Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/231
Title: กระบวนการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้าโขง
Other Titles: Process of Learning Cross – cultural of Communities in Civilization of 5 Chiang with Strcngthening Citizenship in Mekong Sub – Region.
Authors: ไชยกุล, เสาวนีย์
พระสุนทรกิตติคุณ
โวหารเสาวภาคย์, มงคลกิตติ์
เทพทองปัน, ฟ้าณพราง
Keywords: กระบวนการเรียนรู้
ข้ามวัฒนธรรมของชุมชน
กลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง
การเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้าโขง
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัย เรื่อง กระบวนการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการ เสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้าโขง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาลักษณะการเรียนรู้ข้าม วัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็น พลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้าโขง ๒) เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้าโขง และ ๓) เพื่อเสนอแนวทางการ พัฒนาการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมกับการสร้างความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมของชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยในภาคสนาม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลส้าคัญ ได้แก่ ชุมชน ในกลุ่มอารย ธรรม ๕ เชียง ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ให้ข้อมูลส้าคัญ จ้านวน ๖๐ รูป/ คน ได้แก่ ชุมชน ผู้น้าทางศาสนา ผู้น้าชุมชน ในพื้นที่ที่ท้าการศึกษาวิจัย และ งานวิจัยเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า ๑. ลักษณะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้าโขง ๑.๑ หลักการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประกอบด้วย ๑.๑.๑ ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้แก่ พัฒนาทางกาย พัฒนาทางอารมณ์ พัฒนา ทางสังคม พัฒนาทางความคิด พัฒนาทางจิตใจ พัฒนาทางปัญญา และพัฒนาทางวินัย ๑.๑.๒ ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา ได้แก่ ขั้นที่ ๑ น้าสู่สิกขา คือ ปัจจัยภายนอก (ปรโตโฆสะ), ปัจจัยภายใน (โยนิโสมนสิการ) และ ขั้นที่ ๒ คือ ศีล (ฝึกด้าน พฤติกรรม), สมาธิ (ฝึกด้านจิตใจ) และปัญญา (ฝึกด้านการรู้ การพิจารณา) ๑.๒ ลักษณะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ของกลุ่มอารย ธรรม ๕ เชียง จ้าแนกแต่ละด้าน ดังนี้ ๑.๒.๑ ด้านภาษาและการสื่อสาร มีการใช้ภาษาล้านนาเพื่อการสื่อสารทั้งภาษาพูดและ ภาษาเขียนอย่างแพร่หลาย บางชุมชนมีภาษาท้องถิ่น เช่น ภาษาไทลื้อ-ไทเขิน สื่อสารกัน ต่อมาเมื่อมีการ ปฏิรูปด้านการศึกษาของแต่ละชุมชน จึงมีการบังคับให้ใช้ภาษาราชการในการติดต่อสื่อสารกัน อย่างไรก็ ตามคนในชุมชนในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง ยังมีการพูดการเขียนคล้ายคลึงกันสามารถสื่อสารกันได้อย่าง สนิทใจ ๑.๒.๒ ด้านค่านิยมที่มีต่อสังคมและวิถีชีวิต มีประเพณี ดนตรี วัฒนธรรม ความเชื่อ และ ค่านิยมคล้ายคลึงกันเนื่องจากมีสภาพทางภูมิศาสตร์ใกล้เคียงกัน จึงไปมาหาสู่กันง่าย มีการแปลกเปลี่ยน เรียนรู้ตลอดเวลา ๑.๒.๓ ด้านวิถีปฏิบัติ ความเชื่อ วัฒนธรรม จารีตและประเพณี เนื่องจากการแพร่ขยาย วัฒนธรรมและประเพณี ความเชื่อในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง เป็นไปอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ รวมกลุ่มกันเป็นอาณาจักรล้านนา จึงท้าให้จารีตประเพณี ความเชื่อ ประเพณี ธรรมเนียมวัฒนธรรม มี ความเหมือนกัน แต่วิถีปฏิบัติและความเชื่อบางส่วนก็อาจแตกต่างกันไปตามเอกลักษณ์ของเชื้อชาติและ ชุมชน ๑.๒.๔ ด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม มีศิลปะนาฏศิลป์ ดนตรี และสถาปัตยกรรม ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนา เช่น วิหาร อุโบสถ หอไตร เป็นต้น เนื่องจากได้รับอิทธิพลทางความเชื่อความคิดทางพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท คล้ายคลึงกัน ๑.๒.๕ ด้านการศึกษา อิทธิพลของการศึกษาภาษาล้านนายังมีอยู่ในท้องถิ่น ท้าให้แต่ละ ท้องถิ่นได้จัดการศึกษาตามบริบทของท้องถิ่นตนเอง เช่น การเรียนภาษาล้านนา ภาษาไทลื้อ ภาษาไทเขิน อักษรธรรม เป็นต้น ต่อมาเมื่อรัฐมีอ้านาจด้านการปกครองมากขึ้น การจัดการศึกษาต้องเป็นไปตามที่ รัฐบาลกลางก้าหนด ท้าให้การศึกษาที่จัดโดยท้องถิ่นลดบทบาทลง ๑.๒.๖ ด้านการเมืองการปกครอง ก่อนปฏิรูปการเมืองการปกครอง ชุมชนในกลุ่มอารย ธรรม ๕ เชียง มีการดูแลและปกครองตนเอง ต่อเมื่อหลังปฏิรูปการเมืองการปกครอง แต่ละกลุ่มอารย ธรรมต้องมีรูปแบบการเมืองการปกครองที่รัฐก้าหนด ปัจจุบันนี้ รัฐได้ผ่อนคลายการเมืองการปกครองมาก ขึ้น ท้าให้ชุมชนในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง สามารถไปมาหาสู่กันได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น ๒. กระบวนการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการ เสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้าโขง ๒.