Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/282
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วิสารโท, ราเชนทร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-15T14:30:39Z | - |
dc.date.available | 2022-03-15T14:30:39Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/282 | - |
dc.description.abstract | รายงานการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีและรูปแบบการ ดาเนินงานขับเคลื่อนโครงการ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” เพื่อศึกษาสภาพการดาเนินงานและกลไกของ การขับเคลื่อนโครงการ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย และเพื่อเสนอรูปแบบการ ขับเคลื่อนโครงการ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ของคณะสงฆ์ จังหวัดหนองคาย การวิจัยเรื่องนี้ เป็นการ วิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เพื่อประมวลองค์ความรู้ ศึกษาแนวคิด รูปแบบหลักการดาเนินงานและ กลไกของการขับเคลื่อนโครงการ“หมู่บ้านรักษาศีล ๕”ของคณะสงฆ์ จากคัมภีร์ จากเอกสารที่ เกี่ยวข้อง รวมถึงการเก็บข้อมูลเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เช่น การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่ม ย่อย และการจัดเวทีวิชาการของชุมชนต่างๆ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ผลการวิจัยพบว่า ๑. ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและรูปแบบการดาเนินงานขับเคลื่อนโครงการ “หมู่บ้าน รักษาศีล ๕” พบว่า “ศีล” (Morality) หมายถึง ความประพฤติชอบทางกาย และวาจาหรือ เรียกว่า ความเป็นปรกติ คือ ความมีระเบียบวินัยทางกาย และวาจา โดยอาศัยเจตนางดเว้นจึงละบาป คือ อกุศลได้ คือ กายทุจริต วจีทุจริต รูปแบบการดาเนินงานขับเคลื่อนโครงการ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕”คือ รูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคมของปัจเจกบุคคล กลุ่มคน โดยการทากิจกรรมร่วมกันตลอดจนมี เป้าหมายเดียวกัน หรือที่เรียกว่าเครือข่ายทางสังคมนั้น ซึ่งหมายถึงการดาเนินการเพื่อเชิญชวนให้คน ในหมู่บ้านมาร่วมกันรักษาศีล ๕ จะต้องมีการสร้างเครือข่าย เพื่อเชื่อมโยงกลุ่มคนที่สมัครใจจะร่วมกัน รักษาศีล ๕ ภายใต้พื้นฐานของความเคารพสิทธิ เชื่อถือ เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน เพื่อนาไปสู่จุดหมายที่ เห็นพ้องต้องกัน ๒. ศึกษาสภาพการดาเนินงานและกลไกของการขับเคลื่อนโครงการ “หมู่บ้านรักษา ศีล ๕” ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย พบว่า คณะสงฆ์จังหวัดหนองคายได้ดาเนินการขับเคลื่อนหมู่บ้าน รักษาศีล ๕ โดยกรอบแนวคิดแบบวงจรคุณภาพ คือ Plan การวางแผน Do การปฏิบัติงานตามแผน Check การตรวจสอบ และ Action การปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่บกพร่อง (PDCA) สานักงาน พระพุทธศาสนาจังหวัดหนองคาย เป็นแกนหลักในการประสานการขับเคลื่อน โดยความร่วมมือและ ให้การสนับสนุนจากทางคณะสงฆ์จังหวัด ส่วนราชการ สถานศึกษา อาเภอท้องที่ตลอดจนองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นาชุมชนและภาคประชาชนร่วมขับเคลื่อนอย่างบูรณาการและเป็นภาคี เครือข่าย อีกทั้งมีแผนการดาเนินงานและขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบซึ่งเป็นการดาเนินงานในเชิง คุณภาพควบคู่กับการดาเนินงานเชิงปริมาณโดยมีกรอบแนวทางการดาเนินกิจกรรมหลัก ๓ แนวทาง ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาชีวิตตามหลักศีล ๕ กิจกรรมตามวิถีชาวพุทธ และกิจกรรมของหน่วย อบรมประชาชนประจาตาบล (อปต.) ๓. เพื่อเสนอรูปแบบการขับเคลื่อนโครงการ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ของคณะสงฆ์ จังหวัดหนองคาย พบว่า คณะสงฆ์จังหวัดหนองคายร่วมกับสานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดและภาคี เครือข่าย ได้ดาเนินงานขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ โดยใช้ลาดับขั้นบันไดทั้งสาม คือ ปริยัติ หรือเข้าใจข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มีอยู่แล้ว ปฏิบัติ หรือการเข้าถึง เป็นเรื่องการเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย และ ปฏิเวธ หรือการพัฒนาเริ่มต้นด้วยตัวเอง เป็นต้นแบบเผยแพร่ความรู้เพื่อจะทาให้ชุมชนมีความเป็น เจ้าของท้องถิ่นและนาไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาชีวิตตาม หลักศีล ๕, กิจกรรมตามวิถีชาวพุทธ และกิจกรรมของหน่วยอบรมประชาชนประจาตาบล จานวน ๑๔ โครงการ ซึ่งประสบผลสาเรจทังเชิงปริมาณและคุณภาพมีหน่วยงานราชการต้นแบบรักษาศีล ๕, สถานศึกษาต้นแบบรักษาศีล ๕, ที่ทาการกานันต้นแบบรักษาศีล ๕ และที่ทาการผู้ใหญ่บ้านต้นแบบ รักษาศีล ๕ ที่ผ่านการคัดเลือก ซึ่งการคัดเลือกหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบนังน คณะสงฆ์จังหวัด หนองคาย ได้จัดโครงการเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5” หนตะวันออกมีเกณฑ์การคัดเลือก ตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ หมู่บ้านรักษาศีล ๕ หนตะวันออก และส่วนราชการจากกรุงเทพมหานคร ได้พิจารณาคัดเลือกรายชื่อ หมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ จังหวัดละ ๑ หมู่บ้าน และพิจารณาคัดเลือกให้เหลือเพียง ๑ หมู่บ้าน ใน เขตการปกครองของคณะสงฆ์ภาค ๘ ที่มีภาระงานครบตามภาระงาน ๘ ด้าน ๔๐ ตัวชีงวัด เป็นตัวแทน ของเขตปกครองคณะสงฆ์ ซึ่งได้กาหนดให้ วัดจาปาทอง บ้านหนองยางคา อาเภอท่าบ่อ จังหวัด หนองคาย เป็นตัวแทนคณะสงฆ์ภาค 8 ไปร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลงานในงานมหกรรมหมู่บ้าน รักษาศีล 5 ต้นแบบ ระดับประเทศ ระหว่างวันที่ 16-20 กันยายน 2560 ณ วัดไร่ขิง พระอาราม หลวง อาเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | รูปแบบ | en_US |
dc.subject | งานขับเคลื่อน | en_US |
dc.subject | หมู่บ้านรักษาศีล ๕ | en_US |
dc.subject | คณะสงฆ์ | en_US |
dc.title | ศึกษารูปแบบการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕ ” ของคณะสงฆ์ จังหวัดหนองคาย | en_US |
dc.title.alternative | A Study Model Actuation of project "The village five precepts" of Monks in NongKhai province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-121 พระราเชนทร์ วิสารโท.pdf | 3.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.