Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/272
Title: การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอาเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก
Other Titles: The development of the way of ecology traveling in Neanmaprang Distric Phltsanulok province
Authors: พระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณ
Keywords: การพัฒนา
การท่องเที่ยว
เชิงนิเวศ
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัย เรื่อง “การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอาเภอเนินมะปราง จังหวัด พิษณุโลก” มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในอาเภอเนินมะปราง จังหวัด พิษณุโลก ๒) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศของอาเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และเสนอยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อาเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้วิจัยได้มุ่งเน้นศึกษาการ พัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูล สาคัญ (Key Informants) ซึ่งเป็นตัวแทนชุมชน หน่วยงานภาครัฐ พระสงฆ์ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับแหล่งท่องเที่ยวในอาเภอเนินมะปรางจานวน ๓๘ ท่าน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) กับผู้เกี่ยวข้อง จานวน ๑๐ ท่าน ผลการวิจัยพบว่า ๑. เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในอาเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า อาเภอ เนินมะปราง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติ และมีแหล่งวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่ เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ ตลอดเส้นทางท่องเที่ยวในอาเภอเนินมะปรางมีสิ่งที่น่าสนใจ และมี ความสาคัญเหมาะสมที่จะเป็นสถานที่เรียนรู้ในเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เช่น ต้นไม้ ภูเขาหินปูน ที่สวยงาม และทุ่งนาที่เขียวขจีสวยงามมาก เป็นสิ่งดึงดูดทางนักท่องเที่ยว มีทัศนียภาพของภูมิทัศน์ ธรรมชาติของแหล่งท่องเที่ยวที่มี ความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความอุดมสมบูรณ์ของ ทรัพยากรธรรมชาติ เส้นทางคมนาคมเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวนั้นมีการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวมีความ ปลอดภัย ๒. การพัฒนาเส้นทางแหล่งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของอาเภอเนินมะปราง จังหวัด พิษณุโลก พบว่า ต้องพัฒนาทางด้านสิ่งอานวยความสะดวก ด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านกิจกรรมการ ท่องเที่ยว ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ด้านการตลาดการประชาสัมพันธ์ ด้านการสรรหา บุคลากร การสร้างความตระหนักในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชนยังคงต้องการช่วยเหลือ ข สนับสนุนเพื่อจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน จากหน่วยงานภายนอกพื้นที่ มีการประชุมระดมความ คิดเห็นเพื่อจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน มุ่งส่งเสริมให้พัฒนาให้เป็นการ ท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ ไม่ใช่พยายามเพิ่มปริมาณของนักท่องเที่ยวแต่เพียงอย่างเดียว ๓. การส่งเสริมแหล่งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของอาเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวมากขึ้น สนับสนุนการมี ส่วนร่วมของคนในชุมชนต่อกิจกรรมการท่องเที่ยว ให้คนส่วนใหญ่เข้ามามีส่วนร่วมในทุกด้าน ไม่ว่าจะ เป็นด้านการวางแผนจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชน ด้านการดูแลรักษาทรัพยากร ด้านการรักษา วัฒนธรรมท้องถิ่น ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว และการจัดตั้งองค์กรเพื่อการอนุรักษ์ของชุมชน สรรหา บุคลากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เพื่อนามาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหาร จัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดแหล่งท่องเที่ยวให้แก่คนในชุมชน อย่างเป็นระบบพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และด้านการการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศตามเกณฑ์ มาตรฐานให้ท่องเที่ยวให้มีความหลากหลาย
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/272
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-267พระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณ.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.