Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/233
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | นริสสโร, เสรีชน | - |
dc.contributor.author | สุขประเสริฐ, ชยาภรณ์ | - |
dc.contributor.author | เศรษฐบุตร, ชมกร | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-15T07:12:38Z | - |
dc.date.available | 2022-03-15T07:12:38Z | - |
dc.date.issued | 2557 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/233 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาประวัติความเป็นมา ของ พระพุทธศาสนาและการสร้างสรรค์พุทธศิลปะของกลุ่มประเทศในประชาคมอาเซียน (๒) ศึกษา ความสัมพันธ์ทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและการสร้างคุณค่าทางสังคมของพุทธศิลปะที่ มีต่อประชาชนของกลุ่มประเทศในประชาคมอาเซียน และ (๓) วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และ การเปลี่ยนแปลงการจัดการพุทธศิลปะของอาเซียนในกระแสโลกาภิวัตน์ การวิจัยนี้เป็นการ วิจัยเชิงคุณภาพคือการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อย มุ่งเน้นศึกษาใน ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนาจานวน ๕ ประเทศ ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย และประเทศที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อินโดนีเซีย ผลการวิจัยพบว่า (๑) พระพุทธศาสนาในกลุ่มประเทศในประชาคมอาเซียนได้รับอิทธิพลประเพณี วัฒนธรรมจากอินเดียและจีนโดยผ่านเส้นทางการค้าและมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่าง กลุ่มคนต่างๆ พระพุทธศาสนามีบทบาทอย่างมากในการเกิดชุมชนเมือง และวางรากฐานของ ชุมชนเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (๒) มรดกทางวัฒนธรรมที่สาคัญของคนในท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อาทิ งาน ทาบุญตานก๋วยสลาก ประเพณีการสืบชะตาของชาวภาคเหนือของประเทศไทย ประเพณีการรับ บัวโยนบัว การบูชารอยพระพุทธบาทของชาวภาคกลางของประเทศไทย วันรดน้าต้นโพธิ์ของ ประเทศพม่า การทาวัตรเช้าเย็นและการขอพรอย่างสม่าเสมอทุกวัน ณ เจดีย์ชเวดากอง ของ ชาวพม่า การตักบาตรข้าวเหนียวของชาวหลวงพระบาง คุณค่าของพุทธศิลป์ในทุกประเทศเป็นเช่นเดียวกันคือ ๑. เป็นสัญลักษณ์หรือตัวแทน ของพระพุทธเจ้า ๒. เป็นเครื่องระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย ๓. เป็นการบันทึกหรือเล่า ประวัติความเป็นมาขององค์พระศาสดา ๔. เป็นแหล่งเก็บรวบรวมหลักพระธรรมวินัย หลัก คาสั่งสอน ๕. วัด อาราม เป็นที่พักอาศัยของพระสงฆ์ ทั้งเป็นที่รวบรวมศิลปะอีกด้วย (๓) การเสื่อมสลายของพุทธศิลปะมีสาเหตุมาจากกาลเวลา การกระทาของคน การ กระทาของธรรมชาติสิ่งแวดล้อม การกระทาของสัตว์และพืช การกระทาในทางเชิงพาณิชย์ ตลอดจนการไม่เคารพในรูปเคารพของพุทธศาสนา การจัดการพุทธศิลปะในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ได้สัมฤทธิ์ผลมาก ตัวอย่างเช่น การ บริหารจัดการมหาสถูปบุโรพุทโธของรัฐบาลในประเทศอินโดนีเซีย แม้จะเป็นประเทศมุสลิมก็ ตาม ทว่าไม่มีนโยบายในการกีดกันศิลปะของศาสนาอื่น ซ้ายังตระหนักให้เห็นคุณค่าในความ เป็นศิลปะที่บ่งถึงประวัติศาสตร์สาคัญในอดีตที่รุ่งเรืองและเป็นมรดกโลก ปัจจุบันเป็นแหล่ง สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว สร้างรายได้เข้าประเทศในแต่ละปีเป็นจานวน มหาศาลอีกด้วย | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | พุทธศิลปะในอาเซียน | en_US |
dc.subject | เส้นทางประวัติศาสตร์ | en_US |
dc.subject | การเปลี่ยนแปลง | en_US |
dc.subject | ยุคโลกาภิวัตน์ | en_US |
dc.title | พุทธศิลปะในอาเซียน: เส้นทางประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลง ในยุคโลกาภิวัตน์ | en_US |
dc.title.alternative | The Buddhist Art in ASEAN Community: History and Changes in The Age of Globalization | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2557-113พระมหาเสรีชน นริสสโร.pdf | 7.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.