Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/250
Title: รูปแบบการจัดการเพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในระดับจังหวัด
Other Titles: Management model for the stability of Buddhism in the Province-level
Authors: เธียรชัยพฤกษ์, ปัณณธร
ปญฺาปภาโส, อุทัย
รณญฺชโย, คำพันธุ์
ฉินฺนาลโย, ชินภัทร
บัวทอง, ณรงค์ธรรม
Keywords: รูปแบบการจัดการ
ความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง “รูปแบบการจัดการเพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในระดับจังหวัด” มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการจัดการเพื่อความมั่นคงพระพุทธศาสนา ในจังหวัดราชบุรี ๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การจัดการเพื่อความมั่นคงพระพุทธศาสนา ในจังหวัดราชบุรี และ ๓) เพื่อนาเสนอรูปแบบการจัดการเพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา ในจังหวัดราชบุรี ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยทาการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Analysis) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ๑) พระสังฆาธิการที่เป็นผู้ปกครองคณะสงฆ์ในจังหวัดราชบุรี จานวน ๑๐ รูป และ ๒) ผู้บริหารสานักพุทธศาสนาในจังหวัดราชบุรี จานวน ๕ คน ในพื้นที่ที่กาหนดศึกษาจังหวัดราชบุรี การบริหารจัดการคณะสงฆ์ทั้ง ๖ ด้าน ได้แก่ การปกครอง การศาสนศึกษา การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การสาธารณูปการ การศึกษาสงเคราะห์ และการสาธารณสงเคราะห์ โดยประยุกต์ใช้ร่วมกับปัจจัยการบริหาร ได้แก่ งบประมาณ วัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ และบุคลากร เพื่อให้เกิดความมั่นคงและดารงอยู่ด้วยความปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง พระพุทธศาสนาจะมั่นคงได้นั้นต้องอาศัยพุทธบริษัทสี่ ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ช่วยกันทานุบารุงสอดส่องดูแลให้มั่นคงและถาวร ที่สาคัญบทบาทของพระสังฆาธิการและผู้บริหารสานักพุทธศาสนามีส่วนสาคัญมากที่จะช่วยให้พระพุทธศาสนามีความมั่นคง เหตุผลเพราะว่าเป็นผู้ที่อานาจในการบริหารจัดการ และมีความใกล้ชิดพระพุทธศาสนามากที่สุด รูปแบบการจัดการเพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในระดับจังหวัด ๑) หัวข้อพุทธศาสน์มั่นคง ได้แก่ (๑) นาระบบคุณธรรมมาใช้ในการบริหารจัดการคณะสงฆ์ (๒) สร้างความศรัทธาและความเชื่อมั่นจากประชาชน ๒) หัวข้อดารงศีลธรรม ได้แก่ (๑) การพัฒนาองค์ความรู้ พระสังฆาธิการให้รอบรู้ทุกด้าน (๒) การพัฒนารูปแบบการคุ้มครองและตรวจสอบคณะสงฆ์ให้ทันสมัย ๓) หัวข้อนาสังคมสันติสุขอย่างยั่งยืน ได้แก่ (๑) การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาตามพันธกิจ คณะสงฆ์ (๒) การพัฒนาพุทธมณฑลเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/250
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-319 ดร.ปัณณธร เธียรชัยพฤกษ์.pdf6.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.