Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/245
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ศุภษร, ประพันธ์ | - |
dc.contributor.author | นิยมวงศ์, สมควร | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-15T08:37:01Z | - |
dc.date.available | 2022-03-15T08:37:01Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/245 | - |
dc.description.abstract | ในคัมภีร์พระพุทธศาสนามีคำสอนเกี่ยวกับการใช้เหตุผลกระจายอยู่หลายลักษณะ เช่น การใช้เหตุผลในการค้นหาความจริง การใช้เหตุผลตอบปัญหาเรื่องกรรมเป็นอนัตตา และมโนกรรมมีโทษมากกว่ากายกรรมและวจีกรรม การใช้เหตุผลในการถามตอบปัญหาเกี่ยวกับขันธ์ ๕ ตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ การใช้เหตุผลในกระบวนการปฏิจจสมุปบาทตอบปัญหาเรื่องวิญญาณแก่สาติภิกษุ การแสดงธรรมตามแนวอริยสัจ ๔ ที่มีลักษณะบอกเหตุและผล คือทุกข์เป็นผล สมุทัยเป็นเหตุ นิโรธเป็นผล มรรคเป็นเหตุ และในคัมภีร์กถาวัตถุ มีการตอบปัญหาเรื่องบุคคล ขันธ์ ๕ เป็นต้น ทั้งในแง่สมมติบัญญัติและปรมัตถ์บัญญัติ คัมภีร์นี้นักวิชาการทางพระพุทธศาสนายอมรับกันว่าเป็นคัมภีร์ที่แสดงให้เห็นถึงการใช้เหตุผลอีกแบบหนึ่ง การใช้เหตุผลมีลักษณะต่างๆ ดังนี้ ๑) การใช้เหตุผลแบบจำแนกนามรูปจากจุดเล็กขยายไปสู่จุดใหญ่ เช่น การจำแนกองค์ประกอบของชีวิตออกเป็นธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ เป็นต้น ว่าตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ วิธีการนี้อาจเรียกสั้นๆว่าการใช้เหตุผลแบบวิภัชชวาท วิธีนี้จะมีปฏิจจสมุปบาทเป็นฐานรองรับ ๒) การใช้เหตุผลในเชิงเปรียบเทียบ คือการอ้างเหตุผลโดยการใช้สื่อประกอบเพื่อเพิ่มความเข้าใจหลักนามธรรม จึงยกอุปมาอุปไมยมาแสดงให้เข้าใจ เช่น การเปรียบเทียบขันธ์ ๕ ว่ารูปเปรียบเหมือนกลุ่มฟองน้ำ เวทนาเปรียบเหมือนฟองน้ำ สัญญาเปรียบเหมือนพยับแดด สังขารเปรียบเหมือนต้นกล้วย และวิญญาณเปรียบเหมือนมายากล ๓) การใช้เหตุผลแบบอนุมานตนเองกับผู้อื่น เป็นการใช้ตรรกสำหรับตรวจสอบคุณธรรมของตนและผู้อื่น เช่น การอนุมานว่า บุคคลที่มีความปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในความปรารถนาที่เป็นบาป ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา ถ้าเราจะพึงเป็นบุคคลเช่นนั้น เราก็คงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนเหล่าอื่นเช่นเดียวกัน เป็นต้น ๔) การใช้เหตุผลแบบสมมติภาพเหตุการณ์ เป็นการใช้เหตุผลอธิบายธรรมโดยยกตัวอย่างหรือนิทาน เรื่องเล่าในอดีตมาประกอบให้เข้าใจคำสอน เช่น ในอุปาลิวาทสูตร ๕) การใช้เหตุผลแบบขยายธรรมวิจิตร หรือเทศนาวิจิตร เป็นวิธีการอธิบายเรื่องจิต เจตสิก ให้พิสดาร หรือการเล่าประวัติศาสตร์อันยืดยาว วิธีนี้จะใช้กับกลุ่มบุคคลผู้มากด้วยทิฏฐิมานะว่าตนมีปัญญามาก ไม่ยอมรับฟังทัศนคติหรือความคิดเห็นของใครง่าย