Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/277
Title: การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม ของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริต 3
Other Titles: Cooperate Social Responsibilies Promotion of Local Politicians by Three Good Conduct
Authors: วังฝายแก้ว, คนอง
Keywords: การเสริมสร้าง
ความรับผิดชอบต่อสังคม
นักการเมืองท้องถิ่น
สุจริต 3
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลัก สุจริต 3 ในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และวิเคราะห์ นโยบาย กลไก และ กระบวนการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสุจริต 3 ของนักการเมืองท้องถิ่น และเพื่อ ศึกษาปัญหา อุปสรรคการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริต 3 ผู้วิจัยได้ดาเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากประชากรผู้ให้ข้อมูลสาคัญการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ พระภิกษุจานวน5 รูป ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จานวน 9 คน คือ นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตาบล รวมทั้งหมด 14 รูป/คน ที่อยู่ในเขตพื้นที่อาเภอเมืองพะเยา และ อาเภอแม่ใจ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ดาเนินการโดยการนาข้อมูลที่รวบรวมได้จากวิธีการ เก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ มาจัดหมวดหมู่ แยกประเด็น และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. นโยบาย กลไก และ กระบวนการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลัก สุจริต 3 ของนักการเมืองท้องถิ่น นโยบายการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของภาครัฐ ที่ มุ่งเน้นการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ส่งผลให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นต้องดาเนินนโยบายเพื่อ ให้บริการสาธารณะตามพันธกิจ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาสังคม การศึกษา และวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การรักษาความมั่นคงและรักษาความ สงบเรียบร้อย และการบริหารจัดการ ส่วนกลไกในการขับเคลื่อนในการเสริมสร้างความรับผิดชอบ ของนักการเมืองท้องถิ่น ประกอบด้วย แผนพัฒนา 3 ปี แผนพัฒนา 4 ปี หรือแผนพัฒนาท้องถิ่น โดย มีโครงการเป็นตัวขับเคลื่อนตามพันธกิจทั้ง 5 ด้าน การจัดทาโครงการ การดาเนินงานตามโครงการ การวิเคราะห์ผลการดาเนินงาน และการติดตามและประเมินผลการดาเนินงาน ดาเนินโครงการโดย บุคลากรขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน เครือข่ายภาคประชาชน สถาบันทางสังคมทุกภาคส่วน ดาเนินกิจกรรมผ่านวัฒนธรรมท้องถิ่น และวัฒนธรรมองค์กร ส่งผลต่อ การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริต 2. นโยบาย กลไก และการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นกับความรับผิดชอบ ต่อสังคมตามหลักสุจริต การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลัก สุจริต 3 การดาเนินนโยบายภายใต้กลไกในการขับเคลื่อนกระบวนการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อ สังคม ดาเนินการโดยบุคลากรขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตามพันธกิจขององค์กร 5 ด้าน ด้วยการ ข กาหนดนโยบายเชิงจริยธรรม จัดทาแผนพัฒนาตามนโยบายที่กาหนด ตามอานาจหน้าที่ขององค์การ บริหารส่วนท้องถิ่น และหน้าทีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน เครือข่ายภาคประชาชน และสถาบันทางสังคม ผ่านกระบวนการทาประชาสังคม การดาเนินงาน กิจกรรมหรือโครงการบนพื้นฐานของวัฒนธรรมองค์กรและวัฒนธรรมท้องถิ่น 3. ปัญหา อุปสรรคการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่น ตามหลักสุจริต ปัญหา อุปสรรคการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักการเมืองท้องถิ่นแยก ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มสภาพปัญหาด้านกายสุจริต ประกอบด้วยลักษณะจานวน 8 ประการ ได้แก่ แหล่งบันเทิงมาก ขาดงบประมาณในการส่งเสริมสนับสนุนด้านจริยธรรม ความไม่ โปร่งใส ไม่ปฏิบัติตามกติกา การใช้เงินในการเข้าสู่อานาจ การทุจริตคอร์รัปชั่น ขาดการกลั่นกรอง บุคลากร และนายกเทศมนตรีมีอานาจมากเกินไป กลุ่มที่ 2 กลุ่มสภาพปัญหาวจีสุจริต ประกอบด้วย ลักษณะจานวน 6 ประการ ได้แก่ ขาดความร่วมมือในองค์กร ไม่สามารถดาเนินการตามพันธะกิจ ขาดต้นแบบของภาวะผู้นาทางจริยธรรมการซื้อสิทธิขายเสียงในท้องถิ่น ระบบอุปถัมภ์ นักการเมืองไม่ เป็นแบบที่ดี และนักการเมืองไม่เป็นแบบอย่างที่ดี และกลุ่มที่ 3 กลุ่มสภาพปัญหาด้านมโนสุจริต ประกอบด้วยลักษณะจานวน 9 ประการ ได้แก่ ปัญหาไม่ให้ความสาคัญต่อจริยธรรม ขาดระบบในการ พัฒนา การเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัฒน์ ขาดจิตสานึกต่อหน้าที่ วัฒนธรรมพวกพ้อง ปัญหาความเห็น แก่ประโยชน์ตน ขาดการส่งเสริมในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ขาดความรู้ด้านจริยธรรม และขาด ภาวะผู้นาที่ดี
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/277
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-072 คนอง วังฝายแก้ว.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.