Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/240
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนุ่นทอง, สุขอุษา-
dc.contributor.authorพระครูศรีหิรัญธรรมาทร-
dc.contributor.authorแช่มศรีรัตน์, สุริยะ-
dc.date.accessioned2022-03-15T08:14:11Z-
dc.date.available2022-03-15T08:14:11Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/240-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (๑) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดการตนเองของชุมชนลุ่มแม่น้ำตาปี (๒) เพื่อส่งเสริมเครือข่ายในการจัดการตนเองของชุมชนลุ่มแม่น้ำตาปี (๓) เพื่อวิเคราะห์ความเป็นพลวัตภาคประชาสังคมการจัดการตนเองลุ่มแม่น้ำตาปีจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามในพื้นที่ชุมชนลีเล็ด ชุมชนท่าฉาง ชุมชนเลม็ด และชุมชนพุมเรียง ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ทะเลรอบอ่าวบ้านดอน ผลการวิจัย พบว่า (๑) การมีส่วนร่วมในการจัดการตนเองของชุมชนลุ่มแม่น้ำตาปี แบ่งออกเป็น ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านพื้นที่ พบว่าชุมชนลุ่มแม่น้ำตาปีร่วมกันเสียสละพื้นที่ สร้างสำนักงานกลุ่มท่องเที่ยวชุมชน สร้างถนนของชุมชน สร้างสะพานชมตลาด,ชมธรรมชาติ สร้างศูนย์อาหารชุมชน แบ่งเป็นพื้นที่ตั้งร้านค้าชุมชน สร้างห้องสุขาชุมชน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก พบว่าชุมชนลุ่มแม่น้ำตาปีให้บริการบ้านพักโฮมสเตย์ บริการกิจกรรมสันทนาการ บริการร้านค้าสินค้าโอทอป, และให้บริการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ด้านสภาพแวดล้อม พบว่าชุมชนลุ่มแม่น้ำตาปีมียามรักษาความปลอดภัย จัดนำเที่ยวโดยเจ้าหน้าที่ สร้างกฎเกณฑ์ (๒) การส่งเสริมเครือข่ายในการจัดการตนเองของชุมชนลุ่มแม่น้ำตาปี แบ่งออกเป็น ๒ ด้าน ได้แก่ ด้านการค้นหาคุณค่าและอัตลักษณ์ของศิลปะในแต่ละชุมชน พบว่า คุณค่าและอัตลักษณ์ของศิลปะในแต่ละชุมชน คือ ธรรมชาติป่าชายเลน วิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์ OTOP สินค้าจากชุมชน ด้านการส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่า พบว่า การส่งเสริมเครือข่ายในการจัดการตนเองของชุมชนต้องสร้างโปรแกรมการท่องเที่ยวเส้นทางธรรมชาติ จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวภายในชุมชนและเชื่อมต่อส่งต่อเครือข่ายชุมชนอื่น (๓) วิเคราะห์ความเป็นพลวัตภาคประชาสังคมในการจัดการตนเองของชุมชนลุ่มแม่น้ำตาปี พบว่า ลักษณะประการแรกเกิดจาการมีส่วนร่วมในการจัดการตนเอง ทั้งด้านพื้นที่ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านสภาพแวดล้อม ลักษณะประการที่สองส่งเสริมเครือข่ายในการจัดการตนเอง ๓ ด้าน ได้แก่ การค้นหาคุณค่าและอัตลักษณ์ของศิลปะในแต่ละชุมชน การส่งเสริมพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่า การส่งเสริมอนุรักษ์และเชื่อมโยงเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนลุ่มแม่น้ำตาปีen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectพลวัตภาคประชาสังคมen_US
dc.subjectการมีส่วนร่วมในการจัดการตนเองen_US
dc.subjectการส่งเสริมเครือข่ายในการจัดการตนเองen_US
dc.titleพลวัตภาคประชาสังคมในการจัดการตนเองลุ่มแม่น้ำตาปีจังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.title.alternativeCivil Society Dynamic for Self Management in the Tapee Basin Community in Surat Thani Province.en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-116 ดร.สุขอุษา นุ่นทอง.pdf3.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.