Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/237
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอารีกุล, ชนันภรณ์-
dc.contributor.authorฐิตปญฺโญ (บุตรดี), พระครูสมุห์ทอง-
dc.contributor.authorแซวรัมย์, สุวิทย์-
dc.contributor.authorจอมมงคล, อรรถพล-
dc.date.accessioned2022-03-15T07:58:54Z-
dc.date.available2022-03-15T07:58:54Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/237-
dc.description.abstractการวิจัย “การพัฒนารูปแบบความเป็นครูในศตวรรษที่ ๒๑ บนพื้นฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพเชิงพุทธบูรณาการ” ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบความเป็นครูในศตวรรษที่ ๒๑ บนพื้นฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพเชิงพุทธบูรณาการ ๒) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันขององค์ประกอบความเป็นครูในศตวรรษที่ ๒๑ บนพื้นฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพเชิงพุทธบูรณาการ และ ๓) เพื่อพัฒนารูปแบบความเป็นครูในศตวรรษที่ ๒๑ บนพื้นฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพเชิงพุทธบูรณาการ วิธีดาเนินการวิจัยแบ่งเป็น ๓ ระยะ ได้แก่ ๑) การศึกษาเอกสาร (documentary study) การสังเคราะห์งานวิจัยโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ๒) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor analysis) และ ๓) การวิจัยโดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศ จานวน ๒๖๕ รูป/คน และผู้เชี่ยวชาญจานวน ๒๐ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถามเพื่อยืนยันองค์ประกอบและแบบสอบถามเดลฟาย สาหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยใช้โปรแกรม LISREL ๙.๓ ผลการวิจัยพบว่า ๑) องค์ประกอบความเป็นครูในศตวรรษที่ ๒๑ บนพื้นฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพเชิงพุทธบูรณาการ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านทักษะการคิด และหลักธรรมสาหรับความเป็นครู ๒) องค์ประกอบความเป็นครูในศตวรรษที่ ๒๑ พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ (x2) เท่ากับ ๑๙๒.๖๗ ค่าความน่าจะเป็น (P- value) เท่ากับ ๐.๐๐๐ ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ ๑๐๔ ค่าสถิติไคสแควร์สัมพัทธ์ (x2/df) เท่ากับ ๑.๘๕ ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ ๐.๙๐ ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับค่า แล้ว (AGFI) เท่ากับ ๐.๘๕ ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ ๐.๙๙ ค่าเฉลี่ย กาลังสองของเศษเหลือในรูปของคะแนนมาตรฐาน (RMSEA) เท่ากับ ๐.๐๖๕ ค่าน้าหนักองค์ประกอบ ในรูปคะแนนมาตรฐาน (𝛽) อยู่ระหว่าง ๐.๒๙ ถึง ๐.๙๕ มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .๑๐en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectความเป็นครูen_US
dc.subjectจรรยาบรรณวิชาชีพen_US
dc.subjectพุทธบูรณาการen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบความเป็นครูในศตวรรษที่ ๒๑ บนพื้นฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพเชิงพุทธบูรณาการen_US
dc.title.alternativeThe Development of Being a Professional Teacher in the 21st Century Model Based on the Ethics of Profession with Buddhism Integrationen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-316 นางสาวชนันภรณ์ อารีกุล.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.