Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/251
Title: รูปแบบการบริหารงานบุคคลเชิงพุทธของวิทยาลัยสงฆ์กลุ่มภาคเหนือ
Other Titles: Model of Buddhist personnel administration of northern Buddhist colleges
Authors: เถื่อนช้าง, วรกฤต
Keywords: รูปแบบการบริหารงานบุคคลเชิงพุทธ
วิทยาลัยสงฆ์กลุ่มภาคเหนือ
Issue Date: 2557
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑)เพื่อศึกษาสภาพเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของวิทยาลัยสงฆ์กลุ่มภาคเหนือ ๒)เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมสำหรับการบริหารงานบุคคลของวิทยาลัยสงฆ์กลุ่มภาคเหนือ และ ๓)เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารงานบุคคลเชิงพุทธของวิทยาลัยสงฆ์กลุ่มภาคเหนือ ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยรูปแบบเชิงคุณภาพภาคสนาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และลูกจ้างประจำทั้งในงบและนอกงบของวิทยาลัยสงฆ์กลุ่มภาคเหนือทั้ง ๖ แห่ง จำนวน ๒๑๒ รูป/คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาโดยสุ่มแบบเจาะจง เพื่อจัดเก็บข้อมูลด้านการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างแห่งละ ๕ รูป/คน รวมทั้งหมด ๓๐ รูป/คน และการรับรองร่างรูปแบบการบริหารงานบุคคลเชิงพุทธด้วยรูปแบบการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Connoisseurship Model) ประกอบด้วยผู้บริหารวิทยาลัยสงฆ์,ผู้ทรงคุณวุฒิด้านรูปแบบ,ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา จำนวน ๙ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า ๑.สภาพเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของวิทยาลัยสงฆ์กลุ่มภาคเหนือ พบว่า โดยภาพรวมมีการบริหารองค์กรให้เป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยกำหนดแผนงานหรือโครงการต่างๆ ให้สอดคล้องกับค่านิยมขององค์กร แผนงานหรือโครงการ จะช่วยเน้นย้ำให้คนในองค์กร เกิดความภาคภูมิใจและตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรมองค์กรมากยิ่งขึ้น ซึ่งค่านิยมที่กำหนดขึ้นจะต้องมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และภารกิจหลักขององค์กรที่ยึดถือปฏิบัติแล้วจะช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรประสบความสำเร็จ สำหรับวิทยาลัยสงฆ์กลุ่มภาคเหนือ สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยควรมีการสร้างวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นแนวในบริหารงานในทุกๆ ด้าน และการดำเนินงานต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมายของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยยึดหลักการบริหารงานบุคคล ๔ ด้าน ประกอบด้วย ๑) ด้านการคัดเลือกและสรรหาบุคลากร ๒) ด้านการธำรงรักษาบุคลากร ๓) ด้านการพัฒนาบุคลากร และ ๔) ด้านการให้บุคลากรพ้นจากงาน ๒.การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมสำหรับการบริหารงานบุคคลของวิทยาลัยสงฆ์กลุ่มภาคเหนือ โดยภาพรวมส่วนใหญ่พบว่า ๑) สัปปุริสธรรม ๗ ประยุกต์ใช้การบริหารงานบุคคลด้านการคัดเลือก และสรรหา ๒) อิทธิบาท ๔ ประยุกต์ใช้กับการบริหารงานบุคคลด้านการธำรงและรักษาบุคลากร ๓) พรหมวิหาร ๔ ประยุกต์ใช้กับการบริหารงานบุคคลด้านการพัฒนาบุคลากร และ ๔) ธรรมาภิบาลประยุกต์ใช้กับการบริหารงานบุคคลด้านการให้บุคลากรพ้นจากงาน ๓.รูปแบบการบริหารงานบุคคลเชิงพุทธของวิทยาลัยสงฆ์กลุ่มภาคเหนือ ประกอบด้วย ๑)ด้านการคัดเลือกและสรรหาบุคลากร ตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ เป็นโครงสร้างที่มีแนวทางพัฒนาคุณเครื่องแห่งการเตรียมตน การบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับคนและสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงคุณธรรมและจริยธรรมที่มีคุณค่า และสร้างความเป็นธรรมต่อบุคคล หรือสังคมที่เกี่ยวข้องกับองค์กรอย่างชาญฉลาด ๒) ด้านการธำรงรักษาบุคลากร ตามหลักอิทธิบาท ๔ เป็นโครงสร้างที่มีแนวทางการธำรงรักษาพนักงานมีคุณค่าเป็นพิเศษ ทำให้องค์การมีบุคลากรที่ดีมีความสามารถและความชำนาญจัดเจนเพิ่มจำนวนมากขึ้นอยู่เรื่อยๆ ลดอัตราการเข้าออกงาน เกิดทีมงานที่มั่นคงมีความรักความผูกพันและเข้าใจกัน พนักงานที่มีทักษะในงานสูงสามารถช่วยแบ่งเบาหน้าที่งานให้แก่ผู้บังคับบัญชาได้มากกว่าพนักงานที่อยู่ระหว่างการเรียนรู้งาน และองค์การจะเกิดการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ๓) ด้านการพัฒนาบุคลากร ตามหลักพรหมวิหาร ๔ เป็นโครงสร้างที่มีแนวทางกล่าวคือ ด้านเมตตาคือ ควรสนับสนุนให้บุคลากรประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ด้านกรุณา คือส่งเสริมและช่วยเหลือให้บุคลากรประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ ด้านมุทิตา คือผู้บริหารเอาใจใส่ ช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้บุคลากรครู ด้านอุเบกขา ผู้บริหารรับฟังความคิดเห็นของบุคลากรทุกคน ทั้งนี้ที่ต้องทำเพื่อชี้นำหน่วยงานให้มุ่งไปสู่ความสำเร็จ โดยสนับสนุนให้บุคลากรเกิดความก้าวหน้า ให้ศึกษาต่อ ให้อบรมเพื่อเพิ่มความรู้ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้การวิจัยเพื่อนำมาใช้ปรับปรุงในองค์กร ส่งเสริมให้ทำผลงานวิชาการ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในหน่วยงานและนอกหน่วยงานมากขึ้นและ ๔) ด้านการให้บุคลากรพ้นจากงาน ตามหลักธรรมาภิบาล เป็นโครงสร้างที่มีแนวทางกล่าวคือ การให้พ้นจากงาน ด้านการศึกษากับธรรมาภิบาล กล่าวคือ การให้พ้นจากงาน มีหลายกรณี เช่น ลาออก ลดพนักงาน ตาย ปลดเกษียณ เลิกจ้าง ซึ่งแต่ละกรณีมีการใช้หลักธรรมาภิบาลเข้าไปกำกับควบคุม โดยใช้กฎระเบียบ เกิดความเป็นธรรม มีความโปร่งใสในการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากบุคลากร เพื่อรับรู้รับผิดชอบร่วมกัน นอกจากนี้ยังใช้หลักความคุ้มค่าในการบริหารด้านการให้พ้นจากงานด้วยเพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียบุคลากรที่ดีขององค์กร
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/251
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2557-155 รศ.ดร.วรกฤต เถื่อนช้าง.pdf5.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.