Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/243
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจันทร์แดง, ประยงค์-
dc.date.accessioned2022-03-15T08:22:58Z-
dc.date.available2022-03-15T08:22:58Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/243-
dc.description.abstractงานวิจัยครัง้ นีมี้วัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาสาระสาคัญและรูปแบบโครงสร้างของมหา ปรินิพพานสูตร ๒)วิเคราะห์ประเด็นทางปรัชญาในมหาปรินิพพานสูตร และ ๓) วิเคราะห์คุณค่า ของมหาปรินิพพานสูตรที่มีต่อสังคมปัจจุบัน การศึกษาครัง้ นีเ้ป็นการวิจัยเอกสารโดยเน้น พระไตรปิฎกบาลีและคัมภีร์ชัน้ รองหรืองานวิชาการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ผลการวิจัยพบว่า มหาปรินิพพานสูตรเป็นพระสูตรที่มีเนือ้ หาขนาดยาวที่สุดใน พระไตรปิฎก แบ่งเนือ้ หาสาหรับท่องจาและสาธยายออกเป็น ๖ ตอน (ภาณวาร) โดย เริ่มจาก ตอน ที่พระเจ้าอชาตศัตรูดาริจะตีแคว้นวัชชีจึงมีพระบัญชาให้วัสสการพราหมณ์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าบน เขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์ จากนัน้ เสด็จจาริกเรื่อยไปโดยมีท่านพระอานนท์และภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ติดตามสู่เขตแดนแคว้นวัชชี เมืองเวสาลี เมืองปาวา และถึงที่ปรินิพพานคือเมืองกุสินาราโดย ประทับสีหไสยาสน์ใต้ต้นสาละคู่ในสาลวโนทยานของพวกเจ้ามัลละ ในแต่ละที่ที่เสด็จถึงทรงพบ และแสดงธรรมโปรดบุคคลต่างๆ ที่มาเฝ้า ในตอนท้ายก่อนจะเสด็จดับขันธปรินิพพานตรัสสั่งเสีย ให้ยึดพระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนและให้ดาเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาทแล้วพระสูตรก็จบลงที่ การแบ่งพระบรมสารีริกธาตุหลังถวายพระเพลิงพุทธสรีระเสร็จแล้ว มหาปรินิพพานสูตรถูกจัดไว้ในมหาวรรค ทีฆนิกาย เนื่องจากเป็นพระสูตรที่มีเนือ้ หา ขนาดยาว จึงเป็นการจัดตามขนาดของเนือ้ หา ตลอดพระสูตรนีมี้เนือ้ หาหรือข้อความที่ซา้ ๆ กัน หลายแห่ง เช่น เรื่องไตรสิกขาที่พระพุทธเจ้าตรัสซา้ ๆ กันตลอดทัง้ พระสูตร สันนิษฐานว่าอาจมีการ ประมวลเนือ้ หาจากที่อื่นๆ ในพระไตรปิฎกมาเพิ่มเติมจึงทาให้พระสูตรนีมี้เนือ้ หายาวขึน้ แต่เนือ้ หา บางตอนที่กล่าวไว้โดยย่อในมหาปรินิพพานสูตรก็มีการนาไปขยายความในพระสูตรอื่นก็มี เช่น ใน มหาสุทัสสนสูตรขยายความเรื่องอดีตชาติที่พระพุทธเจ้าเคยเสวยพระชาติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ พระนามว่ามหาสุทัสสนะ ในส่วนการวิเคราะห์เชิงปรัชญานัน้ สามารถแยกพิจารณาตามสาขาต่างๆ ของปรัชญา ดังนี ้๑) สาขาจริยศาสตร์ พบว่า มีเรื่องสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตคือความสุขซึ่งมี ๒ ระดับ คือ ทิฏฐ- ข ธัมมิกัตถะ ความสุขระดับต้นหรือกามสุข และสัมปรายิกัตถะ ความสุขระดับสูงคือนิพพาน แนว ทางการเข้าถึงความสุขดังกล่าวมีแสดงไว้หลายประการตลอดพระสูตรแต่อาจสรุปลงได้ในหลัก ไตรสิกขา คือ ระดับต้น โดยการดาเนินตามหลักศีล ส่วนระดับสูงโดยการดาเนินตามหลักสมาธิ และปัญ ญ า ๒) สาขาอภิปรัชญ า พบว่า มีเรื่องเหนือวิสัยสามัญ คือมารและเทวดาที่มี อิทธิปาฏิหาริย์ที่เกิดจากผลบุญที่ได้เคยทาไว้สมัยเป็นมนุษย์ เช่น บันดาลให้มีเครื่องสักการบูชา จากสวรรค์เพื่อบูชาพุทธสรีระ ๓) สาขาตรรกศาสตร์ พบว่า มีเรื่องการใช้เหตุผลแบบนิรนัยของท่าน พระสารีบุตรที่แสดงวิธีคิดของท่านว่าเหตุใดท่านจึงเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า และ ๔) สาขาญาณ วิทยา พบว่า แหล่งที่มาของความรู้คือมหาปเทส ๔ ซงึ่ เป็นเกณฑ์ตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลว่า จริงหรือเท็จ และอีกเรื่องหนึ่งคือความรู้ความสามารถพิเศษของพระพุทธเจ้า เช่น การหายตัวได้ การรู้จักภพภูมิของผู้ที่ตายไป การทานา้ ขุ่นให้กลายเป็นนา้ ใส และของพระอนุรุทธะที่มองเห็นและรู้ ใจเทวดาต่างๆ ความรู้พิเศษเช่นนีเ้ กิดจากการปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุอรหัตผลและได้อภิญญา ต่างๆ ส่วนคุณค่าของมหาปรินิพพานสูตรที่มีต่อสังคมนัน้ พบว่า พุทธดารัสหลายตอนในมหา ปรินิพพานสูตรทาให้เกิดคุณค่าด้านจริยศาสตร์และด้านสุนทรียศาสตร์ คือ ด้านจริยศาสตร์เป็น คุณค่านอกตัวที่เป็นสื่อนาไปสู่ความดีสูงขึน้ ไปตามลาดับ ได้แก่ การไปแสวงบุญยังสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง คือ ที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน คตินิยมในการสร้างสถูปเจดีย์บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ การยึดพระธรรมวินัยเป็นศาสดาที่ต่อมาทาให้เกิดมีการสังคายนาแล้วรวบรวม เป็นพระไตรปิฎก และการปรินิพพานเป็นเหตุการณ์สาคัญหนึ่งใน ๓ ของวันวิสขาบูชาที่องค์การ สหประชาชาติยกย่องเป็นวันสาคัญสากลของโลก ส่วนด้านสุนทรียศาสตร์ เป็นคุณค่าทางใจที่ จาแนกได้ ๒ ระดับ คือ ระดับผัสสะ เป็นคุณค่าที่รู้สึกประทับใจและเป็นสุขชวั่ ขณะที่มีต่อสังเวชนีย สถาน พระสถูปเจดีย์ พระไตรปิฎก หรือวันวิสาขบูชา และระดับเพ่งพินิจ เป็นความดื่มด่าซาบซึง้ และเกิดปัญญาซึ่งพัฒนามาจากระดับผัสสะen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการศึกษาวิเคราะห์en_US
dc.subjectปรัชญาen_US
dc.subjectมหาปรินิพพานสูตรen_US
dc.titleการศึกษาวิเคราะห์เชิงปรัชญาในมหาปรินิพพานสูตรen_US
dc.title.alternativeA Philosophical Approach in Mahāparinibbāna Suttaen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2558-109ผศ.ดร. ประยงค์ จันทร์แดง.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.