในการดาเนินชีวิตในชีวิตประจาวัน ๓.ช่องทางสื่อสาร (Channel): สื่อบุคคลและสื่อ เทคโนโลยีต่างๆ ๔. ผู้รับสาร (Receiver): ผู้รับสารที่ดีมีหลักอุบาสกธรรมและปฏิบัติตามหลักกาลาม สูตร ๕. พระนักพัฒนากับกลุ่มชาติพันธุ์ทางานร่วมกันเป็นทีมและเครือข่าย ๔. รูปแบบแนวปฏิบัติและกระบวนการสื่อสารวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้ของเครือข่ายพระ นักพัฒนาบนพื้นที่สูง: พื้นที่ต้นแบบ อาเภอสบเมย อาเภอแม่ลาน้อย อาเภอขุนยวม และเมือง แม่ฮ่องสอน” คือ ใยแมงมุม + ภูเขา + สายน้า ซึ่งมีความหมาย ดังนี้ ใยแมงมุมเป็นสัญลักษณ์ของ การทางานเชื่อมสัมพันธ์เป็นเครือข่ายกัน ภูเขาเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่มีหลากหลาย ชาตุพันธ์ หลายหมู่บ้านบนพื้นที่สูง และสายน้าเป็นสัญลักษณ์ที่การช่วยเหลือเกื้อกูลกันในด้าน การศึกษา สุขอนามัย จิตอาสาและอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นดังสายน้าที่ไหลผ่านไปแต่ละพื้นที่ เพื่อ ความยั่งยืนของคนจังหวัดแม่ฮ่องสอน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/284
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-221วิสุทธิชัย ไชยสิทธิ์ 1.pdf6.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.