Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/279
Title: สุขภาวะพระสงฆ์: การพัฒนารูปแบบสุขภาวะตามแนววิถีพุทธโดยการบูรณาการสาธารณสุขเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของจังหวัดเชียงราย
Other Titles: Buddhist Monk’s Well-being: Development of a Buddhist Based Well-being Promotion Model By Community Public Health Integration for Good Life Quality in Chiang Rai province
Authors: สุวรรณาภา, ฉวีวรรณ
จิรภัคพงค์, ชลธิชา
สุนันตา, ปัญญา
โกศัยพัฒนบัณฑิต, พระครู
Keywords: สุขภาวะพระสงฆ์
การพัฒนา
รูปแบบสุขภาวะตามแนววิถีพุทธ
คุณภาพชีวิตที่ดี
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของการเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ และเพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะของ พระสงฆ์ตามแนววิถีพุทธในการบูรณาการสาธารณสุขชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของจังหวัดเชียงราย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผสมผสานทั้งวิจัยในเชิงเอกสารและการวิจัยใน ภาคสนาม ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ รองเจ้าคณะอาเภอเวียงชัย รองเจ้าคณะอาเภอ เวียงชัย เจ้าอาวาสวัดพนาลัยเกษม พระสงฆ์ ผู้นาชุมชน ผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่มย่อย ได้แก่ พระสงฆ์ ตัวแทนชุมชน ประธานชุมชน ผู้อานวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจาตาบล ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน และส่วนงานที่เกี่ยวข้องจานวน ๒๐ รูป/คน เครื่องมือ ที่ใช้การวิจัยเป็นแบบการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มย่อย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ เนื้อหาพิจารณาประเด็นหลักและประเด็นย่อย พบว่า ๑. ปัญหาของการเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ตามแนววิถีพุทธในการบูรณาการ สาธารณสุขชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของจังหวัดเชียราย คือ ปัญหาสุขภาวะของพระสงฆ์ไม่เป็นไป ตามเกณฑ์มาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข ปัญหาด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง ปัญหาขาดการออกกาลังกาย ปัญหาการดูแลสุขภาพด้วยตนเองอย่างสม่าเสมอ และปัญหาด้านการ จัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ ๒. รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ตามแนววิถีพุทธในการบูรณาการ สาธารณสุขชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของพระสงฆ์จังหวัดเชียงราย มีรูปแบบในการเสริมส ร้างสุข ภาวะตามแนวพุทธ ได้แก่ หลักการ ๔ คือ ๑) ส่งเสริม ๒) ป้องกัน ๓) รักษา ๔) ฟื้นฟู และวิธีการ ๖ คือ หลักการปฏิบัติตาม ๖ อ. ได้แก่ อาหาร อารมณ์ อากาศ อนามัย อโรคยา และออกจากอบายมุข ๓. การพัฒนารูปแบบการการเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ตามแนววิถีพุทธในการ บูรณาการสาธารณสุขชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของจังหวัดเชียงราย คือ หลักการ ๔ กับพุทธบูรณา การภาวนา ๔ คือ ๑) หลักการส่งเสริม คือ การใช้หลักกายภาวนา ๒) หลักการป้องกัน คือ การใช้ หลักศีลภาวนา ๓) หลักการรักษา คือการใช้หลักจิตตภาวนา ๔) หลักการฟื้นฟู คือการใช้ปัญญา ภาวนา ๔. องค์ความรู้ที่ได้ พบว่า การบูรณาการ หลักภาวนา ๔ หลักการเสริมสร้างสุขภาพกายสุขภาพใจของพระสงฆ์ ๔ แนวทาง และหลักวิธีการ ๖ อ. สามารถนาไปใช้กับการสร้างเสริมสุขภาวะของพระสงฆ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนาไปบูรณาการกับสาธารณสุขชุมชน สาธารณสุขมูลฐานของกระทรวงสาธารณสุขได้อย่างเต็มศักยภาพ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/279
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-152 ฉวีวรรณ สุวรรณาภา.pdf3.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.