Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/261
Title: บทบาทเยาวชนในประเพณีแห่เทียนพรรษา : บทสะท้อนช่องว่างของ กระบวนการเรียนรู้และสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: Roles of Adolescents in Candle Festival: Refections on Gops Between The Learning Process and Local Culture Preservation in Ubonratchatani Province
Authors: ตปสีโล, พระใบฏีกาสุพจน์
พระครูวุฒิธรรมบัณฑิต
ญาณวโร, พระศิวเดชน์
อุดมโชคนามอ่อน, ไชยสิทธิ์
ศรีหะมงคล, กวีพล
Keywords: บทบาทเยาวชน
ประเพณีแห่เทียนพรรษา
บทสะท้อน
ช่องว่างของกระบวนการเรียนรู้
สืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี
Issue Date: 2558
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง บทบาทเยาวชนในประเพณีแห่เทียนพรรษา : บทสะท้อนช่องว่างของกระบวนการเรียนรู้และสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่มีต่อวิถีชีวิตและการถ่ายทอดค่านิยมดั้งเดิมเกี่ยวกับประเพณีแห่เทียนพรรษาของชุมชนอุบลราชธานี และศึกษากระบวนการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของประเพณีแห่เทียนพรรษา ในกลุ่มเยาวชนอุบลราชธานี ๑. บทบาทของเยาวชน ด้วยความสำนึกในอดีตจึงถือเสมือนว่าเป็นรากฐานสำคัญของชีวิตในสังคมทุกคนในสภาวะที่ คนในสังคมเก่า สร้างความเป็นผู้มีจิตสำนึกต่อส่วนรวมในชุมชนลูกหลาน เยาวชนมีความหนักแน่น และมีพลังมากกว่า จากการพิจารณาความสัมพันธ์ของคนในชุมชนนั้นกับอดีต ดังจะเห็นได้จากประเพณีพิธีกรรมต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่ถูกประสาน ร้อยรัด เชื่อมโยงคนในรุ่นอดีตกับสังคมที่ในอดีตที่ฝานมายาวนาน แต่ไม่ได้ ผ่านเลยไป จิตวิญญาณของบรรพบุรุษนั้นได้รับการสืบทอดด้วยความเคารพยำเกรง ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น จนกลายเป็นเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอดีตกับปัจจุบันกลายเป็นเพียงเสี้ยวส่วนหนึ่งของนิรันดรกาลซึ่งจะหวนกลับคืนมาทุกครั้งที่เริ่มประเพณีใหม่ นั้นคือการหวนกลับคืนมาของอดีต เป็นปัจจุบันอีกครั้งหนึ่ง ความเก่าแก่ของงานประเพณีในชุมชนท้องถิ่น ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ของจังหวัดอุบลราชธานีไม่ได้ถูกทำให้เลือนหายไปจากความสำนึกของคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นเก่า หรือคนรุ่นใหม่ เพราะเท่าที่ผ่านประสบการณ์มายาวนานสำนึกในอดีตยังตราตรึงแน่นอย่างลึกซึงกับ วิถีชีวิตและแนวความคิดของคนในชุมชน ๒. ด้านประเพณีการแห่เทียนพรรษา ประเพณีแห่เทียนพรรษา เกิดจาก “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” สืบสานเป็น “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” ก่อให้เกิด “ภูมิพลังเมือง” สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ประชาคมเป็นปึกแผ่นมั่นคง แก้ไขปัญหาสำคัญของชาติได้ในการร่วมเป็น “ภูมิพลังแผ่นดิน” ประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานีจึงเชิดชูเทิดทูน ๓ สถาบันสำคัญสูงสุด คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ดำรงจิรัฐิติกาล หลอมใจถวายเทียนพรรษา น้อมบูชาพระรัตนตรัย ศรัทธาธรรมนำชาติไทย ถวายไท้มหาราชัน ชาวอุบลราชธานีต้องนึกคิดไว้ว่า “ประเพณีแห่เทียนพรรษาเป็นทุนทางสังคม ที่บรรพบุรุษสั่งสมนับร้อยปี มีจิตวิญญาณและเป็นเอกลักษณ์ของอุบลราชธานี การนำงานประเพณีแห่เทียนพรรษาสู่สากลเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวนั้น จำเป็นต้องยึดมั่นแก่นแท้ของเทียนพรรษาเป็นสิ่งสำคัญ แล้วผสมผสานภูมิปัญญาดั้งเดิมให้กลมกลืนกันอย่างลงตัว ไม่ขัดเขินในลักษณะ “อนุรักษ์ของเดิม ก่อนส่งเสริมของใหม่” จึงเป็นหน้าที่ของลูกหลานชาวเมืองอุบลที่ต้องอนุรักษ์และสืบสานให้ประเพณีเทียนพรรษายืนยงคงอยู่คู่อุบลราชธานีตลอดไป ๓. ด้านการให้ความรู้และการเผยแพร่ประเพณี การจัดงานแห่ประเพณีเทียนพรรษาแต่ละปีของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาและมีส่วนในการอนุรักษ์ประเพณีแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี เพราะว่าคุ้มวัดและชุมชนเป็นแหล่งศูนย์รวมสร้างต้นเทียนพรรษาและให้ความรู้ในด้านประเพณีแห่เทียนพรรษาอยู่แล้ว เยาวชนต้องจะอยากจะทำ เพราะเยาวชนให้ความสำคัญ การสืบทอดจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีศรัทธาอยากที่จะทำ มีภูมิภาคใจ ทำอย่างไรจะให้เยาวชนลูกหลานได้เห็นความสำคัญของจุดนี้ แล้วการสืบทอดก็จะเกิดขึ้นเองเพราะว่ารักและห่วงแหนจึงจะเกิดความร่วมมือขึ้นในของเยาวชนกับวัดและชุมชนได้ในที่สุดนโยบายของรัฐต้องสอดคล้องและสนับสนุนกิจกรรมประเพณีแห่เทียนพรรษา จึงจะสามารถสืบทอดภูมิปัญญาการทำเทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ทำให้เยาวชน เข้าวัดทำเทียนร่วมมีบทบาทอย่างมากในการเป็นศูนย์รวมในการให้ความรู้ในด้านประเพณีแห่เทียนพรรษาประเภทต่างๆ ให้มีการถ่ายทอดวิชาการในการติดพิมพ์และการแกะสลักเทียนทุกขั้นตอน ให้เด็กได้เรียนรู้ และมีการถ่ายทอดต่อๆไป ตลอดจนหาวิธีการทำให้เทียนพรรษาอยู่ได้นานในสภาพการณ์ปัจจุบัน และอยากให้หน่วยงานของรัฐหรือข้าราชการผู้ใหญ่ เข้ามาส่งเสริมอย่างยั่งยืน ๔. ด้านการแก้ปัญหาในการอนุรักษ์พลังแห่งความทันสมัยและผลกระทบต่อค่านิยมงานประเพณีแห่เทียนพรรษา งานประเพณีแห่เทียนพรรษามีมากมายหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการประกวดประชันแข่งขันกันจนเกินงาม ควรแข่งขันอย่างสร้างสรรค์,สมานฉันท์,กัลยาณมิตร โดยแบ่งประเภทการประกวดกระจายออกไปให้ผู้เริ่มพัฒนาฝีมือมีโอกาสชนะ,ชื่นชมร่วมกัน วิธีการแก้ไขปัญหาด้านงบประมาณดำเนินงานนี้ แต่ละปีมีปัญหามาตลอดต้องหาทางแก้ไขเป็นปีๆไป ควรมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนางานประเพณีแห่เทียนพรรษา อย่างเป็นรูปธรรมที่มั่นคง ตัวอย่างเช่น “กองทุนชาวอุบลฯ คนละบาทอนุรักษ์เทียนนักปราชญ์เมืองอุบลฯ” เป็นต้น จงนึกคิดอยู่เสมอว่า “ประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นทุนทางสังคมที่สะสมนับ ๑๐๐ ปี มีจิต วิญญาณและเป็นเอกลักษณ์ของอุบลราชธานี ที่ต้องอนุรักษ์ไว้ให้ยืนยงคงอยู่คู่เมืองอุบลราชธานีการพัฒนาจะสามารถทำให้คนได้รับความสุข ความสบายมากกว่า จึงมองไม่เห็นใน ความสำคัญที่จะอนุรักษ์ในงานประเพณีวัฒนธรรมของหมู่บ้านได้อีกต่อไป จิตสำนึกในการสร้าง บุญกุศลการสืบทอด อนุรักษ์งานประเพณีจึงเป็นเพียงการรื้อฟื้นอดีตที่ผ่านมาให้กลับมาใหม่ โดย ไม่ได้ใส่ความรู้สึก การสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นในงานประเพณีเช่นดังเดิม งานประเพณีจึงเป็นเพียงการจัดกิจกรรมการร่วมกันของคนในหมู่บ้านที่สมาชิกทุกกลุ่มสามารถเข้าร่วมได้ โดยไม่มีการแบ่งชนชั้นวรรณะ เป็นการเฉลิมฉลองที่บุคคลภายนอกและทุกคน ก็จะสามารถเข้าร่วมในงาน ได้โดย ไม่รู้สึกแตกต่างไปจากคนอื่นในงานประเพณี นอกจากนี้การเช้ามามีอำนาจของฝ่ายปกครองท้องถิ่นยังได้ฟ้าให้ชุมชนสูญเสียอำนาจในการต่อรอง การตัดสินใจของตนเองไปการจัด ประเพณี เพื่อตอบสนองชื่อเสียง สาระความบันเทิง การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชุมชนเท่าทันระบบการคิดของคนในชุมชนเปลี่ยนไป มีการคิดในรูปแบบเดียวกัน ประเพณีไม่ได้ตอบสนอง ความรู้สึกร่วมกันของชุมชนเป็นเพียงวัฒนธรรมความบันเทิง ที่เผยแพร่ออกไปสู่สังคมอื่นที่สามารถจัดสร้างรูปแบบขึ้นมาใหม่ได้ ความสนุกสนาน ความครึกครื้นอาจกลายเป็นแบบอย่าง เป็นด้นแบบที่สร้างความเข้าใจให้แก่กลุ่มชาวบ้าน กลุ่มหนุ่ม-สาว กลุ่มวัยรุ่นเอาอย่างที่เหมาะสม ถูกต้อง ฟ้าให้ความเป็นท้องถิ่นบันได้สูญหายไป
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/261
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.