Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/227
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorภูวชนาธิพงศ์, กมลาศ-
dc.contributor.authorแก้วบุตรดี, พระมหานันทวิทย์-
dc.date.accessioned2022-03-14T14:56:17Z-
dc.date.available2022-03-14T14:56:17Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/227-
dc.description.abstractการวิจัยนี้จุดมุ่งหมาย ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคม ออนไลน์ตามแนวพุทธจิตวิทยาของสามเณร๒) เพื่อพัฒนากระบวนการสร้างค่านิยมและพฤติกรรม ต้นแบบการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวพุทธจิตวิทยาของสามเณร๓) เพื่อศึกษาผลของการ เปลี่ยนแปลงค่านิยมและพฤติกรรมต้นแบบการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวพุทธจิตวิทยาของ สามเณรกลุ่มตัวอย่างได้แก่ สามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ จังหวัดน่าน ระดับมัธยมที่ ๓ โดยมีสามเณรที่อาสาสมัครเข้าร่วมฝึกอบรม จ านวน ๗๘รูป สุ่มแบบแยกประเภท (Stratified random sampling) ตามระดับพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เป็น ๓กลุ่มๆละ ๒๖รูป แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง A ท าการฝึกอบรมรูปแบบที่ ๑จ านวน ๓ วัน และท าโครงงาน ระยะเวลา ๓ เดือน กลุ่มทดลอง B ท าการฝึกอบรมรูปแบบที่ ๒ท าการฝึกอบรม จ านวน ๓ วัน และกลุ่มควบคุม ไม่ การฝึกอบรม การวิจัยครั้งนี้ออกแบบการวิจัยในลักษณะการวัดซ้ า (Repeated Measure Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ๑) แบบวัดความรู้ความเข้าใจในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ๓) แบบวัดความมีเหตุผลในการคิด ๓) แบบวัดค่านิยมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ๔) แบบวัดการ ควบคุมตนเองต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ และ ๕) แบบวัดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ วิธีการวัด ๔ ครั้ง ได้แก่ ก่อนการทดลอง ภายหลังการฝึกอบรมระยะที่ ๑ ภายหลังการฝึกอบรมระยะที่ ๒ (ฝึกท าโครงการ ระยะเวลา ๓เดือน) และหลังการทดลองเพื่อติดตาม ผลการท าโครงงาน (Project based learning)๑เดือน หลังจากนั้นน าข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้การ วิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปรแบบวัดซ้ า (Repeated measures ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ๑) กลุ่มตัวอย่างสามเณรส่วนใหญ่มีการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในทางไม่ถูกต้องและ สร้างสรรค์ผ่านโทรศัพท์มือถือ เช่น เฟซบุ้ก (facebook) ไลน์ (line) ยูทูป (youtupe) โดยเฉลี่ย มากกว่า ๓ ชั่วโมงต่อวัน เพื่อความบันเทิงมากกว่าแสวงหาความรู้ ได้แก่ เล่นเกมออนไลน์ สนทนากับ เพื่อน การแชร์ข้อมูลต่างๆ ติดตามข่าวสารเพื่อน ตามล าดับ ๒) การพัฒนากระบวนการสร้างค่านิยมและพฤติกรรมต้นแบบการใช้เครือข่ายสังคม ออนไลน์ที่เหมาะสมตามแนวพุทธจิตวิทยาของสามเณร มี ๔ ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ ๑ “จุดเริ่มต้น.. เตรียมความพร้อม” ขั้นตอนที่ ๒ เปลี่ยนวิธีคิด...เปลี่ยนพฤติกรรม” ขั้นตอนที่ ๓ “รู้ชัดในปัญหา...พบ แนวทางการแก้ไข” ขั้นตอนที่ ๔ “ค้นพบศักยภาพของตนเอง” ข ๓) รูปแบบฝึกอบรมที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างค่านิยมและพฤติกรรมต้นแบบการใช้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวพุทธจิตวิทยา คือ รูปแบบการฝึกอบรมที่ ๑ (กลุ่มทดลอง A) มี คะแนนเฉลี่ยมากกว่ารูปแบบการฝึกอบรมที่ ๒ (กลุ่มทดลอง B) และกลุ่มควบคุมที่ไม่มีการฝึกอบรม คือ การเปลี่ยนแปลงค่านิยมและพฤติกรรมต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เหมาะสม ๔ ด้าน คือ ด้านเหตุผลในการคิด การควบคุมตนเอง ด้านค่านิยมการใช้เครือข่ายออนไลน์ และพฤติกรรมการใช้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ สูงกว่าก่อนรับการอบรมอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ .๐๕ และ พบผลการ เปลี่ยนแปลงเชิงประจักษ์ด้านต่างๆ ได้แก่ (๑) การเปลี่ยนแปลงด้านความสนใจในการเรียน (๒) การ สร้างภาวะผู้น าในกลุ่ม (๓) สร้างสมาชิกเครือข่ายผ่านกระบวนการกลุ่ม (๔) การปรับเปลี่ยน พฤติกรรมทางสังคม (๕) การมีส่วนร่วมท ากิจกรรมที่ยั่งยืนในโรงเรียน และพบว่า มีการเปลี่ยนแปลง ค่านิยมและพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ในด้านต่างๆสูงขึ้น ได้แก่ (๑) การใช้เครือข่าย สังคมออนไลน์ด้านกายภาพ (๒) การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ด้านสังคม (๓) การใช้เครือข่ายสังคม ออนไลน์ด้านจิตใจ (๔) การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ด้านปัญญาen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectสามเณรen_US
dc.subjectพุทธจิตวิทยาบูรณาการen_US
dc.subjectพฤติกรรมต้นแบบen_US
dc.titleค่านิยมและพฤติกรรมต้นแบบใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวพุทธจิตวิทยา บูรณาการของสามเณรen_US
dc.title.alternativeValue and Behavioral Model of Consuming in Online Social Network Using Integration of Buddhist Psychology for Thai Novicesen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-133 ผศ.ดร.กลาศ ภูวชนาธิพงศ์.pdf5.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.