Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/234
Title: ล้านนา คติความเชื่อ และกระบวนการสร้างความรู้แบบสหวิทยาการ ของนักวิชาการตะวันตก
Other Titles: Lanna, Principles and Beliefs and the Ways to Create Interdisciplinary of the westerner Scholars
Authors: ขันสำโรง, สำราญ
Keywords: ล้านนา
คติความเชื่อ
สหวิทยาการ
นักวิชาการตะวันตก
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ๑.เพื่อศึกษาคติความเชื่อ และวิถีชีวิตของคนล้านนา ในมุมมองของนักคิดนักเขียนชาวตะวันตก ๒. เพื่อศึกบทบาทและกระบวนการเสริมสร้างความรู้แบบสหวิทยาการของชาวตะวันตกต่อล้านนา ๓. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ มุมมองของนักคิดตะวันตกที่มีต่อคติความเชื่อ และวิถีชีวิตของคนล้านนาบทบาทและกระบวนการเสริมสร้างความรู้แบบสหวิทยาการของชาวตะวันตกต่อล้านนา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยข้อมูลคติความเชื่อ และวิถีชีวิตของคนล้านนาศึกษาจาก หนังสือ ๒ เล่มคือ ๑. Ku Daeng – Thirty Years Later A Village Study in Northern Thailand 1954-1984 เขียนโดย คอนราด คิงส์ฮิลล (Konrad Kingshill) และ ๒. An Asian Arcady; The land and people of Northern Siam เขียนโดย รีจินอลด์เล เม (Reginald le May) ข้อมูลเอกสาร บทบาทและกระบวนการเสริมสร้างความรู้แบบสหวิทยาการ ของชาวตะวันตกที่มีต่อล้านนาศึกษาจาก หนังสือจารึกและผลงานของ ดร. ฮันส์ เพนธ์ (Hans Penth) และหนังสือ A Half Century Among the Siammese and the Lao An Autobiography เขียนโดย ศาสนาจารย์แดเนียล แมคกิลวารี (Daniel McGilvary) และข้อมูลเพิ่มเติมจากการสัมภาษณ์ พ่อครูศรีเลา เกษพรหม และผู้ปกครองชยันต์ หิรัญพันธุ์ ผลของการศึกษาพบว่า ๑. ผลการวิจัยในคติความเชื่อ และวิถีชีวิตของคนล้านนา ในมุมมองของนักเขียนชาวตะวันตก พบว่าคนล้านนามีประเพณีและความเชื่อเกี่ยวกับเรื่อง ๑.การเกิด การตายและช่วงเวลาที่สำคัญในชีวิต ๒.ความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีการนับถือผี ๓.ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์/เครื่องรางของขลัง ๔.ความเชื่อเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ/การอยู่ร่วมกันของชุมชน ๕.ความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และ ๖. ความเชื่อเกี่ยวกับเพศและบทบาทของเพศ ๒.ผลการวิจัยในประเด็นที่สอง เรื่องบทบาทและกระบวนการเสริมสร้างความรู้แบบสหวิทยาการของชาวตะวันตกต่อล้านนาพบว่า ดร.ฮันส์ เพนธ์ เป็นผู้มีบทบาทในงานการจารึกของล้านนา นำความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์ (sciences) เช่น ค้นพบวิธีการละลายน้ำรัก ชาดและทองออก โดยไม่ทำลายศาสนวัตถุต่างๆ (ที่มีจารึก) การนำกล้องถ่ายรูปชื่อโรไรเฟ็ก (Rolleiflex) และคอมพิวเตอร์ สังคมศาสตร์ (social sciences) ดร.เพนธ์ ใช้หลักการสังคมวิทยาและมนุษยวิทยากับ ชาวบ้านเพื่อให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลที่จำเป็น มีวิธีการทำงานทั้งกับชุมชน และเพื่อนร่วมงาน มนุษยศาสตร์ (humanities) เป็นผู้เชี่ยวชาญและช่ำชองทางด้านภาษาศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญ ทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี มีความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์ การใช้ความรู้บรรณารักษ์ศาสตร์ ใช้ ศิลปะศาสตร์ในการถ่ายภาพ สำหรับศาสนาจารย์แดเนียล แมคกิลวารีและคณะ ได้มีบทบาทและ กระบวนการในการสรา้ งความร้สู หวิทยการแก่ล้านนาด้านต่างๆ คือ ด้านวิทยาศาสตร์(sciences) และ การแพทย์ (medicine) ด้านสังคมศาสตร์ (social sciences) เข้าใจในระบบสังคมล้านนาในอดีตที่มี ความเชื่อเรื่องผีและวิญญาณ ช่วยเหลือผู้ถูกกล่าวหาว่าผีสิง ให้ที่พักพิงและรับเข้าเป็นคริสต์ชน ใช้ หลักการสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ช่วยผู้ประสพทุพภิกขภัย และด้านมนุษยศาสตร์ (humanities) นำ หลักการด้านการศึกษามาพัฒนาการศึกษาในล้านนา เริ่มจากการเปิดโรงเรียนสตรี และขยายไปสู่ โรงเรียนชาย ใช้สหวิทยาการด้านศิลปะการดนตรีประกอบในการเรียนการสอนศาสนา ๓.ผลศึกษาวิเคราะห์วิเคราะห์มุมมองของนักคิดตะวันตกที่มีต่อคติความเชื่อ และวิถีชีวิตของ คนล้านนา จากการศึกษาพบว่าคิงส์ฮิลล (Konrad Kingshill) รีจินอลด์ เล เม (Reginald le May) มี มุมมองส่วนใหญ่ที่ได้จากข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์ที่ได้เห็น สัมผัส การสนทนาและการพูดคุย มี มุมมองบางส่วนที่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวในการตั้งข้อสังเกต ส่วนบาทและกระบวนการในการสร้าง ความรู้สหวิทยาการของ ดร.ฮันส์ เพนธ์ และศาสนาจารย์ แมคกิลวารี เกิดจากการบูรณาการศาสตร์ ต่างๆเพื่อให้เป็นประโยชน์กับงานของตน ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านวิทยาศาสตร์(sciences) และการแพทย์ (medicine) ด้านสังคมศาสตร์ (social sciences) และด้านมนุษยศาสตร์ (humanities)
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/234
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-153 สำราญ ขันสำโรง.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.