Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/239
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอินทปญฺโญ, พระมหาเกรียงศักดิ์-
dc.contributor.authorกนฺตวณฺโณ, พระมหาจีรวัฒน์-
dc.contributor.authorคาโสภา, ถวิล-
dc.contributor.authorคาโสภา, นายสุรัตน์-
dc.date.accessioned2022-03-15T08:08:47Z-
dc.date.available2022-03-15T08:08:47Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/239-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ (๑) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาศักยภาพ ของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนในจังหวัดลาปาง (๒) พัฒนาศักยภาพของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนใน จังหวัดลาปาง และ (๓) เสรอรูปแบบสาหรับพัฒนาศักยภาพของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนในจังหวัด ลาปาง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และการวิจัย เชิงปริมาณ (Quantitative Research) การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระสอน ศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดลาปาง จานวน ๑๑๐ รูป ด้วยแบบสอบถาม ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดย หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบการพัฒนาศักยภาพของ พระสอนศีลธรรมในโรงเรียนใช้การทดสอบค่าที (t-test) ส่วนการเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูล สาคัญจานวน ๓๐ รูป ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง โดยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว และ จากการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้มีส่วนร่วมในการสนทนากลุ่มจานวน ๑๕ รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการ พรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า ๑. สภาพปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนใน จังหวัดลาปาง พบว่า โดยรวมมีปัญหาด้านการฝึกอบรม ด้านการศึกษา และด้านการพัฒนา มีการ พัฒนาน้อย ๒. ระดับการพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนในจังหวัดลาปาง พบว่า โดย ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย = ๒.๗๙ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ใน ระดับปานกลาง และเรียงลาดับค่าเฉลี่ยในแต่ละด้านจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านการพัฒนา มี ค่าเฉลี่ย = ๒.๙๘ ด้านการฝึกอบรม มี่ค่าเฉลี่ย = ๒.๘๐ ด้านการศึกษา มีค่าเฉลี่ย = ๒.๗๗ ตามลาดับ ๓. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนในจังหวัดลาปาง พบว่า ๑) ด้านการฝึกอบรม ได้แก่ กาหนดเกณฑ์คัดเลือก “พระต้นแบบ” เพื่อยกย่องเป็นแบบอย่างในพัฒนา พระ ให้เป็นผู้นาการเปลี่ยนแปลงทางศีลธรรมอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน จัดระบบเต็มรูปแบบให้มี ความชัดเจน ยอมรับและสนับสนุนให้เป็นทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒) การศึกษา ได้แก่ ระดม ผู้ชานาญการหรือผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้จัดทาคู่มืออย่างเป็นระบบและติดตามสอบถามให้มีความรู้ ให้ ทันต่อความต้องการอย่างแท้จริง ๓) การพัฒนา ได้แก่ ผลจากการปฏิบัติงานของพระสอนศีลธรรม ปรากฏชัดเจนในการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนที่ได้รับโอกาสเข้าเรียนกับพระ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ นักเรียนสอบธรรมศึกษาทั้งนักธรรม ตรี โท เอก จำนวนมากen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาศักยภาพen_US
dc.subjectพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนen_US
dc.titleการพัฒนาศักยภาพของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนในจังหวัดลาปางen_US
dc.title.alternativeThe Competency Developing of Monk’s Teaching Morality at School in Lampang Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.