Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/242
Title: | การประยุกต์ใช้หลักคาสอนด้านนิเวศวิทยาในพระไตรปิฎกเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของ พระสงฆ์ในจังหวัดอุดรธานี |
Other Titles: | An application of the doctrine related to the ecology on Tipitaka for conserve the environment of Buddhist monks in UdonThani Province |
Authors: | มูลยาพอ, เจษฎา |
Keywords: | การประยุกต์ใช้หลักคำสอน นิเวศวิทยาในพระไตรปิฎก การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พระสงฆ์ในจังหวัดอุดรธานี |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักคาสอนด้านนิเวศวิทยาในพระไตรปิฎกเพื่อการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพระสงฆ์ในจังหวัดอุดรธานี เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพระสงฆ์ในจังหวัดอุดรธานี และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมและอุปสรรคของการมีส่วนรวมของชุมชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพระสงฆ์ในจังหวัดอุดรธานี โดยเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ และแบบการสังเกต การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์และสังเกตแบบมีส่วนร่วม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ประกอบด้วย พระสงฆ์ ผู้นาชุมชน และประชาชน จานวน ๓๐ คน วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความและสร้างข้อสรุปจากบทบาทของ พระเทพรัตนมุนี ท่านได้มีแนวทางในการนาสติปัฏฐาน ๔ มาประยุกต์ใช้ในการปลูกพืช ผัก ทุกชนิด ด้วยวิธีการก่อนปลูกใช้สติต้องรู้ว่าจะทาอะไร เมื่อรู้แล้วว่าจะต้องปลูกพืช เช่น แก้วมังกร จะต้องศึกษาพันธุ์พืชก่อน วิธีการปลูก การรักษา การใช้ปุ๋ย การบารุง จนกระทั่งออกดอกออกผลเก็บผลผลิตได้ ขั้นตอนทั้งหมดต้องใช้ความพยายาม อดทนและจะไม่มีความโกรธเมื่อเจอปัญหาอุปสรรค เช่น แมลงกัดกินดอก กินผล ทาให้ผลผลิตไม่ได้ผลดี ท่านก็มีวิธีการแก้ไขโดยการปลูกพืชที่แมลงไม่ชอบ หรือใช้น้าสกัดจาก สมุนไพรมาผสมน้าฉีด น้าหมักจากพืชจนกลายเป็นจุลินทรีย์ ซึ่งได้ศึกษาและจัดทาขึ้นใช้เองเป็นต้น จึงทาให้ระบบนิเวศวิทยาในธรรมสถานแห่งนี้ยังคงมีอยู่และเจริญงอกงามจนเป็นป่าใหญ่มีไม้นานาพันธุ์ พร้อมกับความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จึงถือได้ว่าเป็นปัจจัยส่งเสริมในการอนุรักษ์ป่าไม้ให้คงอยู่ผลสัมฤทธิ์จากการดาเนินงานพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม ทาให้วัดและธรรมสถานสวนป่า ฯ เป็นศูน ย์กลางในการให้ความช่วยเหลือในด้านของจิตใจ โดยเน้นให้ธรรมะเป็นเครื่องมือในช่วยเหลือ บุคคลที่เข้ารับการอบรม เป็นบุคคลที่อยู่กับสังคมมาโดยตลอด เมื่อมีปัญหาวัตถุไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้หมดทุกอย่าง การแก้ปัญหาทางด้านนามธรรมจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เป็นสิ่งแก้ไขปัญหา บทบาทของท่านพระครูพุทธยานบ้านเชียง ถ้าขาดพระสงฆ์คงจะไม่สามารถตั้งอยู่ได้ขนาดนี้ ซึ่งกว่า จะมาถึงจุดนี้ได้ก็หนักพอสมควร และถ้ายิ่งไม่มีแรงสนับสนุนจากทางพระเถระผู้ใหญ่ก็คงจะลาบาก แต่ถึงกระนั้นพวกเราชาวบ้านก็มีความหนักแน่นร่วมแรงร่วมใจกันอย่างเต็มที่ จนสามารถสร้างสถานที่แห่งนี้ให้เป็นฐานแหล่งการศึกษาค้นคว้าวิจัยพันธุ์ไม้ธรรมชาตินานาชนิด และเป็นต้นแบบของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งอื่นๆอีก เพราะป่าถ้าเราไม่ทาลายมันก็เป็นระบบของมันรูปแบบที่ดาเนินการอยู่คือป่าชุมชนนี้ ถึงไม้จะไม่สมบูรณ์นักแต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ถ้าเราไม่ทาป่านี้ก็คงไม่มีป่า นั่นหมายถึงว่า มีปัจจัยที่ส่งเสริมหลายประการ โดยเฉพาะพื้นที่ป่านั้นมีความเหมาะสมมาก หากไม่ได้รับการพัฒนาย่อมเป็นที่น่าเสียดาย ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือด้วยดีในการรักษาป่าโดยความร่วมมือกับชุมชน ชาวบ้าน ให้ความเคารพยาเกรง ทางราชการและสถาบันการศึกษาเข้ามาช่วยเช่นกิจกรรมบวชต้นไม้ การประยุกต์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเช่นการไม่เบียดเบียน การไม่ทาลายสิ่งมีชีวิต ผลที่เกิดจากกิจกรรมส่งผลในทางบวกคือ ต้นไม้ไม่ถูกทาลาย ทาให้มีป่าเพิ่มขึ้น ให้ความสดชื่น เขียวงามธรรมชาติสวยด้วยตัวของมันเอง ทาให้จิตใจของผู้ได้พบเห็นสงบเย็น นอกจากชาวบ้านแล้วพระสงฆ์ก็ถือว่ามีบทบาทสาคัญ เพราะคนเข้ามาวัดถ้าเห็นพระแล้วก็สบายใจ เหมือนกับเข้าป่าถ้าไม่เห็นร่องรอยในการดูแล ก็คิดเห็นอย่างเดียวคือผี ป่าธรรมชาตินั้นไม่ต้องการอะไรมากเพียงแต่อย่าให้ไฟไหม้เท่านั้นพอ ธรรมชาติเขาจะปรับสมดุลเอง |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/242 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2556-046 ดร.เจษฎา มูลยาพอ.pdf | 3.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.