Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/262
Title: | ความเชื่อพื้นฐานของประชาชนต่อการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดี ของคนไทย |
Other Titles: | The Traditional Belief of People to Strengthening Good Thai Citizenship. |
Authors: | พระครูอุทัยกิจจารักษ์ สุวิชาโน, พระครูใบฎีกาสุวินท์ |
Keywords: | ความเชื่อพื้นฐานของประชาชน การเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีของคนไทย |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ ดังนี้ ๑) วิเคราะห์ชุดของความเชื่อพื้นบ้านของคนไทยที่มีต่อการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดี ๒) เพื่อสังเคราะห์แนวปฏิบัติความเชื่อของคนไทยที่มีต่อการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดี ๓) เพื่อเสนอแนะเชิงนโยบายท้องถิ่นต่อการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีของแผ่นดินบนพื้นฐานของความเชื่อของคนไทย การวิจัยครั้งนี้มีวิธีวิทยาของการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Methodology) โดยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มย่อย จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ๒ กลุ่มๆละ ๑๕ คนคือ ชาวไทยพวนอาศัยอยู่ที่บ้านป่าแดง ตำบลหนองพยอม อำเภอตะพานหิน และชาวไทยทรงดำ หรือ กลุ่มไทยทรงดำ อาศัยอยู่ที่ตำบลไผ่รอบ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร และมีการสนทนากลุ่มย่อยผู้เชี่ยวชาญ ๑๑ รูป/คน ซึ่งคณะผู้วิจัยได้สรุปผลการวิจัย ดังนี้ ความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีกำฟ้า ประเพณีขันบาเจาะ ปรากฏในกลุ่มไทยพวน (กำฟ้า) ในขณะที่ความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีเสนเรือน ประเพณีมาตุ้มโฮม ปรากฏในกลุ่มไทยทรงดำ (ไทยทรงดำ) ในขณะที่ความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีอื่นๆ ปรากฏในผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้ง ๒ กลุ่ม เช่น การจัดงานศพ/การเผาศพ การบูชาบรรพบุรุษ การทำบุญให้คนตาย การเคารพบูชาพระพุทธรูป การสักการะศาลเจ้า การบายศรี/การเลี้ยงผี ฯลฯ ความเชื่อข้างต้นเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีเพราะสามารถสังเคราะห์เป็นแนวปฏิบัติต่างๆ ได้ดังนี้ การสร้างความสามัคคี การให้ความเคารพยำเกรงต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว การเคารพสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น การทำความดีไม่ทำชั่ว/การปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอน การมีส่วนร่วมกันในชุมชน ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายท้องถิ่นต่อการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีบนพื้นฐานของความเชื่อของคนไทย คือ ๑) องค์การบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นควรกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแนวทางในการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ๒) องค์การบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมกิจกรรมในท้องถิ่น (อปท.+บ้าน+วัด+โรงเรียน) ๓) องค์การบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น ควรพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรม |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/262 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-157 พระครูอุทัยกิจจารักษ์,ดร.pdf | 4.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.