๑ กระบวนการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง ได้แก่ ๒.๑.๑ เชียงราย นครแห่งแบบแผนและความงดงาม ๒.๑.๒ เชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง ๒.๑.๓ เชียงทอง นครแห่งความงดงามหลังม่านไหมและสายน้า ๒.๑.๔ เชียงตุงเขมรัฐ นครในเงาแห่งอ้านาจ ๒.๑.๕ เชียงรุ่งอาฬวี นครสามฝุายฟูา ๒.๒ กระบวนการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการ เสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้าโขง ตามแนวพระพุทธศาสนา ได้แก่ ๒.๒.๑ หลักการพัฒนาคุณภาพชีวิตกับกระบวนการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของชุมชน ใน กลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง คือ จักร ๔ ประกอบด้วย (๑) ปฏิรูปเทสวาสะ การอยู่ในถิ่นที่ดี (๒) สัปปุริสูปัสส ยะ สมาคมกับสัตบุรุษ (๓) อัตตสัมมาปณิธิ การตั้งตนไว้ชอบ (๔) ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ท้า ความดีไว้ก่อน ๒.๒.๒ หลักเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ชาวพุทธกับกระบวนการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของ ชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง ได้แก่ (๑) หมั่นไปวัดตามโอกาสที่เหมาะสม (๒) หมั่นฟังธรรม (๓) พยายามสนใจศึกษาและรักษาศีลให้บริสุทธิ์ (๔) มีความเลื่อมใสในพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายเท่าเทียมกัน (๕) ตั้งจิตให้เป็นกุศลในขณะฟังธรรม (๖) ท้าบุญกุศลตามหลักและวิธีการของพระพุทธศาสนา (๗) ทะนุบ้ารุง พระพุทธศาสนาในทุกๆ ด้าน ๒.๓ การพัฒนาการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมกับการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมของชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้า โขง ได้แก่ หลักสังคหวัตถุ ๔ คือ ๒.๓.๑ ด้านทาน: ด้วยการให้การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ๒.๓.๒ ด้านปิยวาจา: ด้วยการพูดชี้แนะแนวทาง ๒.๓.๓ ด้านอัตถจริยา: ด้วยการสละก้าลังกาย ก้าลังใจ และก้าลังทรัพย์ ๒.๓.๔ ด้านสมานัตตา: ด้วยการให้ความช่วยเหลือโดยเสมอภาคกัน ๓. แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมกับการสร้างความสัมพันธ์ทาง พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมของชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง ๓.๑ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมกับการสร้าง ความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมของชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง ได้แก่ ๓.๑.๑ เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ประกอบด้วย (๑) โครงการแลกเปลี่ยน บุคลากรและนักศึกษา ในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง (๒) การจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับเรื่องราว ในกลุ่ม อารยธรรม ๕ เชียง (๓) การจัดตั้งหน่วยงานในรูปศูนย์ศึกษา ในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง ๓.๑.๒ เครือข่ายความร่วมมือทางพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย (๑) การปฏิบัติ วิปัสสนากัมมัฏฐานของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง (๒) การเทศน์มหาชาติของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง (๓) การท้าบุญสลากภัตรของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง ๓.๑.๓ เครือข่ายความร่วมมือทางศาสนาและวัฒนธรรม ประกอบด้วย (๑) การ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมและปลูกจิตส้านึกร่วมกัน (๒) การน้าทุนทางวัฒนธรรมมาใช้เพื่อสร้างคุณค่า ทางสังคมหรือมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจร่วมกัน (๓) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมร่วมกัน ๓.๒ การประยุกต์หลักพุทธธรรมกับการพัฒนาการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมกับการสร้าง ความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมของชุมชน ในกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง ได้แก่ หลักสังคห วัตถุ ๔ กับหลักเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ชาวพุทธกับกระบวนการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของชุมชน ในกลุ่ม อารยธรรม ๕ เชียง ประกอบด้วย ๓.๒.๑ ด้านทาน ได้แก่ หมั่นไปวัด และท้าบุญตามหลักพระพุทธศาสนา ๓.๒.๒ ด้านปิยวาจา ได้แก่ หมั่นฟังธรรม และเลื่อมใสในพระสงฆ์เท่าเทียมกัน ๓.๓.๓ ด้านอัตถจริยา ได้แก่ ทะนุบ้ารุงพระพุทธศาสนาในทุกๆ ด้าน ๓.๓.๔ ด้านสมานัตตา ได้แก่ ศึกษาและรักษาศีลให้บริสุทธิ์ และตั้งจิตเป็นกุศลขณะฟัง ธรรม
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/231
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-175 นางสาวเสาวนีย์ ไชยกุล.pdf4.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.