Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/254
Title: | การพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ โดยวิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธ ในจังหวัดพะเยา |
Other Titles: | Geriatric Wellness Development and Enhancement By Buddhist Culture in Phayao |
Authors: | นามเมือง, จักรแก้ว บุญชัยมิ่ง, ใจ |
Keywords: | การพัฒนา เสริมสร้าง สุขภาวะ ผู้สูงอายุ วิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธ จังหวัดพะเยา |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง การพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ โดยวิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธ ในจังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุขภาวะของผู้สูงอายุ ตามแนววิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธ พัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะ ตามแนววิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธ และวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ตามแนววิถีพุทธ จังหวัดพะเยา ประชากร ได้แก่ พระสงฆ์ ผู้นำท้องถิ่น และกลุ่มผู้สูงอายุชุมชนวัดแม่กาห้วยเคียน ตำบล แม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำนวน ๕๐ รูป/คน และชุมชนวัดแท่นคำ ตำบลห้วยลาน อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา จำนวน ๖๐ รูป/คน รวมทั้งหมด ๑๑๐ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม โดยชุมชนวัดแทนคำ ได้รับแบบสอบถามคืนมาทั้งหมด ๕๗ ฉบับ คิดเป็นร้อยละ ๙๕.๐ และชุมชนวัดแม่กาห้วยเคียน ได้รับแบบสอบถามคืนมาทั้งหมด ๔๓ ฉบับ คิดเป็นร้อยละ ๘๖.๐ วิเคราะห์โดยการสรุปตามสาระสำคัญของเนื้อหาที่กำหนดไว้ โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย (μ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) ผลการวิจัย พบว่า ๑. สุขภาวะผู้สูงอายุ ตามแนววิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธ จังหวัดพะเยา ๑) ลักษณะการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการในการพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ตามแนววิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธ กิจกรรม/โครงการในการพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ โดยผ่านศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุ เป็นกิจกรรมการเรียนรู้โดยมีหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ในภาคทฤษฎี นอกจากนั้น ยังมีการจัดกิจกรรม/โครงการในการพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ เช่น โครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ โครงการธรรมะติดล้อ โครงการข่วงผญ๋า เป็นต้น ๒) ผลของการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการในการพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ตามแนววิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธ การพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะ ตามแนววิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธ จังหวัดพะเยา อาศัยการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นด้านหลัก เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามคติความเชื่อของพระพุทธศาสนา รวมทั้งการดำเนินการตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาเป็นกลไกในการขับเคลื่อน เพื่อให้สอดคล้องกับความเชื่อและวิถีชีวิตของชุมชน ดังนั้นจะพบว่า การดำเนินกิจกรรมทั้งหมดเป็นการพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ตามแนววิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธ ๒. การพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ตามแนววิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธ จังหวัดพะเยา โดยการพัฒนา ๔ องค์ประกอบ ได้แก่ สุขภาวะทางกาย ๑๒ ตัวชี้วัด สุขภาวะทางสังคม ๑๓ ตัวชี้วัด สุขภาวะทางจิตใจ ๑๗ ตัวชี้วัด และสุขภาวะทางปัญญา ๑๘ ตัวชี้วัด ๓. ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ตามแนววิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธ จังหวัดพะเยา ๑) ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ตามแนววิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธ จังหวัดพะเยา จำแนกตามสุขภาวะทางกาย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (μ = ๔.๔๖) ๒) ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ตามแนววิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธ จังหวัดพะเยา จำแนกตามสุขภาวะทางสังคม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = ๔.๖๑) ๓) ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ตามแนววิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธ จังหวัดพะเยา จำแนกตามสุขภาวะทางจิตใจ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = ๔.๖๐) ๔) ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ตามแนววิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธ จังหวัดพะเยา จำแนกตามสุขภาวะทางปัญญา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = ๔.๖๓) |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/254 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2559-048 จักรแก้ว นามเมือง.pdf | 4.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.