เช่น พระพุทธเจ้าทรงกำราบความถือตัวของอัมพัฏฐมาณพ ซึ่งถือตัวว่าเป็นคนมีความรู้มาก ในที่สุดเมื่อได้ฟังประวัติเกี่ยวกับชาติกำเนิดของตนจากพระพุทธองค์ เขาก็ยอมรับเพราะตัวเขาเองก็ยังไม่รู้ชาติกำเนิดของตนทั้งหมด ๖) การใช้เหตุผลแบบกลับความหมายของคำ เป็นวิธีการที่พระพุทธเจ้านำคำที่คนในพื้นที่หรือชุมชนใช้พูดหรือเรียกกันซึ่งมีความหมายที่คนในพื้นที่หรือชุมชนนั้นเข้าใจหรือมีความเชื่อตรงกันเช่น คำว่า อรหันต์ พราหมณ์ ภิกษุ อริยะ สภา มาใช้อธิบายให้ความหมายใหม่ที่ให้แง่คิดปรับทัศนะที่ถูกต้องเป็นสัมมาทิฏฐิแก่คนในพื้นที่หรือชุมชนนั้น ๆ ไม่ต้องมีความเชื่อผิด ๆ อีกต่อไป ๗) การใช้เหตุผลแบบกระบวนการ เป็นวิธีการตอบปัญหาแบบตรรกนัย ประกอบด้วยหลักการ ๕ อย่าง คือ (๑) อนุโลมปัญจกะ การถามตามลำดับ (๒) ปฏิกัมมจตุกกะ การโต้กลับของฝ่ายที่ถูกถาม (๓) นิคคหจตุกกะ การกล่าวข่มโดยฝ่ายถูกถาม (๔) อุปนยนจตุกกะ การรับรองวิธีการนิคคหะที่ตนทำคือวิธีการที่ ๓ ว่าถูกต้อง และวิธีการของฝ่ายถามคืออนุโลมปัญจกะนั้นผิด (๕) นิคคมจตุกกะ การสรุปการโต้ตอบว่า ฝ่ายถามทำนิคคหะไม่ถูกต้อง ส่วนฝ่ายตนทำถูกต้องทุกกระบวนการ คือทำปฏิกัมมะ นิคคหะ อุปนยนะ และนิคคมะ เมื่อฝ่ายถูกถามทำการโต้กลับทุกประเด็นแล้ว ก็เป็นฝ่ายถามก่อนบ้าง ขั้นแรกเรียกว่า (๑) ปัจจนีกานุโลมะ และขั้นที่ ๒-๕ ก็มีชื่อเรียกอย่างเดียวกัน โดยฝ่ายถูกถามโต้กลับและสรุปว่าตนเป็นฝ่ายถูกต้อง การถามและโต้ตอบกันในคัมภีร์กถาวัตถุทั้งหมดก็จะดำเนินการด้วยหลัก ๕ อย่างนี้ ผลที่เกิดจากการใช้เหตุผลคือ ผลที่เกิดสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ ๑) ผลที่เกิดขึ้นแก่เหล่าสาวก ๒) ผลที่เกิดขึ้นแก่เหล่าเดียรถีย์หรือนักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา ผลที่เกิดขึ้นแก่เหล่าสาวกคือ ทำให้พระสาวกเกิดปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงในพระธรรม ไม่เคลือบแคลงสงสัยในพระรัตนตรัยและปัญหานั้นๆ เกิดศาสนทายาท และทำให้พระสัทธรรมเจริญตั้งมั่น คงทนต่อการพิสูจน์เสมอ สำหรับผลที่เกิดแก่เหล่าเดียรถีย์คือ เดียรถีย์ทั้งหลายเข้าใจหลักพระพุทธศาสนา ไม่กล่าวร้ายพระรัตนตรัย ที่สำคัญสาวกของเจ้าลัทธิบางพวกประกาศตนเป็นอุบาสกนับถือพระรัตนตรัยตลอดชีวิต | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | แนวคิดทฤษฎีการใช้เหตุผลโดยทั่วไปและในพระพุทธศาสนา | en_US |
dc.subject | วิเคราะห์การใช้เหตุผล | en_US |
dc.subject | ผลที่เกิดจากการใช้เหตุผล(Reason) | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์การใช้เหตุผลในพระไตรปิฎก | en_US |
dc.title.alternative | An Analysis of the Usage of the Reason in Tipiţaka | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2551-026 ดร.ประพันธ์ ศุภษร.pdf | 2.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.