Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/266
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorทั่งโต, พิเชฐ-
dc.contributor.authorสุยะใจ, ประยูร-
dc.contributor.authorพละกุล, อนุชา-
dc.date.accessioned2022-03-15T09:31:47Z-
dc.date.available2022-03-15T09:31:47Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/266-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quality Research) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับรัฐศาสตร์เชิงพุทธที่ปรากฏในพระไตรปิฎก เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์เชิงพุทธในมุมมองของนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ และ เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้รัฐศาสตร์เชิงพุทธเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน ๑๒รูป/คน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์ ๑ ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละและสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่าแนวคิดเกี่ยวกับรัฐศาสตร์เชิงพุทธที่ปรากฏในพระไตรปิฎก พบว่า การศึกษารัฐศาสตร์แนวพุทธที่ปรากฏในพระไตรปิฎกโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่ใช้ในด้านการเมืองการปกครองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ ตลอดถึงการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางเศรษฐกิจและทางสังคม เช่น หลักธรรมที่ค้นพบ หลักทศพิธราชธรรม หลักสาราณียธรรม ๖ กุศลกรรมบถ ๑๐ จักรวรรดิวัตร อปริหานิยธรรม สัปปุริสธรรม ๗ พรหมวิหาร ๔ กัลยาณมิตรธรรม ๗ สังคหวัตถุ ๔ อริยสัจ ๔ อคติ ๔และหลักวินัยคือ ศีล ๕ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาได้จัดไว้เป็นหมวดหมู่ ซึ่งง่ายต่อการนำไปประยุกต์ใช้ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การแก้ไขปัญหาสังคม และการเสริมสร้างความปรองดอง หลักธรรมทุกระดับสามารถช่วยในการพัฒนามนุษย์ให้พ้นจากความทุกข์ได้ ดังนั้น หลักพุทธธรรมสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือหรือกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการตามทิศทางที่พระพุทธองค์ได้ค้นพบ รัฐศาสตร์เชิงพุทธจึงเป็นฐานแนวคิดด้านการเมืองการปกครองในระบอบธรรมาธิปไตยได้ ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์เชิงพุทธในมุมมองของนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ พบว่า ด้านการปกครอง ด้านนิติศาสตร์ ด้านเศรษฐศาสตร์และด้านสังคมศาสตร์มีความสอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาทุกมิติ นักวิชาการได้ให้ความสำคัญทั้งแนวคิดทฤษฎีทาง การเมืองและแนวคิดทางรัฐศาสตร์เชิงพุทธ ซึ่งในกระบวนการคิดจะเห็นว่าองค์ความรู้ทั้งสองด้านสามารถนำมาประยุกต์กับการบริหารทางการเมืองการปกครองรวมถึงการจัดการทุกองค์กร หน่วยงาน กรม กองทั้งในเชิงบริหารจัดการและการสร้างเครือข่ายกระบวนการมีส่วนร่วม และสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนคือปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน ต้องถูกการแก้ไข แต่สิ่งที่นักวิชาการเสนอแนะโดยเฉพาะหลักธรรมสาราณียธรรม ๖ มีความจำเป็นต่อการสร้างความปรองดองแห่งชาติ ตลอดถึงหลักของสังคหวัตถุธรรม ที่จำเป็นต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ผลการวิจัย พบว่าข้อเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้รัฐศาสตร์เชิงพุทธเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน นักวิชาการได้เสนอประเด็นหลักคือการพัฒนาตน การพัฒนาคนและการพัฒนางาน ซึ่งการพัฒนาแต่ละระดับจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีฐานคิดทางพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะหลักสัมมาทิฐิที่เป็นหนทางแห่งความเจริญฝ่ายเดียว และสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาทั้งในระดับบุคคล ระดับองค์กรและสามารถแก้ไขปัญหาในระดับที่สูงขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างความปรองดองในระดับชาติได้ เพราะการปฏิบัติการยุทธศาสตร์เชิงพุทธที่ช่วยแก้ความทุกข์ให้กับมนุษย์ได้ และเป็นการพัฒนาฐานคิด องค์ความรู้ทางด้านปัญญา เพิ่มพูนวิชชา ซึ่งเอื้อให้ สังคมเกิดสันติสุข และสันติภาพอย่างสมดุลen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectรัฐศาสตร์เชิงพุทธen_US
dc.subjectรัฐศาสตร์en_US
dc.subjectมุมมองของนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์en_US
dc.subjectประเทศไทยen_US
dc.titleการศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์เชิงพุทธในมุมมองของนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeAnalysis of political science in the perspective of Buddhist scholars in political science in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2553-059 ดร.พิเชฐ ทั่งโต.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.