Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/229
Title: การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุ ในจังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: Application of Buddhist Principles on promoting the Elders' health in Ubonratchathani Province
Authors: วุฑฺฒิธมฺโม, พระมหาจิตนเรศ
คำตั้งหน้า, วุฒิพล
อุดมโชคนามอ่อน, ไชยสิทธิ์
Keywords: การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม
การเสริมสร้างสุขภาพ
ผู้สูงอายุ
Issue Date: 2556
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยา่ลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ เป็นการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุ การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมและเพื่อเสนอแนะแนวทางการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดอุบลราชธานี เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล ๒ รูปแบบคือ รูปแบบวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๔๐๐ คน โดยหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือตามวิธีการของครอนบาค ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปวิเคราะห์หา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นแบบแนวสัมภาษณ์ คำถามปลายเปิด (Open-ended questions) สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้สูงอายุ จำนวน ๒๐ คน ผลการวิจัย พบว่า ๑. การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ( = ๓.๓๖) เป็นรายด้านคือ เสริมสร้างด้านร่างกาย อยู่ในระดับปานกลาง ( = ๓.๔๑) และเสริมสร้างด้านจิตใจอยู่ในระดับปานกลาง ( = ๓.๓๕) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ เสริมสร้างด้านสังคม อยู่ในระดับปานกลาง ( = ๓.๓๓) ๒. หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุ หลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุ คือ (๑) เสริมสร้างด้านร่างกาย มีอริยสัจจ์ ๔ คือความจริงอันประเสริฐ, ไตรลักษณ์ ๓ คือ กฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง, ขันธ์ ๕ คือเป็นกองทุกข์ ไม่การไม่เข้าไปยึดมั่นในขันธ์ห้า, (๒) เสริมสร้างด้านจิตใจ คือ อกุศลมูล คือ รากเหง้าของความชั่วทั้งปวง, บุญกิริยาวัตถุ ๔ เป็นที่ตั้งของบุญหรือความดี, อิทธิบาท ๔ ฐานแห่งความสำเร็จ, สติปัฏฐาน ๔คือ ฐานหรือที่ตั้งของการกำหนดสติอย่างประเสริฐ, มรณสติ คือการระลึกถึงความตายอันจะมีแกตน, (๓) เสริมสร้างด้านสังคม คือ โลกธรรม ๘ ธรรมชาติของโลกเป็นความจริงที่ทุกคนต้องประสบเจอ, พรหมวิหาร ๔ หลักความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์, ธรรมอันทำให้งาม ๒ งามภายนอกและงามภายใน, ๓. การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดอุบลราชธานี ๓.๑ เสริมสร้างด้านร่างกาย ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพ การเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย การพิจารณาว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่เที่ยง เรามีความเจ็บ ความแก่ ความตาย เป็นธรรมดา การยอมรับความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นได้เสมอ จึงต้องมีการรักษาให้ถูกวิธีตามความเหมาะสมกับวัย ถึงแม้ว่าร่างกายของผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นไปธรรมชาติของสังขารก็ตาม สิ่งที่สำคัญคือเมื่อยังไม่เจ็บป่วยผู้สูงอายุจะต้องมีการดูแลตนเอง เอาใจใส่ใจที่จะบำรุงรักษาและส่งเสริมสุขภาพอยู่เสมอ ๓.๒ เสริมสร้างด้านจิตใจ ผู้สูงอายุส่วนมากจะมีอารมณ์เหงามากกว่าคนวัยอื่นๆ อาจจะส่งผลก่อให้เกิดความเจ็บป่วยทางกายและทางใจได้ การประคับประคองดูแลรักษาจิต นับได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการปฏิบัติเพื่อความสงบสุขของสภาพจิตใจที่พิจารณาเกี่ยวกับ ความไม่เที่ยง ความทุกข์ ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ จะช่วยให้เข้าใจในชีวิตมากขึ้นและยอมรับสภาพการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้ง่ายและพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาอื่นที่จะเกิดขึ้นไปในอนาคต ๓.๓ เสริมสร้างด้านสังคม เมื่อผู้สูงวัยก้าวเข้าสู่วัยชราบทบาทและความสำคัญของผู้สูงอายุในสังคมมักจะถูกจำกัดและเปลี่ยนแปลงไป การสูญเสียสัมพันธภาพในครอบครัว การสูญเสียสถานภาพทางสังคมเนื่องจากถึงวัยเกษียณอายุหรือหมดเวลาทำงาน ความสัมพันธ์ทางสังคมลดน้อยลง ขาดรายได้หรือมีรายได้น้อยลง เกิดความรู้สึกสูญเสียตำแหน่งหน้าที่เกียรติยศ ความนับหน้าถือตา ความภาคภูมิใจ ขาดเสถียรภาพและความมั่นคงทางจิตใจ ผู้สูงอายุจะต้องรู้จักประคับจิตใจฝึกหัดตนเองให้รู้จักกฏของธรรมชาติว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ไม่มีอะไรเที่ยง ไม่มีอะไรแน่นอน มีลาภ เสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ มีคนยกย่องและต้องมีคนนินทามีสุขและมีทุกข์ปะปนกันไป
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/229
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.