Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/268
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorโอบอ้อม, สุทธญาณ์-
dc.date.accessioned2022-03-15T09:37:34Z-
dc.date.available2022-03-15T09:37:34Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/268-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาจิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียนในจังหวัดนครปฐม ๒) เพื่อพัฒนาจิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียนด้วยเชิงพุทธในจังหวัดนครปฐม ๓) เพื่อวิเคราะห์การเสริมสร้างจิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียนในจังหวัดนครปฐม โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ(Empirical Analysis) โดยใช้การศึกษาวิจัยเชิงสารวจ จากกลุ่มตัวอย่าง ๓๕๘ มีวิธีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม เพื่อศึกษาจิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียนในจังหวัดนครปฐมในด้านกายภาวนา ด้านศีลภาวนา ด้านจิตภาวนา และด้านปัญญาภาวนา ผู้วิจัยจึงทาการศึกษาข้อมูลไปสู่การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบปฏิบัติการ โดยมีวิธีการเก็บข้อมูลด้วยโครงการกิจกรรม ทั้ง ๔ กิจกรรม เพื่อพัฒนาจิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียนด้วยเชิงพุทธในจังหวัดนครปฐมและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ๑๕ รูป/คน เพื่อวิเคราะห์การเสริมสร้างจิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียนในจังหวัดนครปฐม เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วนามาประมวลผลเพื่อวิเคราะห์ ผลวิจัยพบว่า ๑. จิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียนในจังหวัดนครปฐมต้องมีพื้นฐานจิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียน ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จานวน ๒๑๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๑.๒ และระดับการศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จานวน ๒๔๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๗.๓ สาหรับพื้นฐานจิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียนในจังหวัดนครปฐม พบว่า จิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียนในจังหวัด ข นครปฐมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X = ๔.๑๖๗, S.D =๐.๖๒๕) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ๒. การพัฒนาจิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียนด้วยเชิง พุทธในจังหวัดนครปฐม โดยใช้หลักภาวนา ๔ คือ ๑) ด้านกายภาวนา การพัฒนาทางกายหรือสุขภาพ เช่น การออกกาลังกาย การดูแลสุขภาพด้วยความเพียร ความวิริยะอุตสาหะ ไม่ท้อถอยเมื่อเวลา ประสบปัญหา รวมถึงการเคารพกติกา เคารพกฎหมาย ใช้กติกาในการแก้ไขปัญหามากกว่าการใช้ กาลัง และยอมรับผลของการละเมิดกฎหมาย รวมถึงการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย ประพฤติใน สิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อผู้อื่น และต่อสังคม ๒) ด้านศีลภาวนา การพัฒนาด้านความประพฤติ การ ตั้งอยู่ในระเบียบวินัย และการเคารพความแตกต่าง พัฒนาทักษะในการฟัง และการยอมรับความ คิดเห็นที่แตกต่างจากตนเอง และยังเป็นการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น และสังคมอย่างเกื้อกูล ไม่ เบียดเบียนรวมถึงเคารพในความเสมอภาพ เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนอื่น ความเท่าเทียม กัน ๓) ด้านจิตภาวนา เป็นการพัฒนาจิตใจให้มีความพร้อมทั้งในด้านคุณธรรม เช่น ความ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเพียรพยายาม ความรับผิดชอบ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ด้าน คือ ด้านคุณภาพจิต เป็นการสร้างและพัฒนาให้นักเรียนมีคุณธรรมเป็นการสร้างเสริมด้านจิตใจให้ดีงาม เป็นเกราะปูองกัน สิ่งยั่วยุจากสภาพแวดล้อม สังคม ทั้งยังมีจิตใจที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีสัมมาคารวะ นอบน้อมกับผู้ หลักผู้ใหญ่ เคารพสิทธิ ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ด้านสมรรถภาพจิต เป็นการสร้างให้นักเรียนมี จิตใจ มีความสามารถ มีสติ มีความเพียร ความอดทน มีความเชื่อมั่นในคุณลักษณะความเป็นพลเมือง ที่ดี และด้านสุขภาพจิต เป็นการสร้างให้จิตใจมีสุขภาพดี โดยการตระหนักว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของ สังคม กระตือรือร้นที่จะรับผิดชอบในหน้าที่ของพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียนโดยการ ตระหนักว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม กระตือรือร้นที่จะรับผิดชอบในหน้าที่ของพลเมืองที่ดีใน สังคมประชาธิปไตยของนักเรียน ๔) ด้านปัญญาภาวนา การฝึกและพัฒนาในการรับรู้ การเรียนรู้ผ่าน การรู้จัก วินิจฉัย ไตร่ตรองผ่านเหตุและผล พึ่งตนเองและรับผิดชอบตนเองได้ ไม่อยู่ภายใต้การ ครอบงาของระบบอุปถัมภ์ ไม่บิดเบือนและเอนเอียงด้วยอคติ โดยการคานึงถึงผลประโ ยชน์ของ ส่วนรวม และจิตใจมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน ๓. การเสริมสร้างจิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียนใน จังหวัดนครปฐม ควรเสริมสร้างจิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียนใน จังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย บ-ว-ร-ส ๑) บ – บ้าน หรือครอบครัว ๒) ว – วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ ของประชาชน ๓) ร – โรงเรียนรวมถึงครูอาจารย์ ๔) ส – สังคม สังคมทั้งในระบบออนไลน์และ ออฟไลน์en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเสริมสร้างen_US
dc.subjectจิตพฤติกรรมen_US
dc.subjectการเป็นพลเมืองที่ดีen_US
dc.subjectสังคมประชาธิปไตยen_US
dc.subjectนักเรียนen_US
dc.subjectนครปฐมen_US
dc.titleการเสริมสร้างจิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียน ในจังหวัดนครปฐมen_US
dc.title.alternativeReinforce Mind Behavior to be Good civil Democratic’s socicl of Buddhist students in Nakhonpathomen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.