Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/274
Title: รูปแบบการสร้างสุขในผู้สูงอายุตามแนววิถีพุทธบริบทวัฒนธรรมอีสาน
Other Titles: The Model of Happiness Development In the Elderly Persons According to Buddhist Way in Isan Cultural Context
Authors: วิภัชชวาที, สรัญญา
โสภณพัฒนบัณฑิต, พระ
ครูภาวนาโพธิคุณ, พระ
Keywords: รูปแบบ
การสร้างสุข
ผู้สูงอายุ
วิถีพุทธ
วัฒนธรรมอีสาน
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่องรูปแบบการสร้างสุขในผู้สูงอายุตามแนววิถีพุทธในบริบทวัฒนธรรมอีสาน ครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจาก พระไตรปิฎก เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาแนวคิดผู้สูงอายุ ความสุข การสร้างสุขภาวะ และการมีส่วนร่วมตามแนววิถีพุทธบริบทวัฒนธรรมอีสาน, (๒) ศึกษาสุขภาวะองค์ รวมและความสุขตามแนววิถีพุทธของผู้สูงอายุในชุมชนสาวะถี, และ (๓) ศึกษารูปแบบการสร้างสุขใน ผู้สูงอายุตามแนววิถีพุทธในบริบทวัฒนธรรมอีสานของชุมชนสาวะถี ตาบลสาวะถี อาเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ดาเนินการวิจัยตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ – ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๑ ผลการวิจัยพบว่า ๑. แนวคิดผู้สูงอายุ ความสุข การสร้างสุขภาวะและการมีส่วนร่วมตามแนววิถีพุทธและ วัฒนธรรมอีสาน พบว่า ผู้สูงอายุเป็นบุคคลทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป เป็นผู้ที่ มีความเสื่อมถอยทางร่างกายอย่างต่อเนื่องจนอยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิต ส่งผลกระทบต่อจิตใจ การ งาน และหน้าที่ทางสังคม สาหรับความสุขของผู้สูงอายุตามแนววิถีพุทธนั้นเน้นความสุขทางใจเป็น สาคัญ เป็นความสุขที่เกิดขึ้นได้จากความสงบ ความปลอดโปร่ง ความรู้แจ้งตามสภาพความเป็นจริง ความปล่อยวางในสิ่งต่างๆ และความไม่อิงอาศัยวัตถุ เป็นนิรามิสุขหรือความสุขที่แท้จริง ส่วนสุข ภาวะตามแนววิถีพุทธเป็นการดูแลชีวิตแบบองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ปัญญา และสังคม สิ่งแวดล้อม ให้มีความดีความงามและความสมดุล บรรเทาความทุกข์ทรมานจากโรคที่เป็นอยู่ทั้งทาง กายและทางใจ โดยนาหลักไตรสิกขาอันประกอบด้วยศีล สมาธิ และปัญญามาเป็นแนวทาง สาหรับ การมีส่วนร่วมของเครือข่ายเพื่อการพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายนั้นต้องโดยอาศัยหลักธรรม ๕ ประการ ได้แก่ อุดมการณ์พระโพธิสัตว์ พรหมวิหาร ๔ สังคหะวัตถุ ๔ สาราณียธรรม ๖ และสัปปุริสธรรม ๗ ส่วนบริบทวัฒนธรรมอีสานที่มีความสัมพันธ์กับความสุขตามแนววิถีพุทธของผู้สูงอายุนั้น ได้แก่ ความ เชื่อเกี่ยวกับความเจ็บป่วย ความช่วยเหลือในวาระสุดท้าย ฮีต ๑๒ คอง ๑๔ และคะลา การสะเดาะ เคราะห์ต่ออายุ การสวดมนต์บาบัดทุกข์ และหมอพื้นบ้านของชุมชนสาวะถี ๒. สุขภาวะองค์รวมและความสุขตามแนววิถีพุทธของผู้สูงอายุในชุมชนสาวะถี ในช่วง ก่อนการพัฒนาตามโครงการวิจัย พบว่า สุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง ( X = ๓.๓) เมื่อจาแนกเป็นรายด้าน พบว่า สุขภาวะด้านปัญญาอยู่ในระดับมาก รองลงมาเป็นสุข ภาวะด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านร่างกาย ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงตามลาดับตามค่าเฉลี่ย ( X = ๓.๔๒, X = ๓.๒๒, และ X = ๓.๑๒) เมื่อวิเคราะห์ความสุขตามแนววิถีพุทธของผู้สูงอายุชุมชน สาวะถี พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความสุขอยู่ในระดับมาก โดยคะแนนเฉลี่ย ( X ) เท่ากับ ๓.๕๖ ๓. รูปแบบการสร้างสุขในผู้สูงอายุตามแนววิถีพุทธบริบทวัฒนธรรมอีสานของชุมชน สาวะถี ตาบลสาวะถี อาเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น พบว่า เครือข่ายในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา รูปแบบทั้ง ๔ ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนพัฒนา การปฏิบัติตามแผน การ ประเมินผล และการสะท้อนกลับเพื่อการพัฒนา โดยเครือข่ายได้ร่วมกันกาหนดภารกิจในการสร้างสุข แก่ผู้สูงอายุตามแนววิถีพุทธบริบทวัฒนธรรมอีสาน และได้เสนอให้จัดทาโครงการเพื่อการพัฒนา รูปแบบการสร้างสุขในผู้สูงอายุตามแนววิถีพุทธบริบทวัฒนธรรมอีสาน จานวน ๒ โครงการ คือ (๑) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเผชิญความชราและความตายอย่างมีความสุขตามแนววิถีพุทธบริบท วัฒนธรรมอีสาน, และ (๒) โครงการเยี่ยมบ้านตามแนววิถีพุทธแก่ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียง โดยใช้เวลาในการดาเนินโครงการทั้งสิ้น ๖ เดือน ภายหลังเสร็จสิ้นโครงการวิจัย พบว่า สุขภาวะองค์รวมและความสุขตามแนววิถีพุทธ ของผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น โดยก่อนดาเนินการพัฒนาตามโครงการวิจัยผู้สูงอายุมีสุขภาวะองค์รวมใน ระดับปานกลาง และมาก คิดเป็นร้อยละ ๖๕.๐๐, และ ๓๕.๐๐ ตามลาดับ ภายหลังเสร็จสิ้น โครงการวิจัยผู้สูงอายุมีสุขภาวะองค์รวมดีขึ้น อยู่ในระดับมาก ปานกลาง และมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๐, ๓๐.๐๐ และ ๒๐.๐๐ ตามลาดับ สาหรับการประเมินความสุขตามแนววิถีพุทธนั้น พบว่า ก่อนดาเนินการวิจัยผู้สูงอายุมีความสุขอยู่ในระดับปานกลางและมาก คิดเป็นร้อยละ ๗๕.๐๐ และ ๒๕.๐๐ ตามลาดับ ภายหลังเสร็จสิ้นโครงการวิจัยผู้สูงอายุมีเพิ่มขึ้นอยู่ ในระดับมาก ปานกลาง และ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๖๕.๐๐, ๓๐.๐๐ และ ๕.๐๐ ตามลาดับ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/274
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-074 สรัญญา วิภัชชวาที.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.