Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/263
Title: สวัสดิการสังคมเชิงพุทธ : รูปแบบและการสร้างพลังชุมชน
Other Titles: Social Welfare in Buddhism Approach : Model and community Empowerment
Authors: แก้วบุตรดี, นันทวิทย์
Keywords: สวัสดิการสังคมเชิงพุทธ
รูปแบบ
การสร้างพลังชุมชน
Issue Date: 2557
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง สวัสดิการสังคมเชิงพุทธ : รูปแบบและการสร้างพลังชุมชน มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิด และรูปแบบจัดสวัสดิการสังคมตามแนวพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในสังคมไทย ๒) เพื่อวิเคราะห์หลักการและวิธีการส่งเสริมเครือข่ายการจัดสวัสดิการสังคมของพระสงฆ์และชุมชนตามแนวพระพุทธศาสนาในสังคมไทย ๓) เพื่อนาเสนอรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชนเชิงพุทธบูรณาการ ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การวิจัยทั้งในเชิงเอกสารและการวิจัยศึกษาในภาคสนาม (Field Study) จานวน ๕ พื้นที่ ได้แก่ ๑) ภาคกลาง พระราชวิสุทธิประชานาถ(หลวงพ่ออลงกต) วัดพระบาทน้าพุ จังหวัดลพบุรี ๒)ภาคเหนือ พระครูสุจิณนันทกิจ (พระอารารย์สมคิด) วัดโป่งคา จังหวัดน่าน ๓)ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พระครูอมรชัยคุณ(หลวงตาแชร์) วัดสุชัยคณาราม อาเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ๔) ภาคใต้ พระครูปลัดวรพล ฐิตคุโณ วัดควนกาหลง จังหวัดสตูล และ ๕) ภาคเครือข่ายที่ทางานด้านสวัสดิการสังคม ของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิตของพระอาจารย์สุบิณ ปณีโต วัดไผ่ล้อม จังหวัดตราด โดยกาหนดศึกษาในประเด็นที่สาคัญโดยใช้การทบทวนเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง การสังเกต การสัมภาษณ์ การ่วมประชุม และการสนทนากลุ่ม แล้วผลนามาวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงคุณภาพ สรุปผลได้ดังนี้ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คือ กลุ่มพระสงฆ์ ผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้เกี่ยวข้องที่มีส่วนผลักดันการจัดสวัสดิการสังคมในรูปแบบต่าง ๆ และองค์กรเครือข่ายการจัดสวัสดิการสังคมของพระสงฆ์และชุมชนตามแนวพระพุทธศาสนา เพื่อให้เห็นการพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมและการสร้างพลังชุมชนด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชนเชิงพุทธบูรณาการ โดยสรุปผลการศึกษา ดังนี้ พระสงฆ์ในสังคมไทยได้มีการดาเนินการเพื่อส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมในมิติต่างๆ เช่น การจัดสวัสดิการด้านการเงิน การสะสมทรัพย์ ด้านผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพ การศึกษา อาชีพ รายได้ เป็นต้น โดยมีกระบวนการทางานร่วมกับภาครัฐ เอกชน ชุมชนและฝ่ายต่าง ๆ โดยวัดบทบาททางสังคม ๕ ประการ คือ ๑) บทบาทการรวมคน ๒) บทบาทการรวมเงิน ๓) บทบาทการรวมปัญญาความคิด ๔) บทบาทการสร้างกองทุนสวัสดิการ เงินกองกลาง ๕) บทบาทการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ทั้งนี้บทบาททั้ง ๕ ประการ จะเป็นฐานในการพัฒนาภาพรวมของชุมชนต่อไป ซึ่งต้องอาศัยภาวะผู้นาและการบริหารจัดการที่ดีคนในชุมชนจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกจานวนมากจึงสามารถนาเอาทุนมาสร้างอุดมการณ์ภายใต้ผลประโยชน์ทางการเงินได้ ตัวอย่าง กิจกรรมของกลุ่มที่สาคัญของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ จังหวัดตราด ในการจัดสวัสดิการสังคม มีมุมมองที่สาคัญ ๕ ประเด็น ได้แก่ รับฝากเงินและการ ให้กู้ยืม เงินกองทุนสวัสดิการ กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคนในชุมชน กิจกรรมสางเสริมอาชีพและรายได้ สุดท้ายคือการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อม วัดที่จะพัฒนาเป็นวัดที่ทาบทบาทหน้าที่ในการรักษาสวัสดิการชุมชน ควรศึกษาในเรื่องความพร้อมของวัดและชุมชน โดยเฉพาะพระสงฆ์ที่เป็นผู้นาควรเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับการแพทย์พื้นบ้าน และเป็นผู้นาที่เข้มแข็ง พร้อมทั้งการมีองค์กรชุมชนที่เข็มแข็ง หรือมีการรวมกลุ่มหมอพื้นบ้านในพื้นที่ รวมทั้งการพิจารณาถึงบริบทของพื้นที่ของวัดด้วยว่า ตั้งอยู่ในพื้นที่ลักษณะใด และจะดาเนินการดูแลรักษาสวัสดิการชุมชนแบบใด การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ และวัดควรมีนโยบายในการส่งเสริมสวัสดิการชุมชนโดยให้ชาวบ้านในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมเกี่ยวกับสวัสดิการชุมชน การเชื่อมโยงกับกิจกรรมพัฒนาของชุมชนหรือแทรกการรักษาสวัสดิการชุมชนให้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชุมชน และการจัดกระบวนการถ่ายทอดการแพทย์พื้นบ้านสู่กลุ่มเยาวชนหรือชาวบ้านในชุมชนให้มีการสืบทอดต่อไป
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/263
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2557-083 Nuntawit Kaew.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.