Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/273
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุขเหลือง, กียรติศักดิ์-
dc.contributor.authorสุขสถิตย์, เบญจมาศ-
dc.contributor.authorวชิรปญฺโญ, พระครูปลัดวัชรพงษ์-
dc.contributor.authorเสมอเชื้อ, วโรดม-
dc.contributor.authorสิงห์มณี, ชมพูนุท-
dc.date.accessioned2022-03-15T09:47:22Z-
dc.date.available2022-03-15T09:47:22Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/273-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๔ ประการคือ เพื่อ ๑) สำรวจสถานการณ์สุขภาวะตามการรับรู้ของพระสงฆ์ในจังหวัดน่าน ๒) ประเมินความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติของพระสงฆ์ต่อการป้องกันกลุ่มอาการอ้วนลงพุงในพระสงฆ์ ๓) ศึกษาแนวทางในพัฒนาหลักสูตรอบรมวิทยากรพระธรรมทูตสุขภาวะเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะและป้องกันกลุ่มอาการอ้วนลงพุงในพระสงฆ์ และ ๔) พัฒนาต้นแบบวิทยากรพระธรรมทูตสุขภาวะเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะและป้องกันกลุ่มอาการอ้วนลงพุงในพระสงฆ์จังหวัดน่าน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย พระสงฆ์จังหวัดน่านจำนวน 193 รูป และมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก 10 รูป/คน และสนทนากลุ่มเฉพาะ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า ๑. สถานการณ์สุขภาวะตามการรับรู้ของพระสงฆ์ในจังหวัดน่าน พบว่า พระสงฆ์มีการเปลี่ยนแปลงของสุขภาวะ โดยเฉพาะสุขภาวะทางกาย มีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการส่งเสริมสุขภาวะและป้องกันการเกิดโรค เพื่อให้พระสงฆ์ดำรงไว้ซึ่งสุขภาวะที่ดี อันจะนำมาซึ่งความสามารถในการทำนุบำรุง ส่งเสริม และเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้มั่นคงและยั่งยืน ๒. ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติของพระสงฆ์ต่อการป้องกันกลุ่มอาการอ้วนลงพุงในพระสงฆ์ พบว่า พระสงฆ์ส่วนใหญ่มีความรู้ และทัศนคติอยู่ในระดับดี แต่มีการปฏิบัติเพื่อป้องกันกลุ่มอาการอ้วนลงพุงอยู่ในระดับปานกลาง ๓. แนวทางในพัฒนาหลักสูตรอบรมวิทยากรพระธรรมทูตสุขภาวะเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะและป้องกันกลุ่มอาการอ้วนลงพุงในพระสงฆ์ พบว่า การอบรมควรประกอบด้วย ๕ องค์ประกอบได้แก่ ๑) ความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาวะในพระสงฆ์ รวมถึงสถานการณ์สุขภาวะและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของพระสงฆ์ และความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติของพระสงฆ์ที่ผ่านมาต่อการป้องกันกลุ่มอาการอ้วนลงพุง ๒) หลักทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันกลุ่มอาการอ้วนลงพุง ๓) ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนลงพุงและพฤติกรรมสุขภาพที่ควรปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมโรคอ้วนลงพุง ๔) กรณีตัวอย่างการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเกิดโรคอ้วนลงพุง และ ๕) ต้นแบบธรรมบรรยายเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอ้วนลงพุงในพระสงฆ์ ๔. การพัฒนาต้นแบบวิทยากรพระธรรมทูตสุขภาวะเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะและป้องกันกลุ่มอาการอ้วนลงพุงในพระสงฆ์จังหวัดน่าน พบว่า ในระยะแรกต้นแบบวิทยากรพระธรรมทูตสุขภาวะเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะและป้องกันกลุ่มอาการอ้วนลงพุงในพระสงฆ์จังหวัดน่าน จะต้องมีคุณลักษณะคือ ๑) มีความสนใจในการส่งเสริมสุขภาวะ ๒) มีความสามารถในการแสดงพระธรรมเทศนา 3) เป็นตัวแทนของพระในแต่ละวัดในจังหวัดน่าน และ 4) ยินดีเข้าร่วมในการอบรม โดยในการอบรมเชิงปฏิบัติการมีพระธรรมทูตเข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 40 รูป ภายหลังได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการแล้ว พระวิทยากรพระธรรมทูตสุขภาวะได้แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มเพื่อทำการพัฒนาพระธรรมเทศนาที่เน้นคำสอนเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการอ้วนลงพุงที่พุทธศาสนิกชนและพระสงฆ์สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติได้en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาต้นแบบวิทยากรพระธรรมทูตสุขภาวะen_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาวะen_US
dc.subjectป้องกันกลุ่มอาการอ้วนลงพุงen_US
dc.subjectพระสงฆ์จังหวัดน่านen_US
dc.titleการพัฒนาต้นแบบวิทยากรพระธรรมทูตสุขภาวะเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะและป้องกันกลุ่มอาการอ้วนลงพุงในพระสงฆ์จังหวัดน่านen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Health related Buddhist Missionaries Model to Promote Health and Well-being and to Prevent Metabolic Syndromes among Buddhist Monks in Nan Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.