Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/236
Title: | การวิเคราะห์แนวคิดและคุณค่าของพระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทย |
Other Titles: | Analysis of Concepts and Value of the Important Buddha Images in Thai Society |
Authors: | พิธิยานุวัฒน์, เจตนิพัทธ์ ยอดบุญ, พรภิรมย์ |
Keywords: | แนวคิด คุณค่า พระพุทธรูปสำคัญ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัย เรื่อง การวิเคราะห์แนวคิดและคุณค่าของพระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทย มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทย เพื่อศึกษาคุณค่า เกี่ยวกับพระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทย และเพื่อวิเคราะห์แนวคิด ความเชื่อและคุณค่าของ พระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ เจ้าอาวาส ผู้นำชุมชน นักวิชาการ ศาสนาและประวัติศาสตร์พุทธศิลป์ ประชาชนผู้มานมัสการพระพุทธรูปสำคัญ รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด จำนวน ๑๗ รูป/คน ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (Key-Informant) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ผลการศึกษาพบว่า ๑. แนวคิดและความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทย พบว่า พระพุทธรูปสำคัญ แต่ละองค์ ส่วนใหญ่มีประวัติความเป็นมาที่เชื่อมโยงหากัน และมีความเกี่ยวข้องกับการสัญจรทางน้ำ เป็นหลัก เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง มีประชาชนเลื่อมใสศรัทธาจำนวนมาก และเป็นที่ยึดเหนี่ยว จิตใจ ส่วนใหญ่ประชาชนเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ ช่วยดลบันดาลให้ประสบความสำเร็จสมดั่งปรารถนา สามารถคุ้มครองปกป้องภยันตรายต่างๆ รวมทั้งช่วยให้ผู้ที่มาบนบานสานกล่าว ให้ประสบความสำเร็จ ในการในสิ่งที่ตนเองปรารถนาได้ ๒. คุณค่าเกี่ยวกับพระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทย พบว่า ๑) คุณค่าด้านจิตใจ พระพุทธรูป สำคัญเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ มีที่พึ่งพึงทางใจให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย อุ่นใจ สบายใจ และเป็นสิ่ง เตือนใจในการประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีงาม ละเว้นจากการทำชั่วทั้งปวง ๒) คุณค่าด้านสังคม ทำให้เห็น ถึงสภาพสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละจังหวัดที่มีความหลากหลาย ตลอดจนความหลากหลายในการ ประกอบอาชีพ และมีความเชื่อพื้นฐานที่เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ก่อให้เกิดความรักใคร่ สามัคคีกลมเกลียวกันในสังคม ๓) คุณค่าด้านวัฒนธรรม พบว่า พระพุทธรูป สำคัญที่มีประชาชนเคารพนับถือเป็นจำนวนมาก ช่วยก่อให้เกิดประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ เกี่ยวกับ พระพุทธรูปองค์นั้นๆ แต่มีการปฏิบัติสืบทอดต่อๆ กันมาจากรุ่นสู่รุ่น ๔) คุณค่าด้านเศรษฐกิจ ช่วยทำ ให้การท่องเที่ยวในจังหวัดดียิ่งขึ้น เมื่อประชาชนหลั่งไหลกันมาสักการะ ก็จะมีการจับจ่ายใช้สอย ร้านค้าต่าง ๆ ช่วยทำให้ชาวบ้านในบริเวณโดยรอบมีอาชีพ มีรายได้ ๓. การวิเคราะห์แนวคิด ความเชื่อและคุณค่าของพระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทย พบว่า พระพุทธรูปสำคัญแต่ละองค์ ส่วนใหญ่มีประวัติความเป็นมาที่เชื่อมโยงหากัน และมีความเกี่ยวข้องกับ การสัญจรทางน้ำเป็นหลัก เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง มีประชาชนเลื่อมใสศรัทธาจำนวนมาก เป็นที่ ยึดเหนี่ยวจิตใจ ประชาชนเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ ช่วยดลบันดาลให้ประสบความสำเร็จสมดั่งปรารถนา ข สามารถคุ้มครองปกป้องภยันตรายต่าง ๆ รวมทั้งช่วยให้ผู้ที่มาบนบานสานกล่าว ให้ประสบความสำเร็จ ในการในสิ่งที่ตนเองปรารถนาได้ แต่การเข้าไปอาศัยอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อหวังอำนาจดลบันดาลให้ เกิดโชคลาภเป็นต้น การปฏิบัติเช่นนี้ย่อมไม่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา และขัดกับหลักความไม่ ประมาท ดังนั้นจึงควรทำตนให้เป็นที่พึ่งแห่งตน เพราะการหวังอำนาจดลบันดาลทั้งหลาย เป็นการพึ่ง สิ่งภายนอก ขัดต่อหลักการพื้นฐานของพระพุทธศาสนา ที่สอนให้พึ่งตนเอง สอนให้สามารถพึ่งตนได้ และสอนแนวทางแห่งความหลุดพ้น |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/236 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-208นายเจตนิพัทธ พิธิยานุวัฒน.pdf | 5.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.