Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/257
Title: แนวทางการอนุรักษ์ป่าตามหลักคาสอนพระพุทธศาสนาเถรวาท
Other Titles: Forest conservation guidelines with the Theravada Buddhist teachings
Authors: พระครูพิพิธจารุธรรม
พระครูสุมณธรรมธาดา
ชัยภูมิ, เกื้อ
สินทับศาล, ภูวเดช
Keywords: แนวทางการอนุรักษ์ป่า
หลักคาสอนพระพุทธศาสนาเถรวาท
Issue Date: 2557
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง แนวทางการอนุรักป่าตามหลักคาสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาท มี วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาหลักคาสอนของพุทธศาสนาเถรวาทที่ว่าด้วยเรื่องป่า เพื่อศึกษา กระบวนการอนุรักษ์ป่าของพระสงฆ์ และสภาพปัญหาของป่าไม้ในจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดน่าน และเพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ป่าด้วยหลักคาสอนของพุทธศาสนาเถรวาท เป็นการวิจัยเชิง เอกสารใช้ข้อมูลปฐมภูมิได้แก่พระไตรปิฎก เอกสาร ตาราวิชาการ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ซึ่งมี การศึกษาวิเคราะห์เอกสารและมีการสัมภาษณ์จัดประชุมกลุ่ม เพื่อหาข้อมูลเชิงลึกที่เป็นองค์ ความรู้จากประสบการณ์จริงของกลุ่มอนุรักษ์ป่ ามูลนิธิฮักเมืองน่าน ถึงกระบวนการอนุรักษ์ป่ า และการใช้หลักธรรมในการอนุรักษ์ป่าของมูลนิธิ ผลการวิจัยพบว่า คาสอนเกี่ยวกับเรื่องป่าในพระพุทธศาสนาล้วนสนับสนุนให้บุคคลดารงชีวิตในทางที่ เหมาะ ไม่ตึงเกินไปและหย่อนเกินไป การดาเนินการทุกอย่างให้คานึงถึงความพอดีเป็นสาคัญ เช่นบริโภคทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างพอเหมาะ ไม่มากเกินไปเกินพอดีซึ่งปัจจุบันนี้ ประเทศไทยกาลังประสบกับปัญหาสิ่งแวดล้อมหลายด้าน เนื่องจากมนุษย์บริโภค ทรพั ยากรธรรมชาติมากเกินไปไม่รู้จักใช้ชีวิตอย่างเหมาะสมและกลมกลืนกับธรรมชาติ มีการตัด ไม้ทาลายป่ามากเกินกว่าที่ควรจะเป็น ต้องอาศัยหลักธรรมคาสอนทางพระพุทธศาสนาที่เน้น ความรักและความเมตตาต่อสรรพสัตว์ ป่าไม้ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมไม่เพียงแต่จะห้ามฆ่าสิ่งมีชีวิต เท่านัน้ แต่ยังสนับสนุนการอนุรักษ์ มีทัศนคติที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ ไม่ตักตวงหาผลประโยชน์ จากทรัพยากรป่าไม้ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ซึ่งถ้าเราปฏิบัติตามคาสอนแห่งพระพุทธศาสนามนุษย์ ก็จะสามารถลดวิกฤตสิ่งแวดล้อมได้ การอนุรักษ์ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม คือ การปฏิบัติงานพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์ความเจริญ ในการใช้ทรัพยากรป่าไม้และธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด โดยใช้ให้น้อยเพื่อให้เกิดประโยชน์ มากที่สุด เพราะหากสิ่งแวดล้อมอยู่ในสภาวะปกติบริสุทธิ์ สดใสตามธรรมชาติ ชีวิตมนุษย์และ สิ่งมีชีวิตทัง้ หมดก็จะพบกับความสุขสดชื่นไปด้วย โดยการใช้หลักคาสอนทางพระพุทธศาสนา เป็นเครื่องมือในการฝึกความเข้าใจและเห็นใจต่อสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่อยู่รอบตัวเราทัง้ สิ่งที่มี ชีวิตและไม่มีชีวิตก็จะถูกดูแลและเอาใจใส่จากมนุษย์ได้อย่างประสิทธิภาพและส่งผลต่อความ เจริญและความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมทางสังคมแบบยั่งยืน ซึ่งแนวทางการอนุรักษ์ป่าไม้ด้วยคา สอนพระพุทธศาสนาจากการศึกษาสรุปได้ว่า การอนุรักษ์ป่าที่ยั่งยืนใช้หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ในเบือ้ งต้นมีการควบคุมความประพฤติด้วยการสร้างวินัยให้กับตนเองและชุมชน ด้วยศีลถ้าทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างที่ควรจะ เป็นแล้ว จึงต้องมีการสร้างกติกาหรือวินัยในการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทัง้ พฤติกรรมทางกาย และ วาจา ซึ่งศีลสังวรนีจ้ ะช่วยระมัดระวังและควบคุม ลงโทษ ผู้ที่ฝ่ าฝืน จึงต้องเป็นความร่วมมือกัน ระหว่างรัฐ ชุมชน และศาสนาในการสร้างกติการ่วมกัน และเสริมสร้างปัญญา ให้ชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจมีจิตสานึกในเรื่องการอนุรักษ์ การควบคุมพฤติกรรม ปลูกจิตสานึก และสร้าง ภูมิคุ้มกันด้วยปัญญา ถือว่าเป็นการอนุรักษ์ที่ยงั่ ยืน หลักธรรมที่ควรปฏิบัติอยู่เนื่องนิตย์ คือหลักเมตตาธรรม หลักมัชฌิมาปฎิปทา หลัก สันโดษ และความกตัญญูกตเวทีต่อทรัพยากรธรรมชาติ มีความรัก เห็นคุณค่าใช้ประโยชน์แบบ พอเพียง ส่วนการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุมใช้หลักอริยสัจจ์ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และหลักอิทัปปัจยตา การพัฒนาทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อมใช้หลักธรรมนิยาม ๕ คือ ธรรมนิยาม อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตนิยาม กรรมนิยาม และวิธีป้องกันการทาลายทรัพยากรป่าไม้ และทรัพยากรสิ่งแวดล้อมใช้หลักศีล ๕
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/257
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2557-037 พระครูพิพิธจารุธรรม,ดร.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.