Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/278
Title: รัฐศาสตร์วัฒนธรรม: แนวคิด หลักการและกระบวนทัศน์ เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย
Other Titles: Cultural Politics: Concept Principle and Paradigm for Democratic Development
Authors: ขนฺติธโร, เดชขจร
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดรัฐศาสตร์วัฒนธรรม ซึ่งเป็นแนวคิดที่เอื้อต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยไทย เพราะรัฐศาสตร์วัฒนธรรมมีผลต่อโครงสร้างและพฤติกรรมทางการเมือง ของประชาชน งานวิจัยนี้เป็นการค้นคว้าหาความรู้แบบคุณภาพและมีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือเพื่อศึกษาแนวคิด หลักการและกระบวนทัศน์รัฐศาสตร์วัฒนธรรมเป็นประการแรก ประการต่อมาเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของรัฐศาสตร์วัฒนธรรมกับการพัฒนาประชาธิปไตยในสังคมไทย และประการสุดท้ายก็เพื่อวิเคราะห์กระบวนทัศน์ทางรัฐศาสตร์วัฒนธรรมกับการพัฒนาประชาธิปไตย จากผลการวิจัยพบว่า แนวคิดรัฐศาสตร์วัฒนธรรมเป็นแนวคิดที่สามารถมองผ่านมิติเชิงวัฒนธรรมที่ได้รับการตีค่าจากสังคมทั้งที่เป็นกิจกรรมหลักและกิจกรรมย่อยของมนุษย์ ซึ่งความเชื่อในระบอบประชาธิปไตยก็เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สังคมพิสูจน์ได้แล้วว่า สามารถช่วยหล่อหลอมประชาชนในรัฐให้ดารงชีวิตอยู่ด้วยความสงบสุขมากที่สุด กระบวนทัศน์นี้จะช่วยเพิ่มบทบาทของคนชายขอบให้มีอานาจในการต่อรองกับภาครัฐมากขึ้นในยุคหลังสมัยใหม่ทุกวันนี้ กลุ่มคนชายขอบทุกกลุ่มทั้งที่เป็นคนต่างเชื้อชาติ คนรักร่วมเพศ หรือคนลี้ภัยสงคราม เป็นอาทิ สมควรยิ่งแล้วที่รัฐควรจะคานึงถึงให้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายด้านมนุษยธรรมที่รัฐจะต้องให้การสนับสนุน จากนั้นรัฐก็สามารถที่จะพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นลาดับต่อไปได้ ด้วยตรรกะที่สมเหตุสมผลเช่นนี้ ดังนั้นจึงถือได้ว่าความสัมพันธ์ของแนวคิดรัฐศาสตร์วัฒนธรรมกับการพัฒนาประชาธิปไตยนั้นสามารถพัฒนาควบคู่ไปด้วยกันได้ การดารงชีวิตภายใต้แนวคิดรัฐศาสตร์วัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยในยุคหลังสมัยใหม่นี้จะต้องได้รับการศึกษาด้านการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้องเพื่อเสริมสานึกในการปกครอง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยวิธี “ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือหรือถกแถลง” เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ดีที่สุดที่จะสามารถพัฒนาคุณภาพประชาธิปไตยของไทยให้สูงขึ้น เพื่อการเป็น “อภิวัฒน์พลเมือง” ตามครรลองประชาธิปไตยสากล ในโอกาสที่ดีเช่นนี้ ผู้วิจัยใคร่ขอแนะนาให้ชนชั้นนาเปิดใจรับฟังมุมมองที่แตกต่างของคนชายขอบให้มากขึ้น ชนชั้นกลางก็แบ่งปันความเข้าใจหลักประชาธิปไตยที่สร้างสรรค์ให้กับชนชั้นล่าง ส่วนชนชั้นล่างก็ต้องตื่นตัวและฉกฉวยโอกาสที่จะเข้าถึงการเป็นผู้มีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการเมืองไทยให้เข้มแข็งสืบไป
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/278
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-142 พระเดชขจร ขนฺติธโร.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.