Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/259
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจนฺทิโก, พระครูปลัดณัฐพล-
dc.contributor.authorคูวุฒยากร, ภัทรพร-
dc.contributor.authorไวศยะนันท์, นิพาวรรณ-
dc.date.accessioned2022-03-15T09:05:56Z-
dc.date.available2022-03-15T09:05:56Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/259-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาปัญหา ความต้องการ และระดับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ๒) เพื่อพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขา และ ๓) เพื่อประเมินและนำเสนอนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขา มีรูปแบบกระบวนการวิจัย ได้แก่ ๑) การสำรวจสังเคราะห์ปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุจากงานเอกสารประกอบกับการดำเนินการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ รวมถึงลักษณะอันเหมาะสมของระบบที่จะพัฒนาขึ้น ๒) การออกแบบและพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน ตลอดจนการกำหนดเครื่องมือเชิงเทคโนโลยีที่จำเป็นต้องใช้ในการพัฒนา เพื่อให้อยู่กรอบของความต้องการจากผลการศึกษาในข้อที่ ๑ ๓) การทดลองใช้งานโมบายแอปพลิเคชัน คณะผู้วิจัยได้แบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ ๑ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลความต้องการระบบ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านพระพุทธศาสนา ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมผู้สูงอายุ และผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาโมบายโมบายแอปพลิเคชัน จำนวน ๑๙ ท่าน กลุ่มที่ ๒ กลุ่มตัวอย่างทดสอบนวัตกรรม คือ ผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๓๐ คน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การตอบแบบสอบถามและแบบประเมินแบบ และได้นำเทคนิคกระบวนการเก็บข้อมูลความต้องการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้เครื่องมือการวิจัย คือ ชุดคำถาม แบบสอบถาม แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบสอบถามสุขภาพทั่วไปของกรมสุขภาพจิต พร้อมทั้งได้ประยุกต์ใช้เครื่องมือทางทฤษฏีวิศวกรรมความรู้ในการสังเคราะห์ความต้องการผู้ใช้งานอย่างเป็นระบบ ผลที่ได้จากการศึกษาวิจัย ประกอบด้วย ๑) นวัตกรรมเชิงเทคโนโลยี คือ โมบายแอปพลิเคชัน “วัดในบ้าน” ที่ช่วยให้สามารถปฏิบัติตนตามหลักไตรสิกขาได้ที่บ้าน ๒) นวัตกรรมเชิงสังคม คือ รูปแบบการนำนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยีไปใช้เพื่อให้วัดและชุมชมสามารถดำเนินกิจกรรมร่วมกันในยุคปัจจุบันได้ นอกจากนี้ยังได้นำเสนอผลการประเมินนวัตกรรมด้านต่างๆ และข้อเสนอแนะเพื่อให้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดกับเครือข่ายวัด ชุมชน กลุ่มผู้สูงอายุโดยการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามหลัก ศีล สมาธิ และปัญญาen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.subjectหลักไตรสิกขาen_US
dc.titleการพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขาen_US
dc.title.alternativeThe Development of Threefold Training based Innovation to Promote Mental Health of the Elderly.en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-208 พระครูปลัดณัฐพล จนฺทิโก, ดร. (1).pdf15.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.