Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/241
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorแผนสมบุญ, พุทธชาติ-
dc.contributor.authorจึงเสถียรทรัพย์, โกศล-
dc.contributor.authorสาระรัมย์, ธนวรรณ-
dc.date.accessioned2022-03-15T08:16:58Z-
dc.date.available2022-03-15T08:16:58Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/241-
dc.description.abstractการวิจัยนี้จุดมุ่งหมายเพื่อ ๑) ศึกษาสภาพและปัญหาการใช้สอยพื้นที่ในที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุในพื้นที่เป้าหมาย ๒) ปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัยให้มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัยเพื่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ๓) นำเสนอต้นแบบสภาพที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้สูงอายุ ตำบลดอนไร่ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการการปรับสภาพที่อยู่อาศัย จำนวน ๓ ราย ผลการวิจัยด้านสภาพปัญหาการใช้ที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุในพื้นที่เป้าหมาย พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ ตั้งรกรากมาตั้งแต่บรรพบุรุษ มีอาชีพเกษตรกรรม ที่อยู่อาศัยเป็นบ้านใต้ถุนสูง แต่เมื่อเข้าถึงวัยสูงอายุสภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวยในการใช้พื้นที่ด้านบนของบ้าน จึงต้องเปลี่ยนมาใช้สอยพื้นที่เป็นด้านล่างเป็นหลัก สภาพปัญหาการใช้พื้นที่ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาการเข้าถึงพื้นที่ใช้สอยลำบาก จากสาเหตุ ๒ ประการคือ (๑) สภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวย (๒) ลักษณะพื้นที่ไม่เหมาะกับสภาพร่างกาย ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ จากการศึกษาด้านการใช้พื้นที่และกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุทั้ง ๓ กรณีพบว่าปัญหาพื้นต่างระดับเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวบนพื้นราบสำหรับผู้สูงอายุในการใช้ชีวิตประจำวันบนระนาบพื้นบ้าน ซึ่งมีความต้องการพื้นที่ใช้สอยไม่มาก ในขณะที่ผู้สูงอายุที่สามารถเคลื่อนที่บนรถเข็นจะต้องการใช้พื้นที่ที่มากกว่า โดยทั้งสองแบบต้องมีความสะดวก ปลอดภัย ปราศจากสิ่งกีดขวางและเป็นพื้นที่ใช้สอยเอนกประสงค์ การดำเนินการปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุทั้ง ๓ กรณี พบว่า การร่วมมือของท้องถิ่นมีความสำคัญและมีประสิทธิภาพมาก เช่น แรงงานจากจิตอาสา วัสดุที่นำมาใช้ และแนวคิดการปรับปรุงที่กลมกลืนกับบริบทสังคม ต้นแบบที่อยู่อาศัยที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คือการหลีกเลี่ยงพื้นที่ต่างระดับ ระยะและขนาดพื้นเหมาะสมกับลักษณะทางกายภาพและการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สุงอายุ ความสะดวกและความปลอดภัย การจัดการพื้นที่ให้ใช้สอยได้เอนกประสงค์ และการจัดพื้นที่ให้สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับสังคมเพื่อลดหรือป้องกันปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการปรับสภาพที่อยู่อาศัยen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุen_US
dc.titleการพัฒนาต้นแบบการปรับสภาพที่อยู่อาศัยเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Housing Modification Model for Promotion Elderly Life Qualityen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-250 ดร.พุทธชาติ แผนสมบุญ.pdf22.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.