Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/280
Title: การจัดการนิเวศวิทยาวัฒนธรรมของเครือข่ายวัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์ ในจังหวัดเพชรบูรณ์
Other Titles: Ecological Cultural Management of Network Culture and Ethnic Groups in Phetchabun Province
Authors: ฐิตธมฺโม, พระปลัดพีระพงศ์
กิตฺติปญฺโญ, พระมหาธนกร
Keywords: การจัดการ
นิเวศวิทยาวัฒนธรรม
เครือข่ายวัฒนธรรม
กลุ่มชาติพันธุ์
จังหวัดเพชรบูรณ์
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาระดับความร่วมมือการจัดการนิเวศวิทยา วัฒนธรรมของเครือข่ายวัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อความยั่งยืนทางนิเวศวิทยาวัฒน ธรรมในจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อสร้างรูปแบบการเสริมสร้างเครือข่ายในการจัดการนิเวศวิทยาวัฒนธรรมตามแนวทาง พระพุทธศาสนา ดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งวิจัยในเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การประชุมกลุ่มย่อยร่วมกับองค์กร ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการนิเวศวิทยาวัฒนธรรม ของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน ๔ กลุ่ม ได้แก่ ๑) กลุ่มชาวพื้นเมือง บ้านสะเดียง ตำบล สะเดียง อำเภอเมือง ๒) กลุ่มชาวไทยหล่ม บ้านนาแซง ตำบลนาแซง อำเภอหล่มเก่า ๓) กลุ่มชาวเขา บ้านเข็กน้อย ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ และ ๔) กลุ่มชาวบน บ้านน้ำเลา ตำบลบ้านโคก อำเภอ เมือง ซึ่งได้ทำการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๓๖ รูป/คน แยกเป็น ๑) ผู้นำชุมชน จำนวน ๑๒ คน ๒) ผู้นำด้านนิเวศวิทยาวัฒนธรรม จำนวน ๑๒ คน และ ๓) ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ จำนวน ๑๒ คน การวิจัยครั้งนี้คณะผู้วิจัยได้ศึกษาโดยใช้วิธีพรรณนาวิเคราะห์จากการสัมภาษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ ผลการวิจัยพบว่า การจัดการนิเวศวิทยาวัฒนธรรมของเครือข่ายวัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์ ในจังหวัด เพชรบูรณ์ ดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมส่วนตัวหรือส่วนรวมที่มีผลต่อ ความยั่งยืนทางนิเวศวิทยาวัฒนธรรม เพราะแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ต่างก็อาศัยป่าไม้เป็นหลัก นับตั้งแต่ ข การตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัย การดำรงชีพด้วยการหาของป่า การปลูกพืชพันธุ์ต่าง ๆ จนเกิดเป็นความเชื่อ ที่นับถือธรรมชาติหรือสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ที่สถิตอยู่ในที่นั้น ๆ ทำให้เกิดมีการบูชา จนกลายมา เป็นประเพณีและค่านิยมที่จะต้องยึดถือปฏิบัติเป็นประจำทุกปี หากปีใดไม่ได้ดำเนินการจะทำให้คน ในหมู่บ้านหรือในชุมชนเกิดความไม่สบายใจ เมื่อถึงเวลาที่กำหนดทุกคนในหมู่บ้านจะร่วมมือกันทำ ด้วยความเต็มใจ เพื่อให้เกิดเป็นศิริมงคลหรือความดีงามแก่ชุมชน ซึ่งอาจได้รับการแนะนำ ชี้แนะหรือ ความร่วมมือจากพระสงฆ์และหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งอยู่ ใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุด จะต้องสร้างความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมแก่ชุมชน เพื่อให้ชาวบ้านอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืนตลอดไป ข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาแบบเจาะลึกเกี่ยวกับนวัตกรรมการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำว่า มี ลักษณะเป็นอย่างไร และมีนวัตกรรมอะไรใหม่ ๆ ที่ช่วยในการอนุรักษ์ได้บ้าง ศึกษาพฤติกรรมการ อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันส่งผลต่อการพัฒนาระบบนิเวศวิทยาของแต่ละท้องถิ่น ศึกษาการ สร้างเครือข่ายในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำ แผนแม่บทการพัฒนาท้องถิ่นควรทำ ศึกษาด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ด้านการอนุรักษ์ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถนำถ่ายทอดเป็นเทคนิค วิธีการ และกระบวนการ ควรนำ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเข้าไปเสริมสร้างเครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนทางนิเวศวิทยาวัฒนธรรมในจังหวัดเพชรบูรณ์
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/280
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-271พระปลัดพีระพงศ์ ฐิตธมฺโม, ดร.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.