Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/232
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพระครูโสภณวีรานุวัตร-
dc.contributor.authorขนฺติโสภโณ, นพรักษ์-
dc.contributor.authorพระครูสุวรรณจันทนิวิฐ-
dc.contributor.authorเพ็ชรวงษ์, เอกมงคล-
dc.contributor.authorพรมขุนทด, วิภาดา-
dc.date.accessioned2022-03-15T06:59:20Z-
dc.date.available2022-03-15T06:59:20Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/232-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ สภาพการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 2) การประเมินและ 3)การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม ดำเนินการ เป็น 4 ระยะ คือ 1) ระยะตรียมการ ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบประเมินคัดกรอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้และการปฏิบัติตัว และข้อคิดเห็นการดูแลสุขภาพตนเอง กลุ่มที่ใช้ในการวิจัย เลือกด้วยความสมัครใจ มี 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรมการวางแผนแบบมีสาวนร่วมได้แก่ ตัวแทนผู้นำชุมชน ข้าราชการสาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 12 คน กลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 25 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้ายค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) ระยะดำเนินการ ใช้รูปแบบการสนทนากลุ่ม จัดประชุมโดยประยุกต์กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม ดำเนินการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสร้างรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม 3) ระยะประเมินผล ประเมินรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม และ 4) ระยะสรุปผล เป็นการพัฒนารูปแบบด้วยการเปรียบเทียบข้อมูลระดับความรู้และการฝึกปฏิบัติก่อนและหลังการปรับปรุงรูปแบบ วิเคราะห์หาค่าด้วยสถิติ Paired t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 64.9 ปี มีสถานภาพสมรส(คู่) สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา มีอาชีพหลักทางการเกษตร มีรายได้ด้วยตนเองตั้งแต่ 4,001 บาทขึ้นไป มีผู้อยู่อาศัยร่วมในครอบครัว 1-3 คน ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง มีการออกกำลังกายด้วยการเดินเร็ว ใช้เวลา 20 – 30 นาที และส่วนใหญ่ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สภาพการณ์สุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า ป่วยเป็นโรคเรื้อรังด้านความดันโลหิตสูงร้อยละ 27.91 ป่วยไขมันในเลือดสูงคิดร้อยละ 25.58 ป่วยด้านเบาหวานร้อยละ 12.09 ส่วนใหญ่มีความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันสามารถปฏิบัติด้วยตนเองได้ มีอาการปวดข้อเล็กน้อย ขณะยืนลงน้ำหนัก และมีสุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป ปัญหา อุปสรรค พบว่า มีปัญหาด้านการคมนาคม ขาดความรู้และข้อมูลข่าวสาร ขาดการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม ขาดการร่วมกิจกรรมทางสังคม ขาดการเยี่ยมบ้านจากเจ้าหน้าที่ ขาดโอกาสในการท่องเที่ยงพักผ่อนหย่อนใจ หลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนารูปแบบ เมื่อเปรียบเทียบด้านความรู้ พบว่า หลังการพัฒนารูปแบบมีความรู้มากกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบร้อยละ 9.70 ด้านการปฏิบัติ พบว่า หลังการพัฒนารูปแบบมีการปฏิบัติตนเองมากกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบร้อยละ 14.20 ซึ่งมีระดับความรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นการดูแลอนามัยส่วนบุคคล และการป้องกันโรค “ไม่แตกต่างกัน” p – value > .05 และระดับการฝึกปฏิบัติ แตกต่างกัน ทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการตรวจเลือด(ชีวะเคมี) โดยรวมมีสุขภาวะดีขึ้น จะเห็นได้ว่า รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่นำหลักพุทธธรรมมาบูรณาการให้สอดคล้องกับวิถีชุมชน ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความรู้ และมีการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลสุขภาพของตนเอง รู้จักวิธีการป้องกันโรคได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนารูปแบบen_US
dc.subjectการดูแลสุขภาพen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.subjectหลักพุทธธรรมen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธธรรม: วัดสุคนธาราม อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาen_US
dc.title.alternativeThe Development of Model Health Care of The Elderly With Principles in Buddhists:Watsukhontharam Bangsai Distric Pranakhornsriayuthaya Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-310 พระครูโสภณวีรานุวัตร.pdf19.